user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('ตอนที่ 2 เพื่อนใหม่', 'node/100512', '', '18.188.216.249', 0, '020f1af5727f4a223f5537c659dc6499', 117, 1717305599) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

ดาราศาสตร์

วิวัฒนาการของดาวฤกษ์
            ดาวฤกษ์ทุกดวงเกิดจากการยุบตัวของเนบิวลา การที่เนบิวลายุบตัวเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงของเนบิวลา เอง   ทำให้ความดันและอุณหภูมิ
ภายในเนบิวลาสูงมาก โดยเฉพาะบริเวณแก่นกลางที่ยุบตัวจะมีอุณหภูมิสูงกว่า ที่ขอบนอก สูงเป็นหลายแสนองศาเซลเซียส เรียกการยุบตัวของเนบิวลา
ช่วงนี้ว่า ดาวฤกษ์ก่อนเกิด (pro- tostar) แรงโน้มถ่วงจะทำให้เนบิวลาเกิดการยุบตัวลงไปอีก ความดันของแก่นกลางจะสูงขึ้น อุณหภูมิจะสูงถึง
15 ล้านเคลวิน สูงมากพอที่จะเกิดปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ เกิดพลังงานมหาศาล เมื่อเกิดความสมดุลระหว่าง แรงโน้มถ่วงกับแรงดันของแก๊ส
ร้อนภายในเนบิวลา จะทำให้เกิดดาวฤกษ์อย่างสมบูรณ์ พลังงานของดาวฤกษ์ เกิดจากปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์

                                                            
                                                          ภาพวาดดาวฤกษ์ก่อนเกิด ในจินตนาการของศิลปิน                                     
                             ที่มา : http://sscws1.ipac.caltech.edu/Imagegallery/image.php?image_name=ssc2004-20b
      
                                                         ตัวอย่างปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์
                                                         
                                            ที่มา : http://www.oknation.net/blog/GeneralScience/page4

                 เนื่องจากแก่นกลางของดาวฤกษ์มีความดันและอุณหภูมิสูงมาก ทำให้นิวเคลียสของธาตุไฮโดรเจน (โปรตอน) 4 นิวเคลียส 
หลอมรวมตัวกันเป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม 1 นิวเคลียส มวลส่วนหนึ่งหายไป มวลที่หายไปนี้จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจำนวนมหาศาล
ตามทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ คือ
                                                                         E = mc2
                                                                  เมื่อ  E  คือ พลังงาน
                                                                        m  คือ  มวลที่หายไป
                                                                        c  คือ อัตราเร็วของแสงในอวกาศ = 300,000 กิโลเมตร/วินาที                    
             เมื่อเวลาผ่านไปปริมาณของแก๊สไฮโดรเจนในดาวฤกษ์จะลดลง แรงโน้มถ่วงเนื่องจากมวลของดาวฤกษ์จะมีค่าสูงกว่าแรงดันของแก๊สร้อน
ทำให้ดาวฤกษ์ยุบตัวลง แก่นกลางของดาวฤกษ์จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 100 ล้านเคลวิน เกิดปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ นิวเคลียสของธาตุฮีเลียมหลอม
รวมตัวกันเป็นนิวเคลียสชองธาตุคาร์บอนไฮโดรเจนที่อยู่รอบนอกของแก่นฮีเลียมจะมีอุณหภูมิสูงตามถึง 15 ล้านเคลวิน จนเกิดปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์
ของไฮโดรเจนใหม่ เกิดพลังงานมหาศาล ดาวฤกษ์จึงเกิดการขยายตัวมีขนาดใหญ่กว่าเดิมมาก อุณหภูมิผิวด้านนอกจะลดลงกลายเป็นสีแดงที่เรียกว่า
ดาวยักษ์แดง (red giant) ในช่วงนี้พลังงานจะถูกปล่อยออกมาจากดาวฤกษ์มาก ช่วงชีวิตของดาวยักษ์แดงจึงค่อนข้างสั้น

                                                           
                                                 
                                                              ที่มา : http://www.krugoo.net/archives/1370

สร้างโดย: 
ดรุณี เสมอภาค / พัชรี วิเศษชาติ

สุดยอด

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 1028 คน กำลังออนไลน์