ไทรย้อยใบแหลม

 

Home 
ไม้ยืนต้น 
ไม้พุ่ม 
ไม้เลื้อย 
ไม้ล้มลุก 
ปาล์ม 
เฟิร์น 
หญ้า 
ไม้น้ำ 
กล้วยไม้ 
คณะผู้จัดทำ 
ขอขอบคุณ 

 

ชมพูพันธุ์ทิพย์จันทน์ผาชวนชมเฟื่องฟ้าอินทนิลน้ำจำปีแก้วเจ้าจอมโกสนข่อยมะยมโมกนนทรีปีปพิกุลประดู่พุดสามสีพุดไทรย้อยใบแหลมไทรทองพญาสัตบรรณตะแบกตะโกวาสนาสนแผง


 
 

ชื่อพันธุ์ไม้                    ไทรย้อยใบแหลม

ชื่อสามัญ                     Golden Fig, Weeping Fig

ชื่อวิทยาศาสตร์            Ficus benjamina Linn.

วงศ์                             MORACEAE

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นสูง 5 – 10 เมตร มีรากอากาศ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ดอกขนาดเล็ก มีฐานรองดอก ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ผลเป็นทรงกลม เมื่อสุกสีเหลือง

การปลูก  มี 2 วิธี

         1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อประดับบริเวณสวนเพราะเป็นไม้ที่มีการแตกกิ่งก้าน สาขาที่กว้างใหญ่ ขนาดหลุมปลูก
30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

         2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง1-2 ปี/ครั้งหรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มทั้งนี้ก็เพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้นและเพื่อต้องการเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไปการปลูกทั้ง 2 วิธี วิธีดังกล่าวสามารถตัดแต่งและบังคับรูปทรงของทรงพุ่มได้ตามความต้องการผู้ปลูกนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ด้วยว่าพันธุ์ใดจะเหมาะสมกับวิธีการปลูกแบบใด ตามวัตถุประสงค์ผู้ปลูก

การขยายพันธุ์    การปักชำ การตอน การใช้เมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือ การตอนและการปักช

การดูแลรักษา

แสง                   ต้องการแสงแดดอ่อน จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ                     ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง จนถึงมาก ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง
ดิน                    ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ความชื้นปานกลาง
ปุ๋ย                    ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5: 2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
โรค                   ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะมีความทนทานต่อโรคได้ดี
ศัตร                  เพลี้ยแป้ง (Mealy bugs)
อาการ                กัดแทะใบ ทำให้ใบเป็นรู เป็นรอย ต่อมาใบจะเหลืองและแห้ง
การป้องกัน         การรักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก การกำจัดพาหนะแพร่ระบาด พวกมดต่าง
การกำจัด           ใช้ยาไดอาซินอน อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

 

 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2550

 จัดทำโดย
นางสาว อรทัย ภู่พิพัฒน์, นางสาว พอแก้ว รักษ์เธียรมงคล, นางสาว ศานิตา อัศวศรีวรกุล,
นางสาว คุณภัทร สิทธิเชนทร์, นางสาว ดวงทิพย์ ลาวัณษ์เสถียร และ นางสาว อริศรา ชินพรทวีสุข
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
Copyright(c) 2007 Miss Oratai Pupipat, Miss Porkaew Ruktienmongkol, Miss Sanita Asavasriworakul,
Miss Kunnapat Sitthishane, Miss Duangtip Lawanstiend and Miss Arisara Chinnaporntaweesuk. All rights reserved.