กฎแห่งเอกภพ

Homeแบบทดสอบก่อนเรียนแหล่งก่อเกิดพลังงานระบบสุริยะนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมนุษย์ในอวกาศแบบทดสอบหลังเรียน

 

กฎแห่งเอกภพ 
ดาวหาง 
ดาวฤกษ์ 
กาแล็กซี 
ทางช้างเผือก 
อุปราคา 

กฎแห่งเอกภพ (THE LAWS OF THE UNIVERSE) 

         ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองและโคจรรอบโลกที่หมุนรอบตัวเองและโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์อีกต่อหนึ่ง ปรากฎการณ์นี้อธิบายได้ด้วยกฎแห่งความโน้มถ่วง (The law of gravity)  สำหรับข้อเท็จจริงที่ว่าดาวฤกษ์ที่มีอยู่ในกาแล็กซี่ต่างก็อยู่ในภาวะดึงดูดซึ่งกันและกัน และที่ว่าดาวหางต่างก็โคจรไปในเอกภพเหมือนวิถีกระสุนนั้นเราสามารถคำนวณได้  ส่วนเทห์ฟากฟ้าทั้งมวลต่างก็เคลื่อนที่ไปในอวกาศตามกฎแห่งกลศาสตร์ฟากฟ้า (The law of celestial mechanics)

กฎของเคปเลอร์ (KEPLER'S LAWS)  
          คนโบราณเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของเอกภพ ดังนั้นเทห์ฟากฟ้าทั้งหมดก็ต้องหมุนรอบตัวเองไปรอบโลก  โคเปอร์นิคัส เป็นผู้เลิกล้มความเชื่อทางดาราศาสตร์นี้ลงไปได้อย่างสิ้นเชิงในคริสต์ศตวรรษที่ 16  ด้วยการประกาศว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเอกภพโดยมีดาวนพเคราะห์ทุกดวงซึ่งรวมทั้งโลกด้วยนั้นต่างโคจรรอบดวงอาทิตย์อีกต่อหนึ่ง  แต่เขาก็ไม่อาจจะอธิบายได้ว่า  เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17  เคปเลอร์  ก็เป็นผู้อธิบายได้ว่าการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ดังกล่าวนั้นเป็นอย่างไร  และหลังจากที่ได้สังเกตการณ์และคำนวณแล้วหลายครั้งเขาก็ประกาศว่าดาวเคราะห์ทุกดวงหมุนรอบตัวเองและมีวงโคจรเป็นวงรีอย่างรูปไข่ (elliptical orbit)  รอบดวงอาทิตย์  โดยเขาได้ตั้งกฎขึ้นมา  3  ข้อ สำหรับอธิบายลักษณะของการโคจรดังกล่าว
          กฎข้อที่ 1  ดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรไปตามวงโคจรที่เป็นวงรีอย่างรูปไข่  โดยมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางร่วมของวงโคจร
          กฎข้อที่ 2  ยิ่งเคลื่อนที่ตามวงโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ดวงเคราะห์ดวงนั้น ๆ ก็จะยิ่งมีความเร็วเพิ่มขึ้น
          กฎข้อที่ 3  ดาวเคราะห์ใดอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่า ดาวเคราะห์ดวงนั้นก็จะยิ่งหมุนรอบตัวเองเร็วขึ้น

กฎแห่งความถ่วง (THE LAW OF GRAVITY)
          ในคริสต์ศตวรรษที่  17  นิวตัน ได้อธิบายว่าเหตุใดดาวเคราะห์จึงหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ตามวงโคจรที่เป็นวงรีอย่างรูปไข่  และนิวตัวอีกเช่นกันที่ได้กล่าวว่าที่ผลแอปเปิ้ลตกลงสู่พื้นดินก็เพราะอำนาจของความถ่วง (gravity)  ภายในโลกที่ดึงดูดสิ่งของทุกสิ่ง  นอกจากนั้นเขายังได้ยืนยันว่าปรากฎการณ์นี้ใช่จะมีผลต่อทุกสิ่งบนโลกนี้เท่านั้นแต่ยังมีผลต่อเทห์ฟากฟ้าต่าง ๆ ด้วย  ผลก็คือดวงอาทิตย์ดึงดูดโลกและโลกก็ดึงดูดดวงอาทิตย์ (แต่ด้วยแรงที่น้อยกว่า)  และการที่โลกไม่ถูกดึงดูดจมหายเข้าไปในดวงอาทิตย์ก็เพราะว่ามีแรงอีกแรงหนึ่ง (ที่เกิดขึ้น้เนื่องจากการเคลื่อนที่ของตัวเอง)  คอยต้านไว้ จุดที่แรงทั้งสองมีขนาดเท่ากันซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดเป็นวิถีโคจร (trajectory)  ของโลก (วงโคจรของโลก -the Erath's orbit) รอบดวงอาทิตย์ สำหรับการเกิดวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ก็อยู่ในลักษณะเช่นเดียวกัน   
            สูตรสำหรับ  กฎแห่งความโน้มถ่วงทั่วไป (The Universal Law of Gravity) คือ

                         เมื่อ   F    คือ  แรง (force) ระหว่างเทห์สองสิ่ง
                                 m และ     คือมวลของเทห์สองสิ่งนั้น
                                  r   คือ ระยะทางระหว่างเทห์สอสองสิ่งนั้น
                                 G   คือ ค่าคงที่ (ค่าคงที่ของความโน้มถ่วง :  Gravity)

  • กาแล็กซี่  เนบิวลา และระบบดาวเคราะห์ทั้งหลายต่างดำรงอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพ  เป็นเพราะแรงความโน้มถ่วง (Gravitation Force)
  • ตามกฎแห่งความโน้มถ่วงทั่วไป (The Universal Law of Gravitation)  เทห์สองสิ่งดึงดูดซึ่งกันและกันในลักษณะที่เป็นสัดส่วนโดยตรงกับมวลและเป็นสัดส่วนผกผันกับระยะทางระหว่างเทห์สองสิ่งนั้นยกกำลังสอง


จัดทำโดย ครูอรพิน  สีแก้ว
โรงเรียนเชียงม่วนวิทยาคม   พะเยา
Copyright(c)2006 Ms.Oraphin Seekaew. All right reserved.
Email  :   miyugi99@hotmail.com

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.