โรคของชา

Home ผู้จัดทำ ลักษณะ พันธุ์ของชา โรคของชา แมลงศัตรูของชา การแบ่งเกรดของใบชา

 

โรคใบพุพอง



โรคใบพุพอง

 

เกิดจากเชื้อ Exobasidium vexsans (Massee)

 

จะเห็นเป็นจุดกลมเล็กสีชมพูอ่อนหรือสีจางบนใชอ่อนของชาในฤดูฝน ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้นถึง 0.5-2.0 เซนติเมตร ตำแหน่งที่เป็นโรค จะมีรอยปูดนูน บริเวณผิวใบด้านล่างจะเป็นจุดกลม สีชมพูจางกลายเป็นสีแดงเข้ม ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวฟู และสีเทาอ่อนในที่สุด เมื่ออาการของโรคถึงขั้นนี้ก็ ไม่สามารถเก็บใบอ่อนไปใช้ประโยชน์ได้ ด้านบนของผิวใบที่เป็นโรคนี้มีรอยบุ๋มลงไป ส่วนด้านล่างของใบจะนูนออกมาและปรากฏเส้นใยของเชื้อราสีขาวฟูชัดเจน เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งแผลที่เป็นโรคจะแห้ง เปลี่ยนเป็น
สีเทาน้ำตาล เพื่อรอระบาดในฤดูถัดไป

 

เด็ดใบที่เป็นโรคและเก็บใบทีร่วงเผาทิ้ง และใช้สารเคมีที่มีสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ อัตรา 300 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วใบชา 8-10 ต้นต่อครั้งจนโรคหยุดระบาด

 

โรคใบจุดสีน้ำตาล

 

เกิดจากเชื้อ Collectotricum camelliae (Cook)

 

อากรแรกเริ่มเป็นจุดสีน้ำตาลแกมเหลืองบนผิวใบชา ต่อมาอีก 7-10 วัน จุดสีน้ำตาลจะขยายใหญ่และ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ มีวงแหวนล้อมรอบแผลเนื้อเยื่อใบที่เป็นรโรคนี้จะแห้งตาย ถ้าอาการของโรครุนแรง จะทำให้ใบร่วง โรคนี้มักเกิดกับใบและยอดอ่อน

 

ให้เก็บใบที่เป็นโรคเผาทิ้ง และใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราชนิดดูดซึม เช่น เบนโนมิล อัตรา 500 ppm ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง ประมาณ 3 ครั้งติดต่อกันและใช้สลับกับสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จะให้ผลดียิ่งขึ้น

 

โรคสาหร่ายแดง



โรคสาหร่ายแดง

 

เกิดจากเชื้อ เกิดจากเชื้อ Cephaleuros parasitices (Karst)

 

อาการเริ่มแรกเป็นจุดเล็ก ๆ สีส้มแดงบนใบ ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้น มีลักษณะกลม สีน้ำตาลแดงฟูคล้ายขนสีแดง สามารถแพร่ระบาด ไปยังกิ่งได้ โรคสาหร่ายแดงระยะแรกเป็นแบบ epiphytic คือเกิดเกาะติดผิวใบ สามารถลูบออกได้ง่าย แต่ในระยะต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น กลายเป็น paarasite เส้นใยของสาหร่ายจะเจริญทะลุไปยังเนื้อเยื่อ epidermal และ parenchyma ของใบชา เชื้อนี้สามารถอยู่กับใบแก่ กิ่ง และลำต้นได้ เมื่อใบอ่อนแตกออกมาใหม่ก็สามารถเข้าทำลายได้อีกครั้ง ต้นชาที่ถูกแสงแดดจัดจะเป็นโรคนี้รุนแรงกว่าต้นที่อยู่ในร่ม

 

ในต่างประทศพบว่าการใช้สารประกอบทองแดง เช่นคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ สามารถใช้ฉีดพ่นป้องกันการเกิดโรคได้ดี



ไป


จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
Copyright(c) 2007 www.thaigoodview.com. All rights reserved.