ศัพท์สังคีตทางดนตรี

     ตัว เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำว่าท่อนของเพลงบางประเภท (ดูคำว่า ท่อน) เพลงที่เรียก "ตัว" แทนคำว่า "ท่อน" ก็ได้แก่เพลงจำพวกตระและเชิดต่าง ๆ นอกจากเชิดนอก

ท่อน คือ กำหนดส่วนใหญ่ส่วนหนึ่ง ๆ ซึ่งแบ่งออกจากเพลง อธิบาย : โดยปรกติเมื่อบรรเลงเพลงใดก็ตาม หากจบท่อนหนึ่ง ๆ แล้วมักจะ กลับต้นบรรเลงซ้ำท่อนนั้นอีกครั้งหนึ่ง ที่กล่าวนี้มิใช่ว่าเพลงทุกเพลงจะต้องมีหลาย ๆ ท่อนเสมอไป บางเพลงอาจมีท่อนเดียวจบ หรือหลาย ๆ ท่อนจึงจบก็ได้ 


 ทาง คำนี้มีความหมายแยกได้เป็น ๓ ประการ คือ

๑. หมายถึง วิธีดำเนินทำนองโดยเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละอย่าง เช่น ทาง ระนาดเอก ทางระนาดทุ้ม และทางซอ ซึ่งแต่ละอย่างต่างก็มีวิธีดำเนินทำนองของตน แตกต่างกัน

๒. หมายถึง วิธีดำเนินทำนองของเพลงที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ เช่น ทางของ ครู ก. ครู ข. หรือทางเดี่ยว และทางหมู่ ซึ่งแม้จะบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีก็ดำเนิน ทำนองไม่เหมือนกัน

๓. หมายถึง ระดับเสียงของเพลงที่บรรเลง (Key) ซึ่งกำหนดชื่อเรียกเป็นที่ หมายรู้กันทุก ๆ เสียง ดังจะจำแนกเรียงลำดับขึ้นไปทีละเสียงต่อไปนี้ - ทางเพียงออล่างหรือทางในลด ระดับเสียงต่ำสุด อนุโลมเท่ากับเสียง "ฟา" ของดนตรีสากล - ทางใน ระดับสูงขึ้นมา อนุโลมเท่ากับเสียง "ซอล" ใช้ปี่ในเป็นหลัก - ทางกลาง ระดับเสียงสูงขึ้นมาอีก อนุโลมเท่ากับเสียง "ลา" ใช้ปี่กลาง เป็นหลัก - ทางเพียงออบนหรือทางนอกต่ำ ระดับเสียงสูงกว่าทางกลาง อนุโลมเท่ากับเสียง "ซี" ใช้ ปี่นอกต่ำ หรือขลุ่ยเพียงออเป็นหลัก - ทางกรวด หรือทางนอก ระดับเสียงสูง อนุโลมเท่ากับเสียง "โด" ใช้ปี่นอกหรือ ขลุ่ยกรวดเป็นหลัก - ทางกลางแหบ ระดับเสียงอนุโลมเท่ากับเสียง "เร" - ทางชวา ระดับเสียงเท่ากับเสียง "มี" ใช้ปี่ชวาเป็นหลัก


เท่า บางทีก็เรียกว่า "ลูกเท่า" เป็นทำนองเพลงพิเศษตอนหนึ่ง ซึ่งไม่มีความหมายในตัวอย่าง ใด หากแต่มีความประสงค์อยู่อย่างเดียวเพียงให้ทำนองนั้นยืนอยู่ ณ เสียงใดเสียงหนึ่งแต่ เพียงเสียงเดียว เท่า หรือ ลูกเท่า นี้จะต้องอยู่ในกำหนดบังคับของจังหวะหน้าทับ โดยมี ความยาวเพียงครึ่งจังหวะหน้าทับเท่านั้น (นอกจากในเพลงเรื่องบางเพลง เท่าอาจยาว เป็นพิเศษถึงเต็มจังหวะก็ได้) และโดยปรกติมีแทรกอยู่ในเพลงประเภทหน้าทับปรบไก่ ประโยชน์ของ "เท่า" นี้ มีไว้เพื่อใช้แทรกในระหว่างประโยควรรคตอนของ ทำนองเพลง เพื่อเชื่อมให้ประโยคหรือวรรคตอนของเพลงติดต่อกันสนิทสนมหรือเพิ่ม ให้ครบถ้วนจังหวะหน้าทับ เทียบได้กับคำสันธานที่ใช้ในทางอักษรศาสตร์

 

  รัว คำนี้มีความหมาย ๒ ประการ คือ

๑. หมายถึงชื่อเพลงไทยเพลงหนึ่ง ซึ่งทำนองเพลงบางตอนยืนอยู่เสียงเดียวนาน ๆ แต่ ซอยลงเป็นหลาย ๆ พยางค์ และเร่งให้ค่อย ๆ ถี่ขึ้นไปโดยไม่จำกัด เพราะในตอนที่ ยืนเสียงอยู่ ณ เสียงใดเสียงหนึ่งนี้ไม่มีจังหวะควบคุม เพลงรัวมีทั้งลาเดียวและ ๓ ลา มักใช้เป็นหน้าพาทย์ประกอบการแสดงอภินิหารต่างๆ กับใช้เป็นเพลงต่อท้ายเพลงเสมอ เพลงตระ และเพลงบรรเลง ในการไหว้ครูเกือบทุกเพลง

๒. หมายถึงวิธีบรรเลงที่ทำเสียงหลาย ๆ พยางค์ให้สั้นและถี่ที่สุด ถ้าเป็นเครื่องดนตรี    ประเภทตี (เช่น ระนาด) ก็ใช้ตีสลับกัน ๒ มือ เครื่องดนตรีประเภทสี (เช่น ซอ) ก็ใช้ คันชักสีสั้น ๆ เร็ว ๆ เครื่องดนตรีประเภทดีด (เช่น จะเข้) ก็ใช้ไม้ดีด ดีดเข้าออกสลับกัน เร็ว ๆ และเครื่องดนตรีประเภทเป่า (เช่น ขลุ่ย) ก็รัวด้วยนิ้วปิดเปิดให้ถี่และเร็วที่สุด รัวในประการที่ ๒ นี้ ถ้าเป็นวิธีบรรเลงของระนาดเอก ยังแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือ รัวเสียงเดียวอย่างหนึ่ง กับ รัวเป็นทำนองอีกอย่างหนึ่ง

Home

สร้างโดย: 
น.ส. อนันตพร โอตตัปปะวงศ์ เเละ อ.เพ็ญศรี รอดจากภัย โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 431 คน กำลังออนไลน์