Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   
       
 

เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์ในชั้นหิน เป็นเสมือนสมุด บันทึกที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่ เกิดขื้นบนโลกใน อดีตกาล เป็นบันทึกที่มีการเรียงร้อยเรื่องราวที่อุบัติขึ้นตามลำดับเวลาที่ผันผ่าน เป็นบันทึกที่บันทึก เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละเฉพาะพื้นที่ของโลก ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่าง ยิ่งยวดในการ ศึกษาธรณีวิทยาด้านการลำดับชั้นหิน และธรณีประวัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเหตุการณ์ แต่ละขั้นตอน ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาอันเป็นทางนำไปสู่การค้นหาตำแหน่งทรัพยากรธรณีที่สามารถนำมาใช้ ประโยชน์ต่อการดำรงขีวิตของมนุษย์ได้ การวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจากสกุลไปอีกสกุลหนึ่ง ก่อให้ เกิดความแตกต่างกันของชนิดของสิ่งมีชีวิตในแต่ละช่วงเวลา ทำให้สามารถใช้เป็นเครื่อง กำหนดอายุ ของชั้นหินที่มีซากสิ่งมีชีวิตสะสมอยู่โดยการนำชั้นหินาองแห่งมาเปรียบเทียบกัน เพื่อดูว่าชั้นหิน ใดแก่กว่าหรืออ่อนกว่า หรือมีอายุเท่ากับชั้นที่นำมาเปรียบเทียบ ชั้นหินนั้นสะสมตัวบนบกหรือในทะเล โดยการดูว่าซากดึกดำบรรพ์ในชั้นหินนั้นเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนบกหรือในทะเล แหล่งทรัพยากร ธรณีชนิดเควรจะเจาะหาขากชั้นหินอายุเท่าใดเหล่านี้คือ ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ทั้งสิ้น แม้ว่าซากดึกดำเป็นเบาสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้การค้นหาทรัพยากระรณีเป็นไปอย่างรวดเร็ว และกระชับขึ้น

ซากปลาดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงเวลา 208-145 ล้านปีมาแล้ว หรือยุคจูแรสซิกเป็นปลาที่มีแผ่นเกล็ดแข็งห่อหุ้มตัว มีขนาดยาว 14 นิ้ว
(ลักษณะภายนอก : ภาพซ้าย)                        (ลักษณะภายใน : ภาพขวา)