ฉลู

   

ชวด 
ชวด2 
ชวด3 
ชวด4 
ชวด5 
ฉลู 
ฉลู2 
ฉลู3 
ฉลู4 
ขาล 
ขาล2 
ขาล3 
ขาล4 
ขาล5 
เถาะ 
เถาะ2 
เถาะ3 
เถาะ4 
เถาะ5 
มะโรง 
มะโรง2 
มะโรง3 
มะโรง4 
มะเส็ง 
มะเส็ง2 
มะเส็ง3 
มะเส็ง4 
มะเมีย 
มะเมีย2 
มะเมีย3 
มะเมีย4 
มะเมีย5 
มะแม 
มะแม2 
มะแม3 
วอก 
วอก2 
วอก3 
วอก4 
ระกา 
ระกา2 
ระกา3 
ระกา4 
ระกา5 
จอ 
จอ2 
จอ3 
กุน 
กุน2 

 

 

 

                ปีฉลูภาษาเขมรเขียน ฉลูว อ่านว่า โฉลว ทางภาคเหนือของไทยเรียกว่า ปีเป้า หรือ เปิ้งงัว (งัวก็คือวัว) ในกลุ่มประเทศที่ใช้สิบสองนักษัตร จะใช้รูปวัวเป็นสัญลักษณ์แทนปีฉลูเหมือนกันหมดมีแปลกออกไปเฉพาะญวนที่ใช้ควายแทนวัว     

                 คำว่า “วัว” เป็นภาษาไทยโบราณ มีหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า “เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย” แต่คนเก่าๆนิยมเรียกวัวว่า “งัว” ภายหลังจึงได้นำคำว่า “โค” ในภาษามคธมาใช้เพิ่มขึ้นอีกคำหนึ่ง ตามหลักฐานที่กล่าวมานี้แสดงว่าในสมัยสุโขทัยมีการซื้อขายวัวกันเป็นธรรมดา และมีการจารึกบนฐานพระอิศวร เมืองกำแพงเพชร ตอนหนึ่งว่า “อนึ่ง แต่ก่อนยอมขายวัวไปแก่ละว้า อันจะขายให้ดุจก่อนนั้น ก็ห้ามมิให้ขาย” เป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมจึงไม่ให้ขายแก่ละว้าซึ่งน่าจะเป็นลูกค้าสำคัญ แต่มีข้อความอีกตอนหนึ่งว่า “เจ้าพระญาศรีธรรมาโศกราชประดิษฐานพระอิศวรเป็นเจ้านี้ไว้ให้ครองสัตว์สี่ตีนในเมืองกำแพงเพชร” ทำให้คิดว่าพวกละว้าอาจจะซื้อไปฆ่าก็เป็นได้ และพระอิศวรคงไม่โปรดจึงห้าม

                 ในหนังสือนารายณ์สิบปาง ฉบับคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์กล่าวว่าเดิมทีวัวเป็นสัตว์สวรรค์ พระอุมาใช้เทียมรถ คราวหนึ่งพระอิศวรชวนพระอุมาลงเที่ยวเมืองมนุษย์ โดยทรงพาหนะต่างๆกัน พระอิศวรทรงพระคาวีอุศุภราช พระอุมาทรงรถเทียมด้วยโคสองตัว ชื่อ กะวิน และ นิลเมฆา พระขันธกุมารเป็นสารถีใช้เชือกผูกเขาโคคอยบังคับ พระนารายณ์ทรงครุฑนำเสด็จไปข้างหน้า ถัดมาก็เป็นพระมาตุลีขี่เสือ และพระไพสพ ทรงมหิงส์ คือ ควาย

 

                              นามปีที่ ๒ นิลู (วัว) มนุษย์ผู้ชาย

 

 

จัดทำโดย
นางสาวทิพย์สุดา อมรวิทยาชาญ
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
Copyright(c) 2006 Ms.Tipsuda Amonwittayachan. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com