ศัพท์สังคีตทางดนตรี

รื้อ เป็นทำนองร้องอย่างหนึ่งที่ใช้ในตอนขึ้นต้นของเพลงร่าย ซึ่งมีเอื้อนและทอดเสียงให้ ภาคภูมิ มักจะใช้เฉพาะในบทที่ขึ้นข้อความสำคัญ ๆ เท่านั้น


เรื่อง คือเพลงหลาย ๆ เพลง นำมาจัดรวมบรรเลงติดต่อกันไปเพลงทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า "เพลงเรื่อง" และตั้งชื่อเรื่องต่าง ๆ กัน แล้วแต่กรณี อธิบาย : ในการตั้งชื่อเรื่องนี้โดยปกติตั้งตามชื่อของเพลงที่บรรเลงเป็น อันดับแรกหรือเพลงที่สำคัญในเรื่องนั้นเช่น จำพวกเพลงเรื่องมโหรีก็มีเรื่องพระนเรศวร ชนช้าง ซึ่งมีเพลงนเรศวรชนช้างเป็นเพลงแรก เรื่องเพลงยาวมีเพลงทะแยเป็น อันดับแรก แต่เพลงยาวเป็นเพลงสำคัญ ยาวถึง ๗ ท่อน ฯลฯ (เพลงเรื่องจำพวกมโหรีนี้ บางทีก็เรียกว่า "ตับ" ดูคำว่า ตับ) จำพวกเพลงช้าก็มีเรื่องเต่ากินผักบุ้ง เรื่องสารถี เป็นต้น จำพวกสองไม้ก็มีเรื่องสีนวล เรื่องทยอย เป็นต้น จำพวกเพลงเร็วก็มีเรื่องแขกมัดตีน หมู เรื่องแขกบรเทศ เป็นต้น และจำพวกเพลงฉิ่งก็มีเรื่องมุล่ง เรื่องช้างประสานงา เป็นต้น เหล่านี้เรียกตามชื่อเพลงอันดับแรกทั้งนั้น แต่บางเรื่องเรียกชื่อจริงตามกิจการที่ บรรเลงประกอบก็มี เช่น เรื่องทำขวัญ (หรือเวียนเทียน) ซึ่งเพลงอันดับแรกเป็นเพลง นางนาค ซึ่งใช้ในกรณีทำขวัญหรือเวียนเทียนสมโภช และบางเรื่องก็เรียกตามหน้าทับ (ดูคำว่า หน้าทับ) เช่น เรื่องนางหงส์ ซึ่งใช้ประโคมศพ เพลงที่บรรเลงขึ้นต้น ด้วยเพลงพราหมณ์เก็บหัวแหวน แต่กลองมลายูที่ตีประกอบจังหวะ ตีหน้าทับนางหงส์ ดังนี้เป็นต้น


ล้วง ได้แก่ การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเพิ่มทำนองบรรเลงล้ำเข้ามา ก่อนที่จะถึงหน้าที่บรรเลงตามปรกติ อธิบาย : วิธีการอย่างนี้มักจะมีในตอนที่บรรเลงลูกล้อลูกขัดหรือเวลาที่จะ รับ จากร้อง คือก่อนที่จะถึงหน้าที่บรรเลงตามปรกติของตน ก็หาทำนองอย่างใด อย่างหนึ่ง บรรเลงขึ้นมาก่อนที่อีกฝ่ายหนึ่งจะจบ


ล่อน ได้แก่ การปฏิบัติในวิธีที่เรียกว่า สะบัด ขยี้ รัว หรือกวาด ได้ชัดเจนทุกเสียง ไม่ กล้อมแกล้มหรือกระทบเสียงอื่นที่ไม่ต้องการ เหมือนกับผลเงาะที่แกะเนื้อออกไม่มีติด เมล็ดเลย เราก็เรียกว่า "ล่อน"


ลำลอง เป็นการบรรเลงดนตรีไปพร้อม ๆ กับการร้องเพลง (เช่นเดียวกับคลอและเคล้า ดูคำว่า คลอและเคล้า) อีกแบบหนึ่งแต่วิธีการบรรเลงและร้องต่างก็ดำเนินไป โดยอิสระคือ ไม่ต้องเป็นเพลงเดียวกัน เสียงที่ตกจังหวะก็ไม่ต้องเป็นเสียงเดียวกันบางทีอาจไม่ถือ จังหวะของกันและกันก็ได้ สิ่งที่จะต้องยึดถือในการบรรเลงและร้องในลักษณะ ลำลองนี้ ก็คือ เสียงที่บรรเลงกับร้องจะต้องเป็นระดับเสียงเดียวกันทำนองของเพลงทั้ง ๒ ฝ่ายสัมพันธ์กลมกลืนกัน เช่น การร้องเพลง "เห่เชิดฉิ่ง" ในเพลงตับพรหมาสตร์ ซึ่งคนร้องร้องเป็นทำนองเห่ส่วนดนตรีบรรเลงเพลงเชิดฉิ่งไปพร้อม ๆ กัน


ลูกล้อ เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรี (หรือร้อง) ออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งเรียกว่าพวกหน้า อีกพวกหนึ่งเรียกว่าพวกหลัง ทั้ง ๒ พวกนี้ ผลัดกันบรรเลง คนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว พวกหลังจึงจะบรรเลงบ้าง (เช่น เดียวกับคำว่าลูกขัดที่กล่าวมแล้ว) แต่ที่จะเรียกได้ว่า "ลูกล้อ" นี้เมื่อพวกหน้าบรรเลง ไปเป็นทำนองอย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทำนองซ้ำอย่างเดียวกันกับพวกหน้า และทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ ก็แล้วแต่ผู้แต่งจะประดิษฐ์ขึ้น จะสั้นยาวเท่าใดหรือ เพียงพยางค์เดียวก็ได้

Home

สร้างโดย: 
น.ส. อนันตพร โอตตัปปะวงศ์ เเละ อ.เพ็ญศรี รอดจากภัย โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 436 คน กำลังออนไลน์