Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   
       
 

ไดโนเสาร์ซอโรพอด (Sauropod) พันธุ์ ภูเวียงกอซอรัส สิรินธร (Phuwiangosaurus Sirindhornae)

ซอโรพอด เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ เดินสี่เท้า ลักษณะรูปร่างคล้ายช้าง แต่มีคอยาวและหางยาว ความยาวตัวจากหัวซึ่งมีขนาดเล็กจยถึงปลายหางมีขนาดต่างๆ ตามความแตกต่างของสายพันธ์ ตั้งแต่ 9 จนถึง 33 เมตร
      ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทยจากชั้นหินยุคครีเตเชียสตอนต้นในช่วงประมาณ 130 ล้านปี ส่วนใหญ่มันเป็นของไดโนเสาร์ซอโรพอด พบมากจากแหล่งภูเวียง ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ การศึกษา วิจับชิ้นส่วนของกระดูกที่พบชี้ให้เห็นว่าเป็นซากของซอโรพอด ที่ต่างจากชนิดที่เคยพบมา แล้วทั้งใน ประ เทศจีน ทวีปอเมริกา และ แอฟริกา จึงตั้งชื่อ ซอโรพอดชนิดใหม่ี้ว่า Phuwiangosaurus Sirindhornae(ภูเวียงกอซอรัส สิรินธร) โดยชื่อสกุลจากสถานที่ที่ขุดพบซากดึกดำบรรพ์ ของไดโนเสาร์ เป็นครั้งแรกคือ ภูเวียง และชื่อชนิด ตามพระนามาภิไธยของ สมเด็จพระเทพ รัตนราชดุดาสยามบรมราช กุมารี เพื่อถวายเป็นเกียรติแด่พระองค์ท่านที่ได้ทรงสนพระทัยติดตามการค้นพบทางโบราณชีววิทยา ในประเทศไทย
            บริเวณภูเวียง ได้มีการค้นพบกระดูกบางส่วนของซอโรพอด ที่อยู่ในวัยเยาว์ปะปนอยู่กับกระดูก ที่เจริญเต็มวัยแล้ว ลักษณะทางกายภาพ ชี้ให้เห็นว่าทั้งหมดน่าจะเป็นสัตว์ชนิดเดียวกันแต่ต่างวัยกัน หลัก ฐานเหล่านี้ให้ข้อมูลที่มีค่ายิ่งเกี่ยงกับการเจริญเติบโตของไดโนเสาร์ซอโรพอดเนื่องจากส่วนกระดูก ของพวก วัยเยาว์พวกนี้พบน้อยมาก

            จากการศึกษาชิ้นกระดูกที่มีขนาดเล็กที่สุดพบว่าซอโรพอด วัยเยาว์นี้มีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร และมีความยาวไม่ถึง 2 เมตร ในขณะที่พวกที่เติบโตเต็มวัยแล้วจะมีขนาดความยาวประมาณ 15 ถึง 18 เมตร