บุุคคลในสมัยรัตนโกสินทร์

         

            
              

  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 

ขอบคุณรูปจากhttp://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww523/2282520/2282520-web2/sum/z06.files/image001.jpg

 


พระนามเต็ม

สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิ

ราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์

ตรีภูวเนตรวรนายกดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยคโรมนต์

สกลจักรวาลาธิเมนทรต์สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี

ศรีสุวิบูลย์คุณอกณิฐฤทธิราเมศวรมหันตบรมธรรมิกราชาธิเบศร์

โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคต มหาพุทธางกูร บรมบพิตร

พระนามเดิม  ทองด้วง
  
 
พระราชสมภพ  วันพุธ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา ๓ ยาม ตรงกับวันที่ ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙ 
 
    
เสวยราชสมบัติ   ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์  เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕(ตรงกับ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช ๑๑๔๔)ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา
 
เสด็จสวรรคต  วันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก ตรงกับวันที่ ๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๕
 
วัดประจำรัชกาล  วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม

   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯราชอาณาจักรไทยได้แผ่ ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลทุกทิศทางยิ่งกว่าสมัยใด                        กล่าวคือ

ทางเหนือได้อาณาจักร ลานนาไทย รวมทั้งหัวเมืองใหญ่อื่นๆ เช่น เชียงตุง เชียงรุ้ง และหัวเมืองอื่น ๆ ในแคว้นสิบสองปันนา

ทางด้านตะวันออกได้หัวเมืองลาว และกัมพูชาทั้งหมด

ด้านทิศใต้ได้ดินแดนตลอดแหลมมะลายู ได้แก่ เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน เมืองตรังกานู เมืองเประ และเมืองปัตตานี

ด้านตะวันตก ได้หัวเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี และเมืองทะวาย

ได้มีสงครามกับพม่าหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญได้แก่สงครามเก้าทัพ

เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๘ พม่ายกกำลังมาครั้งนี้ มีกำลังพลประมาณ ๑๔๔,๐๐๐ คน

จัดเป็น ๙ ทัพแยกย้ายกันเข้าตีไทย ๕ทาง

ทัพบกยกเข้ามาทาง ด่านเจดีย์สามองค์ จำนวน ๕ ทัพ

ยกเข้ามาตีหัวเมืองทางเหนือ ๒ ทัพ

และยกเข้ามาตีหัวเมืองทางใต้ ๒ ทัพ

ทั้งหมดยกกำลังเข้าตีพร้อมกันในเดือนอ้ายของปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ฝ่ายไทยเห็นว่าทัพพม่าที่ยกเข้ามาทาง ด่านเจดีย์สามองค์มีกำลังมาก 

และสามารถเข้าถึงกรุงเทพ ได้ใกล้ที่สุด จึงจัดกำลังเข้าทำการรบ

ผลของสงคราม กองทัพไทยได้รับชัยชนะอย่างงดงาม

โดยการดำเนินกลยุทธที่ยอดเยี่ยมของฝ่ายไทย เริ่มตั้งแต่การวางกำลัง

สกัดการรุกของพม่าอย่าง เหมาะสมทั้งในด้านการวางกำลัง ณ

พื้นที่ที่สำคัญด้วยกำลังที่พอเหมาะและจังหวะเวลาถูกต้อง

ทำให้สามารถเอาชนะพม่าที่มีกำลังมากกว่าหลายเท่าตัว

โดยที่ฝ่ายพม่าต้องถอยทัพกลับไปตั้งแต่อยู่ที่ชายแดน

เมื่อกองทัพหลวงของพม่าต้องถอยกลับไป กองทัพพม่า ที่ยกมา

ทางเหนือและทางใต้ก็ถูกกองทัพไทยปราบได้ราบคาบโดยง่าย

ในเวลาต่อมาพม่ายกทัพมาตีไทยอีกครั้งในสงครามที่ท่าดินแดง

แต่ก็พ่ายแพ้ไทยกลับไปเมื่อรบกันอยู่ได้เพียง๓ วัน

ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีสงครามขนาดใหญ่ระหว่างไทยกับ พม่าอีกเลย

 

กิจการทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ

คงดำเนินตามแบบอย่างในสมัยกรุงศรีอยุธยา

มีการรวบรวมตำราพิชัยสงคราม ที่หลงเหลือจากการ

ถูกทำลายจากพม่ามาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นแบบแผน

ซึ่งก็ได้ใช้ต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ

 

ที่มา http://social-people.exteen.com/20071103/entry-16   

สร้างโดย: 
ครูชาญชัย เปี่ยมชาคร และนางสาวภูริชญา ธโนปจัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 258 คน กำลังออนไลน์