หน้าหลัก | นักฟิสิกส์ | คำศัพท์ฟิสิกส์ | ตัวอย่างข้อสอบ | ผู้จัดทำ











 


  


ฟิิสิกส์


         "ฟิสิกส์” หรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ สามารถใช้ช่วยอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ทั้งนั้น เริ่มจากเดินเข้าไปในประตูบ้าน หลักการทำงานของลูกบิดแบบกลม ซึ่งพูดถึงหลักการของล้อและเพลา แม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในบ้านก็ล้วนแต่เล่าให้เด็กฟังได้โดยใช้คำพูดง่าย ๆ ไม่ต้องซับซ้อนมากนัก

         ถ้าออกไปนอกบ้าน ก็มีราวเกี่ยวกับการเกิดลมให้เด็กฟัง หรือเล่าถึงที่มาของแสงแดด คือ แสงที่เกิดจากดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์รวมของคลื่นหลายชนิด มีรังสีที่เกิดความร้อนเรียกว่ารังสีอุลตร้าไวโอเล็ตและมีคลื่นไมโครเวฟกระจายอยู่รอบตัว หลังฝนตกเมื่อเกิดรุ้งกินน้ำก็เล่าเรื่องการหักเหของแสง

         แม้แต่การเล่นดนตรี ก็สามารถแทรกความรู้เกี่ยวกับวิธีการที่ทำให้เกิดเสียง หรือแหล่งกำเนิดของเสียง อาทิ “กลอง” แรงที่ตีทำให้เกิดการสั่นสะเทือน ของหนังที่ขึงอยู่บนหน้ากลอง ทำให้เกิดเสียง เสียง “กีตาร์” เกิดจากการสั่นสะเทือนของสายและกล่องเสียง ลมที่เป่า “แซกโซโฟน” ทำให้อากาศสั่นสะเทือนจึงเกิดเสียง เป็นต้น

         ของเล่นที่เด็ก ๆ นิยม เช่น ลูกข่าง ก็สามารถสอดแทรกเรื่องการทรงตัว ปืนเด็กเล่น ให้ความรู้เรื่องแรงดัน บูมเมอแรงให้ความรู้เรื่องการสะท้อนกลับ ฯลฯ หากสนใจก็มีแหล่งความรู้มากมายตามห้องสมุด ร้านหนังสือ ใน อินเทอร์เน็ตที่ช่วยอธิบายสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ให้เข้าใจก่อนที่จะไปถ่ายทอดให้แก่เด็ก นอกจากนั้นการเล่านิทานที่ สอดแทรกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็ช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และสร้างเสริมจินตนาการของเด็กให้โลดแล่นได้

         การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในบ้านและนอกบ้าน ต้องอาศัยความรักและการเอาใจใส่จากคนใน ครอบครัว และเป็นการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง ผู้ใหญ่อาจตอบคำถามเด็กบ้าง แต่น่าจะเป็น คำตอบที่ท้าทายให้เด็กสำรวจหรือค้นคว้าหาคำตอบเอง โดยผู้ใหญ่ช่วยอำนวยความสะดวก หากตอบคำถามของเด็ก ไม่ได้ก็ช่วยกันค้นหาคำตอบให้แก่เด็ก เทคนิคที่ดีอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กหาคำตอบไปตลอดชีวิต คือ การแนะนำแหล่งข้อมูลให้ ซึ่งอาจเป็นห้องสมุด ร้านหนังสือ พิพิธภัณฑ์หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

         นอกจากนั้นควรช่วยให้เด็กรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์อยู่กับเราทุกแห่งตลอดชีวิต แม้แต่การสำรวจบริเวณบ้าน ทำอาหาร ทำสวน ปลูกต้นไม้ ฟังการพยากรณ์อากาศ อ่านหนังสือ ดูรูปภาพ ฯลฯ และอธิบายโดยใช้แหล่งความรู้ที่มีอยู่ จะช่วยให้เด็กอยากเรียนรู้และรู้จักแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์และตัดสินใจได้รวดเร็ว

         การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสิ่งรอบ ๆ ตัว อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วโดยไม่ต้องกวดวิชาอย่างหนักก็เป็นได้ หากลองทำดูจะรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวและคุณอาจจะสนุกกับวิทยาศาสตร์อย่างไม่รู้ตัว

    ความอยากรู้อยากเห็นและความช่างสังเกตเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดการศึกษา ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเราตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาด้วยวิธีการต่างๆ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด และเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าเรียนรู้สำหรับทุกคน โดยเฉพาะในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า ฟิสิกส์

                                                                                                       ติดต่อ
                                                                          นางสาวจิราพร      พูลผกา     E_mail :  
pulpaka7928@hotmail.com
                                                                          นายบุญธเรศ         จันเทวา     E_mail :  B.buntares@gmail.com
                                                                          นางสาวนฤมล        น้ำใจ        E_mail :  -