มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ

                                                           มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ

                                   

                       แหล่งที่มา : http://blog.spu.ac.th/home/blog_data/669/669/images/BUSIN010.jpg

งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิด
หากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใส
เมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไป
ได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน

งานไม่มีโทษ หมายถึง งานที่ไม่มีตำหนิ ดีพร้อม ยุติธรรม ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่เบียดเบียนใคร แต่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่น

วิธีพิจารณางานว่ามีโทษหรือไม่
ในการพิจารณางานที่ทำ ว่าเป็นงานมีโทษหรือไม่ ต้องไม่ถือเอาคำติชมของคนพาลมาเป็นอารมณ์ เพราะคนพาลนั้น เป็นคนมีอาการวิบัติทางใจ ความคิดความเห็น ผิดเพี้ยนไปหมด สิ่งใดที่ถูกก็เห็นเป็นผิด ที่ผิดกลับเห็นเป็นถูก หรือที่ดีคนพาลก็เห็นเป็นเรื่องชั่ว แต่เรื่องที่ชั่วกลับเห็นเป็นเรื่องที่ดีถือเป็นบรรทัดฐานไม่ได้
ส่วนบัณฑิตนั้น เป็นคนมีความคิดเห็นถูกต้อง รู้จำผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ ทั้งเป็นคนมีศีลมีสัตย์ คนประเภทนี้ ใจกับปากตรงกัน เราจึงควรรับฟ้งคำติชมของบัณฑิตด้วยความเคารพ หลักที่บัณฑิตใช้คำติชมใช้พิจารณาว่างานมีโทษหรือไม่นั้น มีอยู่ 4 ประการด้วยกัน แบ่งเป็นหลักทางโลก 2 ประการ และหลักทางธรรม 2 ประการ

องค์ประกอบของงานไม่มีโทษ
งานไม่มีโทษจะต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการดังนี้
1. ไม่ผิดกฎหมาย
2. ไม่ผิดประเพณี
3. ไม่ผิดศีล
4. ไม่ผิดธรรม

 1. ไม่ผิดกฎหมาย กฎหมายเป็นระเบียบข้อบังคับซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติตาม การทำผิดกฎหมายทุกอย่างจัดเป็นงานมีโทษทั้งสิ้น แม้บางอย่างจะไม่ผิดศีลธรรมข้อใดเลย เช่น การปลูกบ้านในเขตเทศบาล ต้องขออนุญาตตามเทศบัญญัติ ถ้าไม่ขอผิด การทำอย่างนี้ทางธรรมไม่ถือว่าผิด เพราะปลูกในที่ของเราเอง และด้วยเงินทองของเรา แต่การกระทำดังกล่าวก็เป็นงานมีโทษ คือ มีตำหนิ และโปรดทราบด้วยว่า เมื่อใครทำงานมีโทษก็ย่อมผิดหลักธรรมอยู่นั้นเองอย่างน้อยก็ผิดมงคล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงสั่งสอนเป็นหนักหนา ทั้งพระ ทั้งชาวบ้าน ได้เคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง โดยเคร่งครัด ไม่เคยปรากฏในที่ใดเลยว่าพระศาสดาของเรา สอนพุทธศาสนิก ให้แข็งข้อต่อกฎหมาย แม้จะเอาการประพฤติธรรม หรือความเป็นพระ เป็นสงฆ์ เป็นข้ออ้างแล้วทำการดื้อแพ่ง ก็หาชอบด้วยพุทธประสงค์ไม่ ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาต้องการให้ศาสนิกเป็นคนรักสงบและให้เคารพพระราชกำหนดกฎหมาย ชาวพุทธต้องไม่ทำตัว “ดื้อแพ่ง”ต่อกฎหมายบ้านเมืองไม่ว่าในกรณีใดๆ
ถ้าเราพิจารณาในแง่มงคลแล้ว จะเห็นได้ชัดว่า การทำผิดกฎหมายนั้นเป็นอัปมงคลแน่ เพราะเป็นการสร้างความผิดคล้องคอตัวเอง
2. ไม่ผิดประเพณี ประเพณีหมายถึง จารีต ขนบธรรมเนียมของมหาชนในถิ่นหนึ่งๆ หรือสังคมหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อคนทั้งหลายเขาถือกันเป็นส่วนมากและนิยมว่าดี ก็กลายเป็นกฎของสังคม ใครทำผิดประเพณีถือว่าผิดต่อมหาชน เช่น ประเพณีแต่งงาน ประเพณีต้อนรับแขก ประเพณีรับประทานอาหาร ประเพณีทำความเคารพผู้ใหญ่ ฯลฯ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ จึงต้องศึกษาให้ดี
เราชาวพุทธเมื่อจะเข้าไปสู่ชุมชนใด ก็ต้องถามไถ่ดูก่อนว่า เขามีประเพณีอย่างไรบ้าง อะไรที่พอจะโอนอ่อนผ่อนตามได้ ก็ทำตามเขา แต่ถ้าเห็นว่า ทำไปแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวเรา เสียหายแก่ภูมิธรรม และศักดิ์ศรีของขาวพุทธ ก็ควรงดเสียอย่าเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น ประเพณีไม่ให้เกียรติแก่ผู้สูงอายุ ดูถูกผู้หญิง ของคนบางเหล่า ประเพณีถือฤกษ์ยาม จนแทบไม่มีโอกาสทำมาหากิน ประเพณีห้ามถ่ายอุจจาระปัสสาวะซ้ำที่ของชาวอินเดียบางกลุ่ม จนกระทั่งไม่สามารถทำส้วมใช้
3. ไม่ผิดศีล ศีลเป็นพื้นฐานของการทำความดีทุกอย่าง แม้ในไตรสิกขาซึ่งถือเป็นหัวใจของพุทธศาสนาก็บ่งไว้ว่า
ศีล เป็นพื้นฐานของสมาธิ
สมาธิ เป็นพื้นฐานของปัญญา
ปัญญา เป็นเครื่องบรรลุนิพพาน
ดังนั้นผู้ที่คิดจะสร้างความดีโดยไม่นำพาในการรักษาศีลเลย จึงเป็นการคิดสร้างวิมานในอวกาศ
เราชาวพุทธทั้งหลายควรพิจารณาทุกครั้งก่อนทำงาน งานที่เราจะทำนั้นขัดต่อศีล 5 หรือไม่ ถ้าผิดศีลก็ไม่ควร ให้งดเว้นจากการเหยียบย่ำทำลายศีล5และงดเว้นจากการสนับสนุน ผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้วิเศษ แต่ไม่มีศีล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“เธอพึงพิจารณาเนื่องๆว่า ตัวเราเองตำหนิตัวเราเองโดยศีล ได้หรือไม่ เธอพึงพิจารณาเนื่องๆ ว่าท่านผู้รู้ใคร่ครวญแล้วตำหนิเราโดยศีลได้หรือไม่ "
4. ไม่ผิดธรรม ธรรมคือความถูก ความดี ในการปฏิบัติงานทุกครั้งต้องคำนึงถึงข้อธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ให้ถี่ถ้วน เพราะ
งานบางอย่างแม้จะไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดประเพณี และไม่ผิดศีล แต่อาจผิดหลักธรรมได้ ดังเช่น
การผูกโกรธ คิดพยาบาท ผิดหลักกุศลกรรมบถ
การเกียจคร้าน  ผิดหลักอิทธิบาท
การเป็นนักเลงการพนัน เจ้าชู้ ผิดหลักอบายมุข
ดังนั้นเมื่อเราทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานทางกาย ทางวาจา หรือทางใจก็ตาม เราต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประเพณี ศีล และ ธรรม จึงจะได้ชื่อว่า เป็นคนทำงานไม่มีโทษ
คนบางคนมีปัญหาว่า ใจก็ต้องการทำงนไม่มีโทษ แต่ทำงานครั้งใดกว่าจะรู้ว่างานที่ตัวทำเป็นงานมีโทษ ก็สายไปเสียแล้ว ทำไปแล้วจึงมีปัญหาว่าทำอย่างไรเราจึงจะเป็นคนที่รู้ก่อนทำ


ประเภทของงานไม่มีโทษ
งานที่เราทำนั้นแบ่งได้เป็น 2 ประการ คือ
1. งานที่ทำเพื่อประโยชน์ตนเอง
2. งานที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

ผู้ที่ทำงานไม่มีโทษก็หมายถึง ผู้ที่ทำงานทั้ง 2 ประการนี้ อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ตามกฎเกณฑ์ทั้ง 4 ประการ ดังได้กล่าวมาแล้ว

งานที่ทำเพื่อประโยชน์ตนเอง
คือการทำมาหาเลี้ยงชีพต่างๆ เช่น ทำนา ทำสวน ค้าขาย เป็นครู เป็นช่างไม้ ช่างกล ฯลฯ ซึ่งในเรื่องการประกอบอาชีพนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสว่า อาชีพต้องห้ามต่อไปนี้ พุทธศาสนิกชนไม่ควรทำ ได้แก่
1. การค้าอาวุธ
2. การค้ามนุษย์
3. การค้ายาพิษ
4. การค้ายาเสพย์ติด
5. การค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า
ใครก็ตามที่ประกอบอาชีพ 5 ประการนี้ ได้ชื่อว่าทำงานมีโทษ และก่อให้เกิดโทษแก่ตนเองมากมายสุดประมาณ แม้จะร่ำรวยเร็วก็ไม่คุ้มกับบาปกรรที่ก่อไว้

งานที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
คือการทำงานสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือคนข้าเคียง และช่วยเหลืองานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น สร้างสะพาน ทำถนน สร้างศาลาที่พักอาศัยข้างทาง ฯลฯ

                                                

ตัวอย่างการทำงานไม่มีโทษ
1. การรักษาอุโบสถศีล
2. การทำงานช่วยเหลือกันในทางที่ชอบ
3. การสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรม เช่น วัด
4. การปลูกต้นไม้เพื่อบูชาพระรัตนตรัย แลให้คนได้พึ่งพาอาศัย
5. การสร้างสะพาน เพื่อให้คนสัญจรไปมาได้สะดวก
6. การสร้างประปา สร้างแหล่งน้ำ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้น้ำสะดวก
7. การตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้ เพื่อให้คนได้ใช้สะดวกสบาย
8. การให้ที่อยู่อาศัยแก่บุคคล
9. การตั้งอยู่ในบุญกุศล หรือตั้งอยู่ในบุญกิริยาวัตถุ 10
10. การถึงพร้อมด้วนศีลและการเจริญสมาธิภาวนา

อานิสงส์การทำงานไม่มีโทษ
คนทำงานมีโทษนั้น ได้กับเสียเป็นเงาตามตัวยิ่งได้งานมากก็ทุกข์ใจมาก เข้าทำนอง “อิ่มท้องแต่พร่องทางใจ” ยิ่งรวยได้ทรัพย์มากเท่าไรโอกาสที่จะเสียคนก็มากเท่านั้น ยิ่งทำก็ยิ่งทุกข์ คุณความดีในตัวลดลงทุกที ส่วนคนที่ทำงานไม่มีโทษนั้นจะก้าวหน้าไปสู่ความสุขแท้และความเจริญแท้ถึงแม้จะไมรวยทรัพย์แต่ก็รวยความดี คนทำงานไม่มีโทษนั้นจะหลับก็เป็นสุข จะตื่นก็เป็นสุข ไม่อายใคร ไม่ต้องหวาดระแวงใคร เพราะงานที่ทำเป็นประโยชน์แก่โลกล้วนๆไม่มีโทษเข้าไปเจือปนเลย ชื่อว่า ได้ทดแทนบุญคุณของโลกที่อาศัยเกิดมา เมื่อทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะได้สันติสุขเป็นเรื่องตอบแทนไปชั่วกาลนาน

“ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติมีการงานสะอาดใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ สำรวมแล้ว เป็นอยู่โดยธรรมไม่ประมาท”   ขุ.ธ.25/12/18

 

                                                              

                                                              สารบัญ คลิกที่นี่      

 

สร้างโดย: 
นางปาลิดา สวนชังและนางสาวนันทิชา เรืองวินิตวงศ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 438 คน กำลังออนไลน์