ไทรทอง

 

Home 
ไม้ยืนต้น 
ไม้พุ่ม 
ไม้เลื้อย 
ไม้ล้มลุก 
ปาล์ม 
เฟิร์น 
หญ้า 
ไม้น้ำ 
กล้วยไม้ 
คณะผู้จัดทำ 
ขอขอบคุณ 

 

ชมพูพันธุ์ทิพย์จันทน์ผาชวนชมเฟื่องฟ้าอินทนิลน้ำจำปีแก้วเจ้าจอมโกสนข่อยมะยมโมกนนทรีปีปพิกุลประดู่พุดสามสีพุดไทรย้อยใบแหลมไทรทองพญาสัตบรรณตะแบกตะโกวาสนาสนแผง



 

ชื่อพฤกษศาสตร์        Ficus altissima Blume

วงศ์                          MORACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไทรทองเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่  สูง  2.5-3 เมตร  มีพูพอน  เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาแตกกิ่งกระจายรอบต้น  พุ่มทรงกลม ค่อนข้างหนาทึบ  มีน้ำยางสีขาว  รากอากาศเหนียว  ใบ เดี่ยว  รูปไข่ กว้าง 10  ซม. ยาว 18 ซม. สีเขียวเข้ม  มีหูใบหุ้มยอด ใบอ่อนสีเขียวสดเป็นมัน  หูใบหุ้มยอดอ่อนไว้  ดอกช่อ  ไม่มีก้านดอก  โคนช่อดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 3 ใบรองรับช่อดอก ผล สุกแล้วอ่อนนุ่ม สีเหลือง แต่ละผลมีเนื้อบางๆ และมีเมล็ด 1 เมล็ด

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นไทรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็น เพราะคนโบราณได้กล่าวว่า ร่มโพธิ์ ร่มไทร ช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงเพราะบางคนเชื่อว่าต้นไทรเป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยคุ้มครองพิทักษ์ปวงชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นไทรไว้ทางทิศตะวัตตกผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคารเพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

การขยายพันธุ์           การปักชำ การตอน การใช้เมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือ การตอนและการปักชำ

การปลูก

การปลูกมี 2 วิธี

1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อประดับบริเวณสวนเพราะเป็นไม้ที่มีการแตก   กิ่งก้าน สาขาที่กว้างใหญ่ ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ : ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง1-2 ปี/ครั้งหรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มทั้งนี้ก็เพราะ   การเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้นและเพื่อต้องการเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป การปลูกทั้ง 2 วิธีดังกล่าวสามารถตัดแต่งและบังคับรูปทรงของทรงพุ่มได้ตามความต้องการผู้ปลูกนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ด้วยว่าพันธุ์ด้วยว่าพันธุ์ใดจะเหมาะสมกับวิธีการปลูกแบบใด ตามวัตถุประสงค์ผู้ปลูก

การดูแลรักษา

แสง                ต้องการแสงแดดอ่อน จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ                   ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง จนถึงมาก ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง
ดิน                  ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ความชื้นปานกลาง
ปุ๋ย                  ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5: 2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
โรค                 ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะมีความทนทานต่อโรคได้ดี
ศัตรู                เพลี้ยแป้ง (Mealy bugs)
าการ             กัดแทะใบ ทำให้ใบเป็นรู เป็นรอย ต่อมาใบจะเหลืองและแห้ง
การป้องกัน      การรักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก การกำจัดพาหนะแพร่ระบาด พวกมดต่างๆ
การกำจัด        ใช้ยาไดอาซินอน อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

 

 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2550

 จัดทำโดย
นางสาว อรทัย ภู่พิพัฒน์, นางสาว พอแก้ว รักษ์เธียรมงคล, นางสาว ศานิตา อัศวศรีวรกุล,
นางสาว คุณภัทร สิทธิเชนทร์, นางสาว ดวงทิพย์ ลาวัณษ์เสถียร และ นางสาว อริศรา ชินพรทวีสุข
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
Copyright(c) 2007 Miss Oratai Pupipat, Miss Porkaew Ruktienmongkol, Miss Sanita Asavasriworakul,
Miss Kunnapat Sitthishane, Miss Duangtip Lawanstiend and Miss Arisara Chinnaporntaweesuk. All rights reserved.