user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('Future Continuous Tense', 'node/73909', '', '3.17.176.70', 0, 'fa88c3786643e011c8e8e4cd2b5616c4', 161, 1716070955) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

กรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง

รูปภาพของ sss27857
 

ยุคปฏิรูปประเทศ

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

 นโยบายต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง

    1. นโยบายต่างประเทศ เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เริ่มมีสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจตะวันตกอย่างกว้างขวาง มีการวางนโยบายแผนใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและรับสถานการณ์ต่างๆ ของโลกภายนอก ที่มีผลกระทบกระเทือนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อประเทศไทย นโยบายต่างประเทศของไทยแต่ละรัชกาลพอจะสรุปได้ ดังนี้
               1.1 นโยบายต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ 4 สมัยนี้เป็นสมัยของการเริ่มต้นเปิดประเทศครั้งใหญ่ของไทย รัฐบาลถูกบีบบังคับให้ทำสนธิสัญญาที่ผูกมัดเอารัดเอาเปรียบและไม่ธรรม แต่เพื่อความปลอดภัยและเอกราชของชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ใช้นโยบาย “ผ่อนสั้นผ่อนยาว” ขึ้นเป็นพระองค์แรก ซึ่งทำให้ไทยรอพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นและเป็นเอกราช มาจนปัจจุบัน และยังเป็นแนวทางให้รัฐบาลสมัยต่อๆ มาได้ดำเนินนโยบายตามอีกด้วย
               1.2 นโยบายต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ 5 ได้สร้างสัมพันธไมตรีอันดีต่อนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศตะวันตก โดยส่งเอกอัครราชทูตไปประจำประเทศต่างๆ เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และการส่งเอกอัครราชทูตไปประจำยังต่างประเทศนี้ก็ได้ปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน ผลจากการมีสัมพันธไมตรีอันดีต่อนานานประเทศนี้ ทำให้ความตึงเครียดทางด้านการเมืองของไทยกับต่างประเทศดีขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ประเทศรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจบางประเทศ ซึ่งผิดกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบที่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจต่างๆ จนหมดสิ้น และยังเป็นแนวทางนำไปสู่การแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

     2. การเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศตะวันตก
               2.1 อังกฤษ พ.ศ.2398 สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระราชินีนาถของประเทศอังกฤษ ได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม อัญเชิญพระราชสาสน์มาขอเจราจาทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับไทย ซึ่งไทยก็ให้การต้อนรับอย่างสมเกียรติ   
               สนธิสัญญาที่ไทยทำกับอังกฤษในครั้งนี้ เรียกว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ทำเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2398 ซึ่งมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
                                1) อังกฤษขอตั้งศาลกงสุลในไทย เพื่อคอยดูแลผลประโยชน์ของคนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ ถ้าเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทกับคนไทย หรือกระทำความผิด ให้คนเหล่านี้ขึ้นศาลกงสุลอังกฤษเท่านั้น
                                2) คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในไทยได้ แต่ถ้าจะซื้อที่ดินต้องอยู่ในเมืองมาแล้ว 10 ปี ขึ้นไป
                                3) อังกฤษมีสิทธิสร้างวัดและเผยแผ่ศาสนาคริสต์ได้อย่างเสรี
                                4) ให้ไทยยกเลิกการเก็บภาษีปากเรือ ให้เก็บแต่เพียงภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3 ส่วนภาษีขาออกให้เสียเพียงครั้งเดียว
                                5) เปิดโอกาสให้พ่อค้าอังกฤษกับราษฎรไทยค้าขายกันอย่างเสรี
                                6) สินค้าต้องห้าม มี 3 อย่าง คือ ข้าว ปลา เกลือ และอังกฤษสามารถนำฝิ่นเข้ามาขายให้แก่เจ้าภาษีโดยไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อให้นำกลับออกไป ถ้าลักลอบขายจะถูกริบฝิ่น
                                7) ถ้าไทยทำสนธิสัญญานี้กับชาติอื่น โดยยกประโยชน์ให้ชาตินั้นๆ นอกเหนือจากที่ทำกับอังกฤษในครั้งนี้ ก็ต้องทำให้อังกฤษด้วย
                                8) สนธิสัญญานี้จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ ไม่ได้ นอกเหนือจากเวลาล่วงไปแล้ว 10 ปี หลังจากนั้นจะทำการแก้ไขต้องตกลงยินยอมด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย และต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี  
                     ในการทำสนธิสัญญาครั้งนี้ ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมากมาย เป็นการบีบบังคับโดยที่ไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และไทยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ข้อเสียเปรียบที่ไทยได้รับ มีดังต่อไปนี้
                            1. ทำให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ (คนในบังคับอังกฤษ หมายถึง คนอังกฤษ คนในชาติที่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และยังหมายถึงคนเอเชียที่มาขอจดทะเบียนเป็นคนในบังคับของอังกฤษโดยที่ประเทศตนไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษก็ตาม)
                            2. อังกฤษเป็นชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง ในการมีสิทธิ์พิเศษอื่นๆ นอกเหนือจากสนธิสัญญาที่ไทยทำกับอังกฤษ ถ้าไทยทำการตกลงกับชาติอื่นๆ
                            3. สนธิสัญญานี้อังกฤษเป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงไม่ยอมทำการแก้ไข
                    แต่สนธิสัญญานี้ก็ยังพอมี ผลดีอยู่บ้าง คือ
                            1. ทำให้ไทยรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
                            2. การค้าขายขยายตัวมากขึ้น ทำให้ฐานะของประชาชนดีขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศก็พลอยดีขึ้นตามไปด้วย
                            3. ทำให้อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย และสามารถนำมาปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น
               2.2 ประเทศอื่นๆ หลังจากไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษแล้ว ได้มีชาติอื่นๆ เข้ามาเจรจาขอทำสนธิสัญญาตามแบบอย่างอังกฤษหลายชาติ ตามลำดับดังต่อไปนี้
                            1) พ.ศ.2399 ประธานาธิบดี แฟรงคลิน เพียส แห่งสหรัฐอเมริกา ส่งนายเทาน์เซนต์ แฮริส เป็นทูตมาขอแก้ไขสัญญากันไทย และในปีเดียวกันนี้เอง พระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศสได้ส่ง นายมองตินยี ราชทูตเข้ามาทำสัญญากับไทย
                            2) พ.ศ.2401 ทำสนธิสัญญากับโปรตุเกสและเดนมาร์ก
                            3) พ.ศ.2403 ทำสนธิสัญญากับเนเธอร์แลนด์
                            4) พ.ศ.2404 ทำสนธิสัญญากับปรัสเซีย
                            5) พ.ศ.2411 ทำสนธิสัญญากับนอร์เว สวีเดน เบลเยี่ยม อิตาลี
                            6) พ.ศ. 2412 ทำปฏิญญาว่าด้วยการค้าและการเดินเรือกับรุสเซีย

     3. การส่งราชทูตไปยุโรป สมัยรัตนโกสินทร์ ใน พ.ศ.2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) และหม่อมราโชทัย อัญเชิญพระราชสาสน์ไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียที่ประเทศอังกฤษ
                    พ.ศ. 2404 โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) เป็นอัครราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส
                    พ.ศ. 2410 ทรงแต่งตั้ง เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เป็นอัครราชทูตไทยประจำยุโรปคนแรก โดยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยในการทำสนธิสัญญากับประเทศต่างๆ เช่น นอร์เว  สวีเดน เบลเยียม และอิตาลี

 

อิทธิพลของอายธรรมตะวันตกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของไทยในด้านต่างๆ

     1. จากการที่ไทยยอมเปิดประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยยอมทำสนธิสัญญาทางการทูตและการค้ากับประเทศตะวันตก ทำให้เกิดผลต่อประเทศ คือ
               1.1 ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากเหตุการณ์ร้ายแรงที่จะเกิดตามมาได้โดยปลอดภัย โดยเฉพาะครั้งที่ เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เดินทางเข้ามาขอทำสนธิสัญญากับไทย ถ้าไทยไม่ยอมหรือขัดขืนต่อข้อเรียกร้องของอังกฤษ อังกฤษก็จะดำเนินการขั้นเด็ดขาด ดังเช่นที่เคยทำกับจีนและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียมาแล้ว
               1.2 จากข้อตกลงที่ทำกันทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนใหญ่ไทยมักเสียเปรียบ ประเทศที่ทำสัญญากับไทยจึงมีความเห็นอกเห็นใจ และยอมผ่อนผันข้อตกลงบางประการให้ไทยบ้าง ทำให้ไทยเสียผลประโยชน์น้อยกว่าที่คิดไว้
               1.3 ไทยสามารถนำเอาอารยธรรมและวิชาการความรู้สมัยใหม่ที่ได้รับจากชาติตะวันตก มาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เช่น ด้านการศึกษา ด้านการทหาร ยกเลิกประเพณีเก่าแก่ล้าสมัย ยอมรับความคิดแบบใหม่ ยกเลิกความเชื่อเก่าๆ ที่ไร้เหตุผล ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่เล็งเห็นการณ์ไกล
               1.4 จาการทำสนธิสัญญาทางด้านการค้าขายกับต่างประเทศ และการเปิดประเทศของไทยนี้ ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนยกระดับสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนอย่างเห็นได้ชัด
               แต่สนธิสัญญานี้ไทยก็ถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างมากมาย ไทยถูกผูกมัดและจำกัดอำนาจอธิปไตยหลายอย่าง ข้อเสียเปรียบต่างๆ มีดังนี้
                        1) ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เมื่อคนต่างชาติหรือคนในบังคับต่างชาติกระทำผิดต้องนำขึ้นศาลกงสุลต่างชาติ ซึ่งทำให้ไทยเสียเปรียบในเรื่องอำนาจทางการศาล และสร้างความเดือดร้อนยุ่งยากในการปกครองเป็นอย่างมาก
                        2) ไทยถูกจำกัดการเก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อยละ 3 ถ้าสินค้านั้นขายไม่ได้ถูกส่งกลับ ไทยต้องคืนค่าภาษีให้ด้วย ทำให้รายได้ของประเทศน้อยลงกว่าเดิม
                        3) สนธิสัญญาที่ทำกับนานาประเทศไม่มีกำหนดเวลา ต้องใช้ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีวิธีที่จะยกเลิกได้เลย นอกจากขอแก้ไข ซึ่งก็เป็นการลำบากมาก เพราะต้องได้รับการยินยอมจากทั้ง 2 ฝ่าย
                        4) หลังจากไทยทำสนธิสัญญากับต่างประเทศแล้ว ทำให้ต้องเลิกการค้าระบบผูกขาด ทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียประโยชน์ส่วนนี้ไป

     2. สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำยังต่างประเทศเป็นครั้งแรก เอกอัครราชทูตไทยคนแรก คือ พระองค์เจ้าปฤษฏางค์ ประจำที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อมาได้ส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และญี่ปุ่น ยอกจากนี้ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่ทรงเสด็จประพาสต่างประเทศ ซึ่งการเสด็จประพาสต่างประเทศนี้ก็ได้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติมากมาย คือ
               2.1 ทำให้ไทยได้รับการถ่ายทอดขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศตะวันตกมาดัดแปลงและปรับปรุงให้เหมาะสมกับประเทศไทยมากขึ้น เช่น เปลี่ยนการแต่งกายเป็นแบบสากลนิยมไว้ทรงผมแบบฝรั่ง ฯลฯ
               2.2 ได้ทรงนำเอาแบบฉบับการปกครองที่เหมาะสมมาใช้กับประเทศไทย เช่น การตั้งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ การศึกษา การทหาร การศาล การสื่อสาร การคมนาคม การสุขาภิบาล ฯลฯ
               2.3 ทำให้ความตึงเครียดทางด้านการเมืองระหว่างประเทศลดน้อยลง เช่น ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
               2.4 การที่พระองค์ทรงมีสัมพันธ์ส่วนพระองค์กับประมุขของประเทศมหาอำนาจ เช่น เยอรมนี สหภาพโซเวียต ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจอื่นๆ ได้
               2.5 สัมพันธไมตรีอันดีที่มีต่อกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่างๆ เป็นผลดีที่ทำให้ไทยเรียกร้องขอแก้ไขสัญญา และยกเลิกสิทธิสภาพนอาณาเขตได้ในเวลาต่อมา
               2.6 เป็นการประกาศความเป็นเอกราชของไทย และเผยแพร่เกียรติคุณของประเทศให้แก่ประเทศต่างๆ ได้รู้จัก
               2.7 เกิดบทพระราชนิพนธ์เนื่องจากการเสด็จประพาสต่างประเทศที่สำคัญ ๆ หลายเรื่อง เช่น ไกลบ้าน พระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ ที่ทรงพระราชทานแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ฯลฯ
               ครั้นถึงรัชกาลที่ 6 ทั่วโลกต้องเผชิญกับเหตุการณ์สำคัญ คือ การเกิดวิกฤตการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งไทยก็มีส่วนเข้าร่วมด้วย และในระหว่างสงครามนี้ไทยได้เปลี่ยนธงชาติมาใช้ธงไตรรงค์ แทนธงช้างและใช้สืบต่อมาจนทุกวันนี้


ธงช้างเผือก
http://i.ytimg.com/vi/PC3pdAHYXjg/0.jpg ]


ธงไตรรงค์
http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/32/33032/images/2099990082_7d730c1a37.jpg ]

แหล่งอ้างอิง

http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/King/History-R4-6.htm

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 284 คน กำลังออนไลน์