วัฒนธรรมการแต่งกายของจีน

         

 

  

  

  

 

              ประวัติศาสตร์ของประเทศจีนมีมานานถึง 5 พันปี วัฒนธรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวจีนก็มีมายาวนานไม่แพ้กัน ซึ่งในระยะเวลา 5 พันปีมานั้น  ชาวจีนได้รับอิทธิพลเครื่องแต่งกายจากชนกลุ่มน้อย เผ่าต่าง ๆ ในประเทศจีน  รวมถึงวัฒนธรรมการแต่งกายเสื้อผ้าของชาวต่างชาติ ผสมผสานกันจนเป็นลักษณะพิเศษของการแต่งกายชาวจีนในยุคนั้น ๆ ซึ่งการแต่งกายของชาวจีนนั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

 

http://i82.photobucket.com/albums/j244/marron0811/YanZhiXue/4942813_1207575319_884.jpg

 

              เนื่องจากชนกลุ่มน้อยเผ่า ๆ ต่างในประเทศจีนมีอยู่ถึง 42 เปอร์เซนต์ ของประชากรจีนทั้งหมด ซึ่งเมืองที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เยอะที่สุดคือเมือง หวินหนาน จึงจำเป็นที่จะต้องแยกประเภทวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีน( 历代服饰 ) และกลุ่มการแต่งกายของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในประเทศจีน ( 民族服饰 ) ซึ่งมีอยู่ถึง 50 กว่า ชนเผ่า  ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มักจะมีการแต่งกายที่มีลักษณะเอกลักษณ์และมักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ในฉบับนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโดยสังเขป

 http://img352.imageshack.us/img352/4986/imagezk4.jpg

 

 วัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีน ( 历代服饰 )


                 สมัยฉิน  (秦221-220 ปีก่อนคริสต์ศักราช)     เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสมัยฉินได้รับอิทธิพลจากแนวคิดอิ๋นหยาง(( 阴阳)ความสมดุลของสรรพสิ่ง กฎแห่งความสมดุลของธรรมชาติ) เนื่องจากยุคสมัยฉินค่อนข้างจะสั้น ดั่งนั้นสีของเสื้อจะเป็นการผสมผสานระหว่างสีเสื้อผ้าที่ฉินซีฮ่องเต้เป็นผู้กำหนดและสีเสื้อผ้าตามประเพณีจารีตของยุคจ้านกั๋ว

                เสื้อผ้าผู้ชายสมัยฉินเป็นลักษณะเสื้อคลุมยาว ฉินซีฮ่องเต้ได้กำหนดให้ใช้สีดำเป็นหลักในการตัดเย็บสำหรับเสื้อผ้าพิธีการ โดยเชื่อว่าสีดำเป็นสีที่คู่ควรแก่การได้รับความเคารพ ข้าราชการยศระดับ 3 ขึ้นไปให้ใช้สีเขียวประกอบในการตัดเย็บ ประชาชนทั่วไปใช้สีขาวประกอบในการตัดเย็บ เสื้อผ้าผู้หญิง ฉินซีฮ่องเต้ไม่ได้มีการกำหนดสีในการตัดเย็บเนื่องจากท่านชื่นชอบสีสันความสวยงามของเสื้อผ้าที่นางสนมในวังสวมใส่ จึงเน้นเสื้อผ้าที่มีสีสันสวยหรู ฉูดฉาด

                  

            เสื้อผ้ากษัตริย์สมัยฉิน                                  ข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป                                  เสื้อผ้าผู้หญิง

http://www.paknampho-chinesenewyear.com/2554/images/stories/2006013105p01.gif

http://www.chinaqw.com/node2/node116/node1486/node1495/node1516/node1517/images/000057093.jpg

http://www.e-museum.com.cn/dmsa/finery/fin/images/2006013110p01.gif

 

             สมัยฮั่น (汉202 ปีก่อนคริสตศักราช – ค.ศ. 8)   เสื้อผ้าสมัยฮั่น จะประกอบด้วย เสื้อคลุมยาว(袍)  เสื้อลำลองแบบสั้น(襜褕)  เสื้อนวมสั้น (襦)  กระโปรง (ผู้หญิง) และ กางเกง (ผู้ชาย) ในยุคนี้ผ้าที่มีลักษณะการถักทอได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  ดังนั้น คนที่มีเงินในสมัยนั้นจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าแพรต่วน ซึ่งมีความสวยงามมาก โดยทั่วไปผู้ชาย จะสวมเสื้อสั้น กางเกงขายาว  และหากฐานะยากจน จะสวมเสื้อแขนสั้นที่ตัดเย็บด้วยผ้าหยาบ  ในส่วนของผู้หญิงในสมัยฮั่นเสื้อผ้ามีตั้งแต่เป็นลักษณะเสื้อและกระโปรงต่อกัน (กี่เพ่า) และแยกเสื้อกระโปรงเป็น 2 ชิ้น  กระโปรงจะมีลวดลายหลากหลายมาก กระโปรงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัยนั้น คือ “กระโปรงลายเทพสถิตย์  (留仙裙)”

                ระดับชั้นของข้าราชการในสมัยฮั่น จะมีหมวกและสายประดับยศเป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งชั้นของขุนนาง ซึ่งสมัยนั้น ตำแหน่งอัครเสนาบดีเป็นขุนนางตำแหน่งสูงสุด

 

 

http://image.dek-d.com/21/825116/101784415

 

                สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย   ( 魏晋南北 ค.ศ.220- ค.ศ.589)      สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย หรือที่เรารู้จักกัน “สมัยสามก๊ก” ก็อยู่ในยุคนี้ สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ยจัดได้ว่าเป็นสมัยที่ศาสนาพุทธและลัทธิเต๋าเฟื่องฟู เครื่องแต่งกายชายหญิง ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ จนถึงประชาชนทั่วไป เสื้อผ้า จะมีลักษณะหลวมยาว และมีเข็มขัดคาด หากเป็นเสื้อผ้าผู้ชายจะมีการเปิดแผงหน้าอกเล็กน้อย ไหล่เสื้อลู่ลง แขนเสื้อกว้าง สวมใส่ดูสบาย (ทั้งนี้แล้วแต่มุมมองของผู้อ่าน เนื่องจากบางท่านก็เห็นว่าแลดูลุ่มล่าม) ในส่วนของเสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อกี่เพ่าแลดูเป็นกระโปรงยาวลากพื้น แขนเสื้อกว้าง เข็มขัดจะคาดให้ดูเป็นชั้น ๆ  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสุภาพ และสง่างาม

   

http://www.arthtml.com/eNews/UploadFiles/2006/11/200611201533048386.jpg

http://www.chinaqw.com/node2/node116/node1486/node1495/node1516/node1517/images/000057115.jpg

 

              สมัยสุ่ย และสมัยถัง  (隋唐 ค.ศ. 581-ค.ศ. 907)   เสื้อผ้าของสมัยสุ่ยและสมัยถังมีรูปแบบเสื้อผ้าที่มีความใกล้เคียงกันสูง  เสื้อผ้าต้นสมัยสุ่ยค่อนข้างจะเรียบง่าย  เสื้อผ้ายังคงมีลักษณะกี่เพ่าหรือเสื้อคลุมยาว เมื่อกษัตริย์สุ่ยหยางขึ้นครองราชย์ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม ซึ่งส่งผลให้เสื้อผ้าในยุคสมัยดังกล่าวได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สวยงามขึ้นเช่นกัน

                          

                                     เสื้อผ้ากษัตริย์สมัยสุ่ยและถัง                                  เสื้อผ้าผู้หญิงสมัยสุ่ย

http://image.dek-d.com/21/825116/101784449

http://image.dek-d.com/21/825116/101784450

             ในสมัยถัง นับได้ว่ามีความเจริญทั้งในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้นเสื้อผ้าในสมัยนี้จัดได้ว่ามีความสวยงามยิ่ง เสื้อผ้าพิธีการของสตรีชั้นสูงจะมีลักษณะเปิดหน้าอก คอเสื้อต่ำ แขนเสื้อยาวและใหญ่ สวมเสื้อกระโปรงที่ทำจากผ้านวม มีผ้าคลุมไหล่ สมัยนั้นเทคนิคสิ่งทอถือว่ามีความล้ำหน้าเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ได้รับวัฒนธรรมแบบเสื้อผ้าจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานเข้าไว้ด้วยกัน (เกาหลี ,ญี่ปุ่น) ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่าสมัยถังเป็นยุคที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก

 

                                                                                         

                                      เสื้อผ้าผ้าผู้ชายสมัยถัง                                                 เสื้อผ้าผู้หญิงสมัยถัง

 

http://image.dek-d.com/21/825116/101784451

 http://www.showchina.org/zgwhxl/zgctfs/200703/W020070316397941336381.jpg

 

            สมัยซ่ง  ( 宋ค.ศ.960 - ค.ศ.1279)  แบบเสื้อผ้าสมัยซ่งยังคงได้รับอิทธิพลตกทอดมาจากสมัยถัง แต่เนื่องจากสมัยนั้นแนวความคิดปรัชญา(ของสำนักขงจื้อ) เฟื่องฟู  พฤติกรรมของผู้คนส่วนใหญ่คล้อยตามแนวคำสอนของท่านขงจื้อ มีรสนิยมชื่นชมในความเป็นธรรมชาติ ส่งผลให้แบบเสื้อผ้าของผู้คนในสมัยซ่งไม่เน้นลวดลายสีฉูดฉาด เครื่องแต่งกายเสื้อผ้าของข้าราชการจะเป็นเสื้อคลุมยาว แขนเสื้อใหญ่  สวมหมวกประจำตำแหน่ง มีการแบ่งสีเสื้อผ้าเพื่อบ่งบอกยศตำแหน่ง ในส่วนของเสื้อผ้าสตรี เป็นลักษณะเสื้อคลุมตัวใหญ่และยาว ช่วงคอตรง  ผ้าในส่วนรักแร้ทั้งสองข้างตัดแยกออกจากกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เสื้อกั๊กสมัยซ่ง”  แบบเสื้อผ้านี้ได้รับความนิยมในหมู่นางสนมในวังและสตรีทั่วไปในสมัยนั้น

 

             

                                                    เสื้อกั๊กสมัยซ่ง                                    เครื่องแต่งกายสตรี

 

http://image.dek-d.com/21/825116/101784454

http://www.kornkanoklks.ob.tc/084329%5B1%5D.jpg

 

               สมัยเหวี่ยน   (元ค.ศ.1206 - ค.ศ.1368)  สมัยเหวี่ยนเป็นสมัยที่มองโกลได้เค้ามายึดครองเมืองจีน แต่ทว่าวัฒนธรรมการแต่งกายยังคงได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่นอยู่ ดังนั้นเครื่องแต่งกายในสมัยนี้จึงเป็นการผสมผสานระหว่างกลิ่นอายมองโกลและฮั่น

                เสื้อผ้าชายหญิงในสมัยเหวี่ยนไม่ได้มีความแตกต่างกันเท่าไหร่นัก ยังคงเป็นลักษณะกี่เพ่าหรือชุดคลุมยาว มีเทคนิคการทอโดยการใช้วัตถุดิบผ้าทอง และขนสัตว์ ในการทอเสื้อผ้า เพื่อเป็นการแบ่งระหว่างการตัดเย็บแบบมองโกล และการตัดเย็บแบบฮั่น ชาวมองโกลจะมีเอกลักษณ์เครื่องแต่งกายที่นอกเหนือจากกี่เพ่ายาวแล้ว ยังนิยมสวมหมวก “กูกู” (姑姑冠) เสื้อตรงหน้าอก เบ้ไปทางซ้าย ยาวและลึก สวมกระโปรงยาวทับ รองเท้าบูธหนังนิ่ม    หากเป็นเสื้อผ้าสตรีชาวฮั่นโดยทั่วไปแล้วยังคงสืบทอดการแต่งกายสมัยซ่งอยู่ เสื้อตรงหน้าอก เบ้ไปทางขวา มีผ้าคลุมไหล่ สวมกระโปรงจับจีบ สวมรองเท้าเรียบติดพื้น

 

                    

                                                  เสื้อผ้าบุรุษสมัยเหวี่ยน                                   เสื้อผ้าสตรีสมัยเหวี่ยน

http://www.qingis.com/photos/w-1.jpg

http://image.dek-d.com/21/825116/101784457

 

                 สมัยหมิง  (明ค.ศ.1368 - ค.ศ.1645) ในสมัยหมิงหรือสมัยแมนจูได้ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูวัฒนธรรมของชาวฮั่น ดังนั้นเครื่องแต่งกายจะมีกลิ่นอายการผสมผสานระหว่างสมัยฮั่น  ถังและซ่ง เสื้อผ้าชายจะเน้นเสื้อคลุมยาว เป็นหลัก ข้าราชการจะเน้นสวมใส่ชุด “ปู่ฝู” (补服)สวมหมวกผ้าแพรบาง(乌纱帽) สวมเสื้อคอกลม ลายผ้าตรงกลางเสื้อคลุมยาวบ่งบอกถึงยศตำแหน่งทางราชการ สมัยนั้นผู้ชายทั่วไปยังนิยมสวมหมวกผ้าแบบสีเหลี่ยมอีกด้วย ในส่วนของชุดแต่งกายสตรี สวมเสื้อกันหนาวที่มีซับในแบบจีน  (袄) พกผ้าคลุมที่มีไว้พาดไหล่สีแดง(霞披) หรือพัด และสวมกระโปรงเป็นต้น

                รูปแบบเสื้อผ้าส่วนใหญ่ เช่น เสื้อกั๊กยาว ยังคงลอกเลียนมาจากสมัยถังและซ่ง นางในสมัยหมิงนิยมสวมใส่เสื้อผ้าที่ดูน่าเลื่อมใส สวมเสื้อก๊กเป็นชุดนอก แขนเสื้อแลดูเข้ารูป กระโปรงจีบข้างในสวมกางเกงขายาว ในสมัยหมิงหญิงสาวเริ่มนิยมพันเท้าให้เล็กหรือเรียกกันว่า “เท้ากลีบดอกบัว”

 

                  

                           เครื่องแต่งกายชาย สวมหมวกผ้าทรงสี่เหลี่ยม                       เสื้อกั๊กและเสื้อผ้าสตรี

http://www.chinaqw.com/node2/node116/node1486/node1495/node1516/node1517/images/0000572113.jpg

http://www.kornkanoklks.ob.tc/20031031142458140%5B1%5D.jpg


                สมัยชิง  ( 清ค.ศ.1644 - ค.ศ.1911 )    เครื่องแบบสมัยชิงยังคงได้รับการตกทอดมาจากสมัยหมิง ในขณะเดียวกันก็รับเอาจุดเด่นของแบบเสื้อสมัยฮั่นเข้ามาประยุกต์ด้วย เสื้อผ้าผู้ชายยังคงเน้นเสื้อคลุมยาว เสื้อแจ๊คเก็ตแบบจีน (马褂) เสื้อชั้นในแบบยืดลักษณะเป็นเสื้อกล้าม (马甲) โกนศรีษะออกครึ่งนึง อีกครึ่งทักเปียยาว เสื้อแจ๊คเก็ตแบบจีนจะสวมทับไว้ด้านนอกของชุดเสื้อคลุมที่หลวมยาว ชุดลักษณะดังกล่าวจัดได้ว่าเป็นชุดพิธีการ ชุดแต่งกายที่เป็นเสื้อและกระโปรงของผู้หญิงสมัยนั้นเป็นลักษณะผสมผสานระหว่างชาวฮั่นกับชาวแมนจู  โดยเฉพาะกี่เพ่าเป็นลักษณะของชาวแมนจูอย่างเห็นได้ชัด นอกเหนือจากนี้ยังมีเสื้อกั๊ก  กระโปรง  ผ้าคลุมไหล่  สายรัดเอว เครื่องแต่งกายต่าง ๆ เรียกได้ว่าถอดมาจากสมัยหมิงหรือแมนจูเลยก็ว่าได้ ประเพณีการรัดเท้ายังคงสืบทอดมาถึงสมัยชิง

 

                                  

                                  เครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีสมัยชิง                     สภาพเท้าของสตรีที่รัดเท้าเมื่อเอาผ้าพันเท้าออก

http://img.epochtimes.com/i6/504114713985.jpg

http://www.bananaaom.ob.tc/original406_clip_image002_0004.jpg

 

               สมัยปฏิวัติซินไฮ่  (近代ค.ศ.1911-ค.ศ.1949) ในยุคสมัยปฎิวัติซินไฮ่ หรือยุคปฏิวัติราชวงศ์ชิง เครื่องแต่งกายของชาวจีนนับวันยิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมการแต่งกายแบบชาวตะวันตกเริ่มเข้ามา ทำให้ไม่ว่าจะเป็นชุดเสื้อคลุมยาวหลวมของผู้ชาย กี่เพ่าผู้หญิง เสื้อกั๊ก  กางเกงและกระโปรง ล้วนถูกดัดแปลงผสมผสานระหว่างแบบเสื้อตะวันตกและแบบเสื้อจีน อีกทั้งในยุคดังกล่าวยังได้ถือกำเนิดแบบเสื้อใหม่ในยุคนั้น คือ ชุดฟรอม์จงซาน  ชุด ฟรอม์นักเรียนนักศึกษา ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง

 

                      

http://www.chinaqw.com/node2/node116/node1486/node1495/node1516/node1517/images/0000572618.jpg

 http://www.chinaqw.com/node2/node116/node1486/node1495/node1516/node1517/images/0000572820.jpg

 

          ปัจจุบัน แม้วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนจะไม่สามารถคงความเป็นรูปแบบเอกลักษณ์เครื่องแต่งกายประจำชาติได้อย่างประเทศในแถบอินเดีย เนื่องจากได้รับเอาค่านิยมแบบเสื้อผ้าจากชาวตะวันตกมาเป็นส่วนใหญ่ แต่เราก็ยังคงได้พบเห็นแบบแฟชั่นที่บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของชาวจีน เช่น ปกเสื้อคอจีน กี่เพ่า เป็นต้น ซึ่งยังเป็นที่นิยม คงความสวยงามและเป็นแบบเสื้อที่ไม่มีวันตาย   **

 


 

สร้างโดย: 
นางสาวธัญญาเรศ แซ่ล้อ - นางสาววิภาดา จิระรัตนกุล

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 508 คน กำลังออนไลน์