บุุคคลในสมัยรัตนโกสินทร์

 

 

                        
                         

หมอ บรัดเลย์

ขอบคุณรูปจาก http://www.princess-it.org/kp9/images/hmk-IT/ktp23_2.jpg

ประวัติ หมอ บรัดเลย์
  - หมอ บรัดเลย์ มีชื่อเดิมว่า นายแพทย์แดน บีช แบรดเลย์ (Dr.Dan BeachBradley,M.D.) คนไทยเรียกกันติดปากว่า หมอบรัดเลย์
   
  - เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๐๔ (พ.ศ. ๒๓๔๗) ที่เมืองมาร์เซลลัส ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

  ขณะหมอบรัดเลย์เกิดประเทศสหรัฐอเมริกากำลังตื่นตัว เรื่องการเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ในต่างประเทศ โดยที่องค์กรต่างๆที่ทำงานด้านนี้ต้องการมิชชันนารี ที่เป็นแพทย์จำนวนมาก หมอบรัดเลย์ซึ่งต้องการเป็นมิชชันนารีด้วย ผู้หนึ่ง จึงได้สมัครเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ในเมืองนิวยอร์ก และสมัครเป็นมิชชันนารีในองค์กร เอบีซีเอฟเอ็ม (ABCFM=American Board of Commissioners of Foreign Missions)   ท่านจบการศึกษาวิชาแพทย์ใน ค.ศ. ๑๘๓๓ (พ.ศ. ๒๓๗๖) แล้ว ท่านได้แต่งงานกับ เอมิลี รอยซ์ (Emilie Royce) และเดินทางด้วยเรือใบ
ชื่อ แคชเมียร์ (Cashmere) จากเมืองบอสตัน ในรัฐแมสซาชูเซ็ทท์ มาประเทศไทยพร้อมกับภรรยาและมิชชันนารีคนอื่นๆอีกจำนวนหนึ่ง
เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๓๔ (พ.ศ. ๒๓๗๗)


ผลงานที่สำคัญด้านการแพทย์ของท่านก็คือ    

 - การตัดแขนเพื่อรักษาชีวิตพระภิกษุ รูปหนึ่งของวัดประยุรวงศาวาส
ที่ประสบอุบัติเหตุปืนใหญ่ระเบิดในงานฉลองวัดแห่งนี้ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๙
ซึ่งนับว่าเป็นการผ่าตัดแขนขาผู้ป่วยครั้งแรกใน ประเทศไทยส่วนงานรักษาโรคอย่างอื่นที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงมาก
เช่นกันก็คือ การผ่าตัด ต้อกระจกในนัยน์ตา และการรักษาโรคฝีดาษ

 - งานรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคฝีดาษนี้ทำให้ท่านได้รับพระราชทานเงิน
จำนวนหนึ่งเป็นรางวัล จาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๒

   

ในระยะนั้น การแพทย์แผนตะวันตก หรือแพทย์ทางวิทยาศาสตร์
ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทยคนไทยยังรักษาโรคด้วย การแพทย์แผนไทย คือใช้สมุนไพร
และคนในบางส่วนก็ยังรักษาโรคด้วยไสยศาสตร์ใน พ.ศ. ๒๓๘๘
ท่านได้แต่งหนังสือชื่อ ตำราปลูกฝีโค เพื่อช่วยในการป้องกันโรคดังกล่าว หมอบรัดเลย์ได้รักษาผู้ป่วยด้วยวิชาแพทย์แผนตะวันตก
ซึ่งเป็นของใหม่สำหรับคนไทยและทำให้ผู้ป่วยที่เป็นชาวบ้านธรรมดา หายจากโรคต่างๆเป็นจำนวนมาก ต่อมาจึงมีพวก ขุนนางและข้าราชการไทยไปรับบริการจากท่านด้วย กิตติศัพท์ของหมอบรัดเลย์ได้ทราบถึงถึงพระกรรณเจ้าฟ้ามงกุฎ (คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังไม่เสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดราชาธิวาส พระองค์จึงมีรับส่งให้หมอบรัดเลย์ เข้าเฝ้า เพื่อถวายการรักษาพระโรคลมอัมพาตที่เกิดแก่พระพักตร์ของพระองค์ หมอบรัดเลย์ได้นำภรรยาเข้าเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๗  เมษายน พ.ศ. ๒๓๗๙ และต่อมา ได้เข้าเฝ้าถวายพระโอสถที่ใช้รักษา
ในวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๓๗๙ ผลการรักษาได้ผลดี ทำให้อาการของพระโรคทุเลาลงมากและทำให้หมอบรัดเลย์ได้ใกล้ชิด
เบื้องพระยุคลบาทจนทรงโปรดเป็นพระสหายดังจะเห็นได้จากการที่ โปรดให้หมอบรัดเลย์เข้าถวายพระอักษรภาษาอังกฤษในปี พ.ศ. ๒๓๘๒

หมอบรัดเลย์ได้หล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยชุดใหม่ขึ้น ใช้เป็นผลสำเร็จ ในเดือน มกราคม พ.ศ. ๒๓๘๕ และได้นำตัวพิมพ์ชุดนี้ ๑ ชุดไปถวายเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งขณะนั้นทรงย้ายไปประทับที่วัดบวรนิเวศ ปีเดียวกันหมอบรัดเลย์ได้พิมพ์หนังสือที่เป็นงานแปลของท่านด้านการอนามัยแม่และเด็กออกมาด้วยเล่มหนึ่ง คือ คัมภีร์ครรภ์ทรักษา ต่อมาอีก ๒ ปี ตรงกับวันชาติของสหรัฐอเมริกา                                                                                                   คณะมิชชันนารีก็ได้จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์รายเดือนภาษาไทยฉบับแรก ที่ชื่อว่าบางกอกรีคอเดอ ออกจำหน่าย นับได้ว่าเป็นการนำความก้าวหน้าด้านสื่อสารมวลชนเข้ามาเผยแพร่ เป็นครั้งแรกในประเทศไทยแต่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีออกมาจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๘๘ก็ต้องหยุดพิมพ์ เพราะขาดคนทำต่อ และภรรยาของหมอบรัดเลย์ถึงแก่กรรมลง

ที่มา  http://social-people.exteen.com/20071103/entry-15  

 

สร้างโดย: 
ครูชาญชัย เปี่ยมชาคร และนางสาวภูริชญา ธโนปจัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 560 คน กำลังออนไลน์