เฟื่องฟ้า

 

Home 
ไม้ยืนต้น 
ไม้พุ่ม 
ไม้เลื้อย 
ไม้ล้มลุก 
ปาล์ม 
เฟิร์น 
หญ้า 
ไม้น้ำ 
กล้วยไม้ 
คณะผู้จัดทำ 
ขอขอบคุณ 

 

ชมพูพันธุ์ทิพย์จันทน์ผาชวนชมเฟื่องฟ้าอินทนิลน้ำจำปีแก้วเจ้าจอมโกสนข่อยมะยมโมกนนทรีปีปพิกุลประดู่พุดสามสีพุดไทรย้อยใบแหลมไทรทองพญาสัตบรรณตะแบกตะโกวาสนาสนแผง



 

ชื่อสามัญ                  Paper flower

ชื่อวิทยาศาสตร์        Bougainvillea spp.

ตระกูล                     NYCTAGINACEAE

ประเภท                  ไม้เถาเลื้อย

ถิ่นกำเนิด                 บราซิล

ลักษณะทั่วไป                      

เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ผิวลำต้นสีเทาหรือสีน้ำตาลลำต้นมีหนามคมแหลมยาวประมาณ 0.51 เซนติเมตรติดอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่ง และ บังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถาลักษณะรูปไข่ปลายใบแหลมโคนใบมนขอบใบเรียบพื้นใบ ใบมีสีเขียว ขนาดใบกว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอกหรือใบประดับ 3 กลีบ ส่วนดอกจะมีดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสันแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์

พันธุ์เฟื่องฟ้าที่ปลูกเป็นไม้มงคล

1. พันธุ์ดอกสีแดง      ได้แก่  แดงจินดา แดงรัตนา แดงบานเย็น ตรุษจีนด่าง สาวิตรี กฤษณา
2.
พันธุ์ดอกสีขาว       ได้แก่  ทัศมาลีดอกขาว ขาวน้ำผึ้ง สุมาลี สุวรรณี
3.
พันธุ์ดอกสีชมพู     ได้แก่  ชมพูจินดา ชมพูทิพย์ ชมพูนุช
4.
พันธุ์ดอกสีม่วง      ได้แก่  ม่วงประเสริฐศรี พรสุมาลี ม่วงกฤษณา ทัศมาลี
5.
พันธุ์ดอกสีส้ม        ได้แก่  สุมาลีสีทอง
6.
พันธุ์ดอกสีเหลือง   ได้แก่  เหลืองอรทัย

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้ประจำบ้าน สามารถสร้างคุณค่าของชีวิตให้สูงขึ้น เพราะเฟื่องฟ้าเป้นพรรณไม้ ที่ได้รับสมญาว่าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับเนื่องจากสามารถนำเฟื่องฟ้าไปใช้ประโยชน์ในด้านสุนทรียภาพเพื่อประดับสวนอาคาร  บ้านเรือนและสถานที่สำคัญต่างๆนอกจากนี้คนไทยโบราณยังมีความเชื่ออีกว่าเฟื่องฟ้าเป็นไม้มงคลทำสำคัญของเทศกาลตรุษจีน เพราะต้นเฟื่องฟ้าสามารถออกดอกสะพรั่งในช่วงเทศกาลตรุษจีนจึงทำให้บางคนเรียกต้นเฟื่องว่าว่าต้นตรุษจีนดังนั้นบางคนเชื่อว่า เมื่อช่วงดอกเฟื่องฟ้าบานแสดงถึง ความเบิกบาน สว่างไสว ความรุ่งเรือง ที่ก้าวไกลแห่งชีวิต

การขยายพันธุ์          

ขยายพันธุ์ โดยวิธีการปักชำ ตอน การเสียบยอด

สภาพที่เหมาะสม

น้ำ                           ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน/ครั้ง
ดิน                           ดินร่วนซุย ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ
ปุ๋ย
                          ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้งหรือใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 200-300 กรัม/ต้น
                               ใส่ปีละ
4-6 ครั้ง
โรคและแมลง           ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องโรค ส่วนแมลงนั้นจะมีเพลี้ยรบกวนบ้างในบางครั้ง แต่ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะเพราะจะทำให้รากเน่า การป้องกันกำจัด
                               ใช้ยาฉีดพ่นโดยใช้ ไดอาชินอน ตามที่ระบุไว้ในฉลากยา

 

 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2550

 จัดทำโดย
นางสาว อรทัย ภู่พิพัฒน์, นางสาว พอแก้ว รักษ์เธียรมงคล, นางสาว ศานิตา อัศวศรีวรกุล,
นางสาว คุณภัทร สิทธิเชนทร์, นางสาว ดวงทิพย์ ลาวัณษ์เสถียร และ นางสาว อริศรา ชินพรทวีสุข
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
Copyright(c) 2007 Miss Oratai Pupipat, Miss Porkaew Ruktienmongkol, Miss Sanita Asavasriworakul,
Miss Kunnapat Sitthishane, Miss Duangtip Lawanstiend and Miss Arisara Chinnaporntaweesuk. All rights reserved.