ประวัติขนมไทย

ประวัติขนมไทย

ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไป ประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลและงานพิธีการ อาหารหวานที่จัด เป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย ของหวานอย่างน้อย 5 สิ่ง ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด ตลอดจนลักษณะที่ กลมกลืนกัน แต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ 10 ที่ และขนมเป็นน้ำ 1 ที่เสมอ

ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้ เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตก ต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ

ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่าง ๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนม จากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น ๆ งานศิริมงคลต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมี ฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกัน ยืดยาวมีอายุยืน ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น ขนมที่ใช้ในงานมงคลสมรส

ถ้าเป็นงานมงคลสมรสมักจะทำขนมหวานให้ครบ 9 สิ่งขนมที่ใช้ในงานมงคลสมรสตามประเพณี ทางฝ่าย เจ้าสาวจะต้องเป็นผู้จัด และขนมที่นิยมจัด คือ 1. ฝอยทองหรือทองหยิบ 2. ขนมชั้น 3. ขนมถ้วยฟู 4. ขนมทองเอก 5. ขนมหม้อแกง 6. พุทราจีนเชื่อม 7. ข้าวเหนียวแก้ว หรือวุ้นหน้าสีต่าง ๆ 8. ขนมดอกลำดวน 9. ผลไม้ต่าง ๆ ลอยแก้ว แต่ตามความเชื่อบางอย่างของคนไทย ขนมที่มีลักษณะเป็นเส้น มักจะใช้สำหรับงานทำบุญอายุ เพราะเชื่อ ว่าจะช่วยให้มีอายุยืนยาว แต่กลับไม่ใช้จัดในงานศพ เพราะเชื่อว่าจะมีการตายต่อเนื่องไม่เป็นมงคล ความเชื่อ เหล่านี้ถือเป็นเหตุผลของแต่ละบุคคลมิได้เป็นข้อห้ามเสียทีเดียว

ขนมที่ใช้ในพิธีการตั้งศาลพระภูมิ ขนมที่ใช้เป็นเครื่องสังเวยพระภูมิ คือ 1. ขนมต้มแดง 2. ขนมต้มขาว 3. ขนมเล็บมือนาง (ขนมคันหลาว) 4. ขนมดอกจอก หรือขนมทองหยิบ 5. ขนมถั่วแปบ (ขนมหูช้าง) 6. ขนมข้าวเหนียวแดง 7. ขนมประเภทบวดต่าง ๆ

ขนมที่ใช้ในเทศกาลต่าง ๆ ประเพณีสงกรานต์ งานตรุษสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี คนไทยถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ของไทย ขนมที่ใช้ทำได้แก่ 1. กาละแม 2. ข้าวเหนียวแดง

วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษาตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระสงฆ์ต้องอยู่จำวัด ไม่ออกไปค้างแรม ที่อื่นเป็นระยะเวลา 3 เดือน เพราะเป็นฤดูฝน ขนมที่นิยมทำ ได้แก่ 1. ข้าวต้มผัด 2. แกงบวดต่าง ๆ ได้แก่ แกงบวดฟักทอง แกงบวดมันสำปะหลัง

วันสารทไทย วันสารทไทยตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ขนมที่ใช้ทำกัน ได้แก่ ขยาสารท การทำบุญเดือนสาม เป็นเทศกาลทำบุญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเรียกว่า งานบุญข้าวจี่ เป็นการจัดอาหารมาถวายพระ ที่อยู่ ณ สถานที่ของวัด เพื่อปลงอาบัติครั้งยิ่งใหญ่ในรอบปี ขนมที่ใช้งานบุญเดือนสาม ได้แก่ 1. ขนมเทียน 2. ข้าวต้มผัด 3. ข้าวจี่

การทำบุญเดือนสิบ การทำบุญเดือนสิบ ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เป็นเทศกาลของภาคใต้ เป็นการทำบุญแผ่ส่วนกุศล ให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว ขนมที่ใช้ในการทำทำบุญเดือนสิบ ได้แก่ 1. ขนมลา หมายถึง เสื้อผ้าแพรพัน 2. ขนมกง หมายถึง เครื่องประดับ 3. ขนมดีซัน หมายถึง เบี้ยหรือเงินใช้สอย 4. ขนมพอง หมายถึง แพรล่องข้าม 5. ขนมสะบ้า หมายถึง สะบ้า

หน้าบ้าน ผู้จัดทำ หน้า1 หน้า2 หน้า3 หน้า4 หน้า 5

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com