สารอาหาร

Our Service01

ก็มีทั้งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และบ้าง
ก็เป็นโทษ มีคำกล่าวว่าคุณจะเป็นเช่น
อาหารที่รับประทาน คือถ้ากินอาหารดีมี ประโยชน์....

โรคขาดสารอาหาร

คือ โรคที่เกิดจากภาวะโภชนาการบก
พร่อง ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร
บางชนิด...

เครื่องดื่มที่ไม่ควรดื่ม

มีเครื่องดื่มบางชนิด ที่ไม่ควรดื่ม เพราะ
นอกจากจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพแล้ว ยังทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายอีกด้วย



หน้านี้มีทั้งหมด ลิงค์

    โรคอ้วน

    น้ำหนักตัวที่มากเกินไป อาจเป็นโรคอ้วน ถ้ามีไขมันในร่างกายมากกว่าความจำเป็น เราควรเอาใจใส่บ้าง เพราะโรคอ้วนก่อปัญหาทางสุขภาพหลายอย่าง

     

    อันตรายจากโรคอ้วน
    ภาวะอ้วนทำให้เกิดโรค และความผิดปกติต่าง ๆ ได้มาก หรือเร็วกว่าคนไม่อ้วน ได้แก่
    1.ความดันโลหิตสูง : พบว่าถ้าลดน้ำหนักโดยยังมีปริมาณ
    เกลือในอาหารเท่าเดิมก็ลดความดันโลหิตลงได้
    2.เบาหวานชนิดไม่พึ่งพาอินซูลิน : ความอ้วนเป็นปัจจัย
    เสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานชนิดนี้ที่รุนแรงสุดกว่าปัจจัยใด ๆ

    ไขมันในเลือดผิดปกติ
    3.โรคหลอดเลือดตีบ (Atherosclerosis) เช่น หลอดเลือดสมองตีบ ทำให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ โดยพบว่าความอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนี้โดยตรง และยังเพิ่มความเสี่ยง โดยอ้อม
    จากภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ เบาหวาน และความดันโลหิตสูงด้วย
    4.นิ่วถุงน้ำดี และถุงน้ำดีอักเสบ
    5.โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อสะโพก ข้อเข่า และยังเพิ่มโอกาสเกิดโรคข้ออักเสบ
    จากเก๊าท์ด้วย มะเร็งบางชนิด พบมากขึ้นในคนอ้วน และสัตว์ทดลองที่ถูกทำให้อ้วน จากการศึกษาของ American Cancer Society โดยอิงน้ำหนักที่คนไข้บอกเองพบว่าถ้าน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน 40% จะมีอัตรารายจาก มะเร็งสูงขึ้น 1.33-1.55 เท่า ที่สำคัญ คือ มะเร็งเยื่อบุมดลูกเต้านมต่อมลูกหมาก
    ลำไส้ ใหญ่

     

    สาเหตุของโรคอ้วน

    น้ำหนักเกินอาจไม่ใช่โรคอ้วน นักกล้ามก็หนักเกินได้ แต่ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพดังข้างต้น ยังมีภาวะบางอย่างทำให้ น้ำหนักเกินได้ เช่น โรคความผิดปกติของฮอร์โมน (ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ระดับฮอร์โมนพวกคอร์ติโคส เตียรอยด์มากเกินไป) โรคที่มีการบวมคั่งน้ำมากขึ้นในร่างกาย (ได้แก่โรคหัวใจ โรคไตบางชนิดโรคตับที่อาจมีน้ำ ในช่องท้อง) เป็นต้น

     

     

    การลดน้ำหนัก
    นักเรียนที่มีไขมันส่วนเกินหรืออ้วน และประสงค์ จะควบคุม หรือลดน้ำหนักตัวด้วยวิธีที่ปลอดภัยควรปฏิบัติดังนี้
    ๑. ใช้การควบคุมอาหารควบคู่กับการออกกำลังกายโดยต้องสร้างกำลังใจให้แก่ตนเอง คือ เข้มแข็ง ลดน้ำหนักในอัตราไม่เกินกิโลกรัมต่อสัปดาห์ จะเป็นการลดแบบค่อยเป็นค่อยไปและลดได้ถาวรโดยอย่าหลง
    เชื่อคำโฆษณาต่างๆเช่น ยาลดความอ้วน ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน การดูด
    ๒ .ไขมันเพราะอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  ไม่จำกัดปริมาณน้ำดื่มเพราะร่างกายอาจ เกิดการขาดน้ำได้
    ๓. ออกกำลังกายปานกลาง หรือใช้เวลานานติดต่อ กันแต่ไม่ใช้ออกกำลังกายหนักหรือหักโหมวันละ
    ประมาณ ๒๐-๓๐ นาที ทุกวันหรืออย่างน้อย สัปดาห์ละ ๕ ครั้ง (วัน)

    ๔.  ควบคุมอาหาร ต้องกินอาหารครบ ๕มื้อ ๕หมู่ เพียงแต่จำกัดอาหารไขมันแป้งน้ำตาล กินอาหาร
    ที่มีกากใยมากๆคือผัก ผลไม้ข้าวซ้อมมือ เพื่อช่วย ในการ
    ขับถ่าย และจับไขมัน ในเลือด ออกมา ควรเป็น อาหาร ที่ไม่ใช้น้ำมันในการปรุง ถ้าใช้ก็ลดลงให้น้อยๆ เป็นอาหาร ปิ้ง นึ่ง อบ ย่างแทนการทอด  การผัด ควรดื่มนม หรือ น้ำเต้าหูวัันละ 2 แก้ว เพื่อให้ได้โปรตีน วิตามิน และ เกลือแร่ อย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกายตามวัย
    ๕.   บันทึกจำนวนอาหารที่กินในแต่ละวัน และบันทึก
    สัดส่วน ด้วยเพื่อตรวจสอบและประเมินความตั้งใจ
    ๖.    งดการกินของจุบจิบ