ดาราศาสตร์

        กาแล็กซีทางช้างเผือก (milky way galaxy) ระบบสุริยะอยู่ในกาแล็กซีที่ชื่อว่า กาแล็กซีทาง ช้างเผือก มีดาวฤกษ์อยู่ประมาณ
100,000 ล้านดวง เป็นกาแล็กซีรูปกังหัน ถ้ามองด้านข้างจะมีรูปร่างคล้ายจาน 2 ใบคว่ำประกบกัน แต่ถ้ามองด้านบนจะเห็นเป็นรูปกังหัน ความยาวของ
กาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 100,000 ปีแสง ความหนาประมาณ 15,000 ปีแสง ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่อยู่ห่างจากศูนย์กลาง
ของกาแล็กซีออกไปประมาณ 30,000 ปีแสง
       ในเวลากลางคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใสปราศจากแสงสว่างทั้งจากดวงจันทร์และแสงไฟ เมื่อมองขึ้นไปบนท้องฟ้าจะเห็นทางช้างเผือก
เป็นแนวฝ้าขาวจางๆ ขนาดกว้างประมาณ 15 องศา พาดผ่านจากฟากฟ้าหนึ่งไปอีกฟากฟ้าหนึ่ง แนวฝ้าขาวนี้ คือ กลุ่มดาวที่อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก
ส่วนของทางช้างเผือกที่เห็นชัดเจน ประกอบด้วยกลุ่มดาวแมงป่อง กลุ่มดาวคนยิงธนู กลุ่มดาวนกอินทรี และกลุ่มดาวหงส์ ดาวฤกษ์ทั้งหมดที่เห็นบนท้อง
ฟ้าเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือกทั้งสิ้น ยกเว้นกาแล็กซีแอนโดรเมดา กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่ และกาแล็กซีแมกเจลแลนเล็ก

                                     
                                                       ที่มา : www.mwit.ac.th/~astronomy/astro_m4/lesson7.ppt
          

         กาแล็กซีเพื่อนบ้าน คือ กาแล็กซีที่มองเห็นด้วยตาเปล่า ได้แก่ กาแล็กซีแอนโดรเมดากาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่ และกาแล็กซี
แมกเจลแลนเล็ก กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่และกาแล็กซีแมกเจลแลนเล็ก เป็นกาแล็กซีที่ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน
นักสำรวจชาวโปรตุเกส ที่เห็นกาแล็กซีทั้งสองมีลักษณะคล้ายเมฆ จึงเรียกว่า เมฆแมกเจลแลนใหญ่ และเมฆแมกเจลแลนเล็ก
กาแล็กซีทั้งสองอยู่บริเวณขอบฟ้าทิศใต้ ผู้สังเกตที่อยู่ทางภาคเหนือจึงเห็นกาแล็กซีทั้ง 2 กาแล็กซีค่อนข้างยาก กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่
อยู่ห่างจากกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 163,000 ปีแสง ส่วนกาแล็กซีแมกเจลแลนเล็กอยู่ห่างจากกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 196,000 ปีแสง
           กาแล็กซีแอนโดรเมดาอยู่ห่างจากโลกประมาณ 2.4 ล้านปีแสง เป็นกาแล็กซีที่ปรากฏอยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวแอนโดรเมดา ซึ่งอยู่ระหว่าง
กลุ่มดาวม้าบินและกลุ่มดาวค้างคาว เป็นกาแล็กซีรูปกังหันเหมือนกาแล็กซีทางช้างเผือกแต่มีขนาดใหญ่กว่า มองด้วยตาเปล่าไม่ชัด เห็นเป็นฝ้ามัว
แผ่เป็นวงกว้างมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เท่าของดวงจันทร์ เนื่องจากมีรูปร่างเหมือนกาแล็กซีทางช้างเผือก ดังนั้นระบบดาวจึงน่าจะเหมือนกัน
แต่จะมีสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ในกาแล็กซีแอนโดรเมดาหรือไม่ และมีรูปร่างอย่างไรขึ้นกับสภาวะเอื้อต่อชีวิตบนดาวเคราะห์นั้น

             

กำเนิดและวิวัฒนาการของกาแล็กซี
                                           
                                                      ที่มา : www.mwit.ac.th/~astronomy/astro_m4/lesson7.ppt
                                  

สร้างโดย: 
ดรุณี เสมอภาค / พัชรี วิเศษชาติ

สุดยอด

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 209 คน กำลังออนไลน์