Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   
       
 

ซากดึกดำบรรพ์ ( Fossils ) ในทางธรณีวิทยา หมายถึง ซากสิ่งมีชีวิตทั้งซากพืช ซากสัตว์ ละอองเรณู และ สปอร์ของพืช หรือ ร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่ได้ประทับฝังไว้ในชั้นหิน เมื่อผ่านกระบวน การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติจะมีส่วน ประกอบของอินทรียสารเปลี่ยนแปลงไปจากส่วนประกอบเดิม แต่ยังคงรูปลักษณะโครงสร้างให้เห็นอยู่ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลง ตามธรรมชาติมีอยู่หลายสิธี เช่น
                Permineralization ได้แก่ การสะสมตัวของแร่ะาตุในเนื้อพรุนของซาก
                Silicification ได้แก่ การที่ส่วนประกอบดั้งเดิมของซากถูกแทนที่ด้วยสารซิลิกาใน
                                                รูปของแร่ควอรตซ์ แร่คาลซิโคนีหรือแร่โอปอ
                Pertrification ได้แก่ ซากที่กลายเป็นหินแข็ง เนื่องจากส่วนประกอบเดิมถูกแทนที่ด้วย
                                                สารละลายซิลิกา หรือ สารละลายแคลเซียมคาร์บอเนด
                Cabonization ได้แก่ การที่ซากกลายเป็นสารคาร์บอนติดอยู่ในชั้นหินหรือเป็นถ่านหิน

                                               

ฟอแรมขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในทะเบอันดามัน พบที่ชายหาด จังหวัดภูเก็ต ขนาดกำลังขยาย 600 เท่า
Trace Track Trail Boring Burrow Cast Mold ได้แก่ ร่อยรอยหรือพิมพ์ของสิ่งมีชีวิตที่ประทับอยู่บน หรือในเนื้อหิน เช่น รอยเท้า รอยทางเดิน รอยหนอน รอยบอนไซ รอยเจาะ รอยพิมพ์และรูปพิมพ์บน พื้นตะกอนที่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและฟิสิกส์ จนทำให้เกิดการแข็งตัวเป็นหิน เช่น รอยเท้าสัตว์ บนหินทราย รอยทางเดินบนหินดินดาน หรือรอยเจาะในหินปูน กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา เหล่านี้ ทำให้ซากดึกดำบรรพ์มีลักษณะเป็นแร่ ซึ่งเป็นองคืประกอบของหิน คือ เป็นอนินทรียวัตถุที่มี ส่วนประกอบทางเคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์ที่แน่นอน หรือเปลี่ยนแปลงได้เล็ก น้อยตามนับแห่งพระราช บัญญัติแร่ พ.ศ. 2510

ซากดึกดำบรรพ์ฟอแรมขนาดใหญ่ หรือ คตข้าวสาร บนในหินปูน
จากจังหวัดสระบุรี  อายุประมาณ 250 ล้านปี ขนาดขยาย 20 เท่า

ซากดึกดำบรรพ์ที่ประชาชนรู้จักมากที่สุด ได้แก่ ซากกระดูกไดโนเสาร์ รอยเท้าไนโดเสาร์ ซากหอย ซาหปลา ซากใบไม้ ซากแมลง ซึ่งเป็นซากของสัตว์และพืชที่มีรูปร่าง หรือโครงสร้างในปัจจุบัน แม้ว่าบางครั้งซากที่เราพบเห็นจะเป็นซากของสัตว์และพืชที่สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่เพราะสัตว์มีรูปร่าง โดยรวมคล้ายกัยรูปร่างของลูกหลานที่มีวิวัฒนาการสืบทอดกันมา ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า ซาก ดึกดำบรรพ์นั้น เป็นซากของสัตว์ประเภทใด สำหรับซากไดโนเสาร์ แม้ว่าจะเป็นซากของสัตว์ ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ขนาดที่ใหญ่โต และเรื่องราวอันลี้ลับที่ไม่อาจพบเห็นได้ในปัจจุบัน กลับเป็นเสน่ห์ให้ผู้คนสนใจและจดจำได้

ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังแบรดิโอพอต
อายุ 260 ล้านปี ที่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ขนาขยาย 1.5 เท่า

โดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่เป็นเรื้อเยื่อ และส่วนที่เป็นโครงแข็งซึ่งอาจเป็นกระดูก ฟัน เปลือก เกล็ด หรือเล็บ หรือ หนาม เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง เนื้อเยื่อจะเน่าสลายในบรรยากาศโลกได้ง่ายมาก ในขณะที่ ส่วนโครงแข็งจะทนทานต่อการเน่าสลายและการผุพังมากกว่า กว่าที่ซากวิ่งมีชีวิตจะถูกกลบฝัง เพื่อป้องกัน การเน่าสลายตามธรรมชาติ ส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อมักจะถูกทำลายไปจนหมด ดังนั้นซากดึกดำบรรพ์ที่ยังคง เนื้อเยื่อเดิมให้เห็นจึงพบได้น้อยมาก  นอกจากรณีพิเศษ เช่น การพบซากช้างแมมมอธทั้งตัวที่ไซบีเรีย ทั้งนี้ เรื่อจากอากาศที่หนาวจัดได้เก็บรักษาซากไว้ให้พ้นจากการเน่าเปื่อย ซากดึกดำบรรพ์ที่พบโดยทั่วไป จะเป็นเปลือก เข่น เปลือกหอย กระดอง เช่น กระดองเต่า เกล็ดของปลาโบราณ ซึ่งเป็นปลาที่มีเกล็ดแข็งหนา หรือแผ่นเกราะแข็งห่อหุ้มตัว ฟัน กระดูก และซากใบไม้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นรอยพิมพ์ ในเนื้อหิน