ศัพท์สังคีตทางดนตรี

ลูกขัด เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรี (หรือร้อง) ออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งเรียกว่าพวกหน้า (บรรเลงก่อน) อีกพวกหนึ่งเรียกว่าพวกหลัง (บรรเลงที่หลัง) ทั้ง ๒ พวกนี้ผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว พวกหลังจึงจะบรรเลงบ้าง แต่ที่จะเรียกได้ว่า "ลูกขัด" นี้ เมื่อพวกหลังบรรเลงเป็น ทำนองอย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทำนองให้ผิดแผกแตกต่างไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนกับทำนองของพวกหน้า ทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาว เท่าใด ทั้งนี้แล้วแต่ผู้แต่งจะประดิษฐ์ขึ้นอย่างสั้นที่สุดอาจผลัดกันทำเพียงพวกละ พยางค์เดียวก็ได้ อธิบาย : ถ้าจะเปรียบเทียบคำว่า "ลูกขัด" กับ "ลูกล้อ" ให้เข้าใจง่ายจงจำไว้ว่า ถ้าพวกหลังบรรเลงไม่เหมือนพวกหน้าก็เป็นลูกขัด หากพวกหลังบรรเลงเหมือนกับ พวกหน้าก็เป็นลูกล้อ เช่นเดียวกับคำพูดของคน ๒ คน คนแรกพูดอย่างหนึ่ง อีกคนพูด ไปเสียอีกอย่างหนึ่งไม่เหมือนกันก็เรียกว่าพูดขัดหรือขัดคอ ซึ่งตรงกับลูกขัด ถ้าคนแรก พูดอย่างใด อีกคนก็พูดเหมือนอย่างนั้น ก็เรียกว่าเลียน หรือ ล้อ หรือ ล้อเลียน ซึ่งตรงกับ ลูกล้อ


ลูกหมด เป็นชื่อเพลงประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นเพลงสั้น ๆ มีจังหวะเร็ว เทียบเท่ากับจังหวะ หน้าทับสองไม้ชั้นเดียวหรือครึ่งชั้น สำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงต่าง ๆ เพื่อแสดงว่า จบ (หมด)


ลูกบท ได้แก่เพลงเล็ก ๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงใหญ่ซึ่งถือว่าเป็น แม่บท เพลงเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ลูกบทนี้ อาจเป็นเพลงในอัตรา ๓ ชั้น ชั้นเดียว ครึ่งชั้น หรือเพลงภาษาต่าง ๆ ก็ได้ อุทาหรณ์ : เมื่อร้องและบรรเลงเพลงจระเข้หางยาว ๓ ชั้น จบแล้ว จึงออก ลูกหมด แล้วร้องและบรรเลงเพลงจีนขิมเล็กต่อไป เสร็จแล้วก็ออกลูกหมดอีกครั้ง หนึ่งเพลงจีนขิมเล็กนี้แหละคือลูกบท ส่วนเพลงจระเข้หางยาวนี้บรรเลงแต่ต้นเป็นเพลง แม่บท ทั้งแม่บทและลูกบท เมื่อจะจบเพลงของตนต่างก็มี "ลูกหมด" ของตนเองเพื่อ แสดงว่าเพลงจบหรือ "หมดเพลง" แล้ว


ลำ ในสมัยโบราณใช้เรียกแทนคำว่าเพลง เช่น เพลงนางนาค เรียกว่า ลำนางนาค การละเล่นอย่างหนึ่งทางภาคอีสานที่ร้องเคล้าไปกับแคน เรียกว่า "ลำแคน" คนร้องเรียกว่า "หมอลำ" และคนเป่าแคนเรียกว่า "หมอแคน" ในสมัยปัจจุบัน มักจะแยกความหมายระหว่าง "เพลง" กับ "ลำ" เป็นคนละ อย่าง เพลงหมายถึงทำนองที่มีกำหนดความสั้นยาวแน่นอน (ดูคำว่า เพลง) แม้เพลง บางเพลงที่มีโยนซึ่งไม่จำกัดจำนวนจังหวะ แต่เมื่อถึงเนื้อเพลงก็มีทำนองอันแน่นอน หากจะมีบทร้องก็ต้องถือทำนองเพลงเป็นใหญ่ ส่วนลำนั้นถือถ้อยคำเป็นบทร้องเป็น สำคัญต้องน้อมทำนองเข้าหาถ้อยคำ และความสั้นยาวไม่มีกำหนดแน่นอน เช่น การขับ ลำของหมดลำ เป็นต้น         

ส่ง แยกออกได้เป็น ๒ อย่าง

ก. เป็นการบรรเลงนำทางให้คนร้องที่จะร้องต่อไปได้สะดวกและถูกต้อง เหมือนกับผู้ที่จะพ้นตำแหน่งแล้ว ก็ต้องส่งหน้าที่และแนะนำให้ผู้ที่จะรับตำแหน่งต่อไปได้ทราบแนวทาง เพื่อประโยชน์และความเรียบร้อยของส่วนรวม การ บรรเลงนำให้คนร้องนี้ เรียกเต็ม ๆ ว่า "ส่งหางเสียง"

ข. การร้องที่มีดนตรีรับ ก็เรียกว่าส่งเหมือนกัน แต่ก็มักจะเรียกว่า "ร้องส่ง"
สวม ได้แก่ การบรรเลงซึ่งอาจเป็นเครื่องดนตรีทั้งวงหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว ได้ บรรเลงเหลื่อมล้ำเข้ามาในตอนท้ายก่อนจบของผู้อื่นที่จะต้องบรรเลงติดต่อ เพื่อความ สนิทสนมกลมกลืนกัน อธิบาย : การบรรเลงเพลงสวมนี้ ที่ปฏิบัติกันเป็นปรกติก็คือเวลาร้องก่อนจะจบ ดนตรีก็บรรเลงสวมตอนท้ายเข้ามา หรือระหว่างเครื่องดนตรีที่บรรเลงเดี่ยวด้วยกัน เครื่องดนตรีที่จะบรรเลงต่อ ก็บรรเลงสวมตอนท้ายก่อนจะจบของเครื่องที่บรรเลงก่อน เช่นเดียวกับการต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ต้องสวมหรือเข้าปากประกบเชื่อมกันให้สนิท
ไหว หมายถึง การบรรเลงให้เสียงดนตรีหลาย ๆ เสียงที่ติดต่อกันนั้น มีระยะถี่และในจังหวะ เร็ว หากทำได้ถี่และเร็วมาก ก็เรียกว่าไหวมาก


ออก คือ การบรรเลงที่เปลี่ยนจากเพลงหนึ่งไปอีกเพลงหนึ่ง เช่น บรรเลงเพลงช้าแล้วเปลี่ยน เป็นเพลงเร็ว ก็เรียกว่า ออกเพลงเร็ว เปลี่ยนจากเพลงธรรมดาไปเป็นเพลงลูกหมด ก็ เรียกว่า ออกลูกหมด


เอื้อน ๑. ใช้ในการขับร้อง : หมายถึง การร้องเป็นทำนองโดยใช้เสียงเปล่า ไม่มีถ้อยคำเสียงที่ ร้องเอื้อนนี้อนุโลมคล้ายสระเออ ประโยชน์ของเอื้อน สำหรับบรรจุทำนองเพลงให้ถูกต้องครบถ้วนในเมื่อ บทร้อง (ถ้อยคำ) ไม่พอกับทำนองเพลง และเพื่อตบแต่งให้ถ้อยคำนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น

๒. ใช้ในการบรรเลงดนตรี : หมายถึง การทำเสียงให้เลื่อนไหลติดต่อกัน โดยสนิทสนม จะเป็นจากเสียงสูงมาหาเสียงต่ำ หรือเสียงต่ำไปหาเสียงสูงหรือเป็นเสียงสลับกันอย่างไร ก็ได้


โอด ก. เป็นชื่อเพลงดนตรีเพลงหนึ่ง สำหรับใช้เป็นหน้าพาทย์บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ หรือสลบ หรือตาย ค. เป็นชื่อของเสียงที่ใช้ในวงปี่พาทย์เสียงหนึ่ง ซึ่งเทียบโดยอนุโลมกับเสียงของดนตรี ง. สากลตรงกับเสียง ลา ถ้าตีด้วยฆ้องวงใหญ่ก็จะได้แก่ลูกที่ ๑๒ (นับจากลูกที่มีเสียงต่ำสุด) และฆ้องลูกนี้ก็มีชื่อว่า "ลูกโอด" เพราะเสียงนี้เป็นหลักสำคัญของเพลง โอด (ข้อ ก.) ค. หมายถึงทาง (ดูคำว่า ทาง ข้อ ๒) ดำเนินทำนองเพลงอย่างหนึ่ง ซึ่งดำเนินไปโดย แช่มช้า โหยหวน อ่อนหวาน หรือโศกซึ้ง บางท่านก็ว่าเป็นการดำเนินทำนองในระดับ เสียงสูง


โอดพัน เป็นคำเรียกวิธีบรรเลงดนตรีอย่างหนึ่ง ซึ่งมีทั้งทางโอด (ดูคำว่า โอด ข้อ ค.) และทางพัน (ดูคำว่า พัน ข้อ ข.) คือ การบรรเลงนั้นมีทั้งโหยหวน อ่อนหวานและเก็บแทรกแซง เสียงให้ถี่ ๆ อาจสลับกันเป็นอย่างละตอนหรืออย่างละเที่ยวก็ได้ อีกนัยหนึ่ง เป็นการบรรเลงทำนองเดียวกัน แต่บรรเลงในระดับเสียงสูง เที่ยวหนึ่ง ระดับเสียงต่ำเที่ยวหนึ่ง

Home

สร้างโดย: 
น.ส. อนันตพร โอตตัปปะวงศ์ เเละ อ.เพ็ญศรี รอดจากภัย โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 468 คน กำลังออนไลน์