ขอต้อนรับเข้าสู่ บทเรียน เรื่อง โครงสร้างอะตอม สาระวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

 
  Learn / แบบจำลองอะตอมของโบร์  / หน้า 9                                                             ( 1 2 3 4 5 6 7 8 9 )
 

                                     ตาราง  1.5   แสดงผลต่างระหว่างพลังงานของเส้นสเปกตรัมของไฮโดรเจน

 

       เส้นสเปกตรัม

 

 

     ความยาวคลื่น

(nm)

 

พลังงาน

(kJ)

ผลต่างระหว่างพลังงาน

ของเส้นสเปกตรัมที่อยู่ถัดกัน  (kJ)

สีม่วง

สีน้ำเงิน

สีน้ำทะเล

สีแดง

410

434

486

656


    

             จากข้อมูลในตาราง 1.5  แสดงว่า  ความแตกต่างระหว่างพลังงานของแต่ละระดับที่อยู่ถัดกันจะไม่เท่ากัน     และความแตกต่างจะมีค่าน้อยลงเมื่อระดับพลังงานสูงขึ้น  จากข้อมูลนี้พอสรุปได้ว่า

1.      เมื่ออิเล็กตรอนได้รับพลังงานในปริมาณที่เหมาะสม       อิเล็กตรอนจะขึ้นไปอยู่ในระดับ  พลังงานที่สูงกว่าระดับพลังงานเดิม    แต่จะไปอยู่ระดับใดย่อมขึ้นกับปริมาณพลังงานที่ได้รับ       การที่อิเล็กตรอนขึ้นไปอยู่ในระดับพลังงานสูงขึ้นทำให้อะตอมไม่เสถียร         อิเล็กตรอนจึงกลับมาอยู่ในระดับพลังงานที่ต่ำกว่า      ในการเปลี่ยนตำแหน่งอิเล็กตรอนจะคายพลังงานออกมา

2.      การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอน  ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนระหว่างระดับพลังงานที่อยู่ติดกัน     แต่อาจมีการเปลี่ยนข้ามขั้นได้  อย่างไรก็ตามอิเล็กตรอนไม่สามารถรับพลังงานแล้วขึ้นไปอยู่ระหว่างระดับพลังงานได้

3.      ระดับพลังงานต่ำอยู่ห่างกันมากกว่าระดับพลังงานสูง     ระดับพลังงานยิ่งสูงขึ้นจะอยู่ชิดกันมากขึ้น

                จากความรู้เรื่องสเปกตรัม  นีลส์  โบร์  ..  2428 – 2505  (..  1885 – 1962 )  นักวิทยาศาสตร์ ชาวเดนมาร์ก    จึงสร้างแบบจำลองอะตอมขึ้นใหม่    โดยปรับปรุงแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด     เพื่อให้เห็นลักษณะของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียส     แบบจำลองเป็นระดับพลังงานที่มีค่าพลังงานเฉพาะคล้ายๆ  กับวงจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์  และเรียกอิเล็กตรอนชั้นที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุดและมีพลังงานต่ำที่สุดว่าชั้น  K และชั้นถัด ๆ  ไปเป็น L  M  N ……  ตามลำดับ   ดังรูป    แต่ในปัจจุบันเรียกระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุดว่า  ระดับพลังงาน  n  =  1  และเรียกระดับพลังงานที่อยู่ถัดไปเป็น n  = 2  n  =  3  ตามลำดับ  ซึ่งตรงกับชั้น  K  L  M  ….. ในแบบจำลองอะตอมของโบร์

                    แบบจำลองอะตอมของโบร์ใช้ได้ดีกับอะตอมขนาดเล็กที่มีอิเล็กตรอนเดียว  เช่นไฮโดรเจนแต่ไม่สามารถใช้อธิบาย อะตอมที่มีหลายๆ       อิเล็กตรอนได้  นักวิทยาศาสตร์จึงได้มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและเสนอแบบจำลองอะตอมใหม่ๆ  ขึ้น 


รูป แบบจำลองอะตอมของโบร์

 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.