Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   
       
 

แหล่งสะสมซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ที่กำลังขุดค้น
            แหล่งขุดค้นแห่งใหม่ที่วัดสักกะวัน อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ นับเป็นแหล่งที่มีชิ้นส่วน กระดูก จำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีการขุดค้น มาถึงปัจจุบันภายในช่วงเวลาเพียง 1 ปี นับตั้งแต่มีการค้นพบร่อง รอยและเริ่มทำการขุดในเดือนพฤศจิกายน 2537 ได้พบชิ้นส่วนกระดูกแล้วกว่า 600 ชิน
            เป็นชิ้นส่วนต่างๆ ของโครงร่างไดโนเสาร์อย่างน้อย 6 ตัว บางบริเวณกระดูกกระจัดกระจาย ปะปนกันแต่บางบริเวณกระดูกยังคงเรียงต่อกัน เป็นรูปร่างเห็นได้ชัดเจน จากลักษณะชิ้นส่วนของฟัน และหัวกะโหลกพบว่าฟอสซิลเหล่านี้ เป็นของไดโนเสาร์ ซอโรพอด 2 ชนิด ซึ่งชนิดแรกคือ Phuwiangosaurus Sirindhornae แหล่งที่ค้นพบใหม่นี้ มีความสำคัญมากในการให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับไดโนเสาร์ ที่พบแล้วมากยิ่งขึ้นรวมทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาถึงไดโนเสาร์อีกชนิด ที่พบในแหล่ง ขุดค้นนี้ด้วย


แหล่งขุดค้นแห่งใหม่ที่ อ.กุสินารายณ์ จ.กาฬสินธ์
            ในชั้นหินทรายแดงหมวดหินเสาขัวข้างโรงเรียนมัธยมบ้านนาไคร้ ขุดพบกระดูกของไดโนเสาร์ ซอโรพอด Phuwiangosaurus Sirindhornae ซึ่งอยู่ในสภาพดีมากตำนวน 100 ชิ้น ชิ้นที่ก้นสระน้ำ ซึ่งขุดลึกลงไปกว่า 2 เมตร ได้ทำการขุดขึ้นมาทั้งหมดก่อนฤดูฝนขณะนี้กำลังทำการอนุรักษ์ และวิจัย อยู่ห้องปฏิบัติการใน จ.กาฬสินธุ์


แหล่งปลาดึกดำบรรพ์ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์
            พบเมื่อต้นเดือนเมษายน 2511 ชั้นหินหมวดภูกระดึงอายุประมาณ 160 ล้านปีมาแล้ว แหล่งที่พบถูกขุดเปิดโดยชาวบ้าน เป็นบริเวณกว้างประมาณ 100 ตารางเมตร ซากดึกดำบรรพ์บางส่วน ชาวบ้านนำไปมอบให้ที่วัดพุทธบุตร


แหล่งซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ แห่งใหม่ที่ จ.ชัยภูมิ
            พบในหมวดหินเสาขัว อายุประมาณ 130 ล้านปี 2 แหล่ง ห่างจากกันประมาณ 5 กิโลเมตร แห่งแรกในเขต อ.บ้านเขว้า แห่งที่ 2 ในเขต อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
            ซากดึกดำบรรพ์ที่พบเป็นไดโนเสาร์ 3 ชนิด คือ ไดโนเสาร์ซอโรพอดพวกกินพืช 1 ชนิด คือ Phuwiangosaurus Sirindhornae และยังพบไดโนเสาร์กินเนื้อ 2 ชนิด คือ Siamotyrannus และ Siamosaurus และยังพบเศษกระดองเต่า เศษกระดูกจระเข้และซากหอยน้ำจืดอีก 2-3 ชนิด บริเวณ แหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์ แห่งแรกนั้นถูกรบกวนก่อนที่คณะสำรวจไปถึง ทำให้มีข้อมูลเหลือน้อยมาก ส่วนแหล่งที่ 2 นั้น มีซากกระดูกเหลืออยู่มากให้ข้อมูลได้พอสมควร