ขอต้อนรับเข้าสู่ บทเรียน เรื่อง โครงสร้างอะตอม สาระวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

 
  Learn / แบบจำลองอะตอมของโบร์  / หน้า 6                                                            ( 1 2 3 4 5 6 7 8 9 )
 

 สเปกตรัมของธาตุต่างๆ

สเปกตรัมเป็นแสงที่ถูกแยกกระจายออกเป็นแถบสีต่าง ๆ และแสงเป็นรูปหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ฉะนั้นเพื่อความเข้าใจจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของคลื่นและพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเสียก่อนแล้วนำความรู้เรื่องดังกล่าวมาใช้ในการวิเคราะห์สเปกตรัมได้

               กุสตาฟ  เคอร์ชอฟ   นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่า  สเปกโทรสโคป  ( Spectroscope)    ซึ่งใช้สำหรับแยกสเปกตรัมของแสงขาว  และตรวจเส้นสเปกตรัมของสารที่ถูกเผาซึ่งสามารถนำมาตรวจสารต่างๆ  ได้ว่าประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง

ตาราง  1.3   แสดงสเปกตรัมและสีของเปลวไฟ
 

            สารประกอบ

สีของเปลวไฟ

 สีสเปกตรัม

เกลือ  Na

เหลือง

เหลืองเข้ม

เกลือ  Ba

เขียวอมเหลือง

เขียว

เกลือ  Ca

แดงอิฐ

แดงเข้ม

 เกลือ  Cu

เขียว

เขียวเข้ม

เกลือ  K

ม่วง

ม่วงเข้ม

                ถ้าเปรียบเทียบสเปกตรัมของสารต่างๆ  กับสเปกตรัมของแสงอาทิตย์และแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนซ์จะพบว่าสเปกตรัมที่เห็นจากแสงอาทิตย์มีลักษณะแถบสีต่อเนื่องกันเรียกว่า   สเปกตรัมแบบต่อเนื่อง      เนื่องจากเป็นสเปกตรัมของแสงขาวนั่นเอง  สำหรับเส้นสเปกตรัมที่เกิดจากหลอดฟลูออเรสเซนซ์     นอกจากจะเห็นเป็นแถบสเปกตรัมแสงขาวแล้วยังมีส่วนที่ไม่ต่อเนื่อง  ซึ่งเส้นที่เห็นเด่นชัดคือสีเขียว    ซึ่งเกิดจากธาตุที่บรรจุไว้ในหลอด

               สำหรับสเปกตรัมหรือสีของเปลวไฟที่ได้จากการเผาสารประกอบต่างๆ  ดังตารางข้างต้น  จะได้สีที่มีลักษณะเฉพาะ   เช่น  ถ้าเผาสารประกอบพวกเกลือโซเดียม   อาจเป็น  โซเดียมคลอไรด์ (NaCI),   โซเดียมซัลเฟต (Na2SO4)    จะได้สีของสเปกตรัมที่เด่นชัดที่สุดคือ  สีเหลือง  ซึ่งสรุปได้ว่าเส้นสเปกตรัมที่เกิดจากโลหะชนิดเดียวกันจะให้สีของเปลวไฟหรือสเปกตรัมเหมือนกัน     ส่วนอโลหะก็จะให้สเปกตรัมแต่จะอยู่ในช่วงความถี่ที่ตาของเรามองไม่เห็น

ตาราง  1.4   แสดงสเปกตรัมของก๊าซหรือไอของสาร
 

           ชนิดก๊าซหรือไอ

                สีสเปกตรัม

   ก๊าซ ไฮโดรเจน

ม่วง

   ก๊าซนีออน

แดงส้ม

   ไอปรอท

เขียว

          สำหรับพวกก๊าซหรือไอก็อาจดูสเปกตรัมได้      โดยการนำก๊าซมาบรรจุในหลอดแก้วที่เรียกว่าหลอดสเปกตรัมโดยทำให้มีความดันต่ำ      ความต่างศักย์สูงซึ่งจะใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการเผาด้วยความร้อนก็จะให้สเปกตรัมสีต่างๆ  เช่นเดียวกัน  ซึ่งพบว่าก๊าซแต่ละชนิดก็จะให้สเปกตรัมที่แตกต่างกัน



 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.