Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   
       
 

         ไดโนเสาร์บางตัวทิ้งร่องรอยไว้ให้เห็นตามเส้นทางที่มันเดินผ่านบางครั้งธรรมชาติได้เก็บรักษา รอยเท้าที่ไดโนเสาร์ประทับไว้บนพื้นดินให้กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์เหลือปรากฏให้เราเห็นในปัจจุบัน รอยเท้าไดโนเสาร์ที่เหลืออยู่บนผิวหน้าของหินช่วยให้ข้อมูลบางประการเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของ พวกมัน รูปร่างลักษณะ ขนาดและแนวทางเดิน ทำให้บอกได้ว่าเป็นไดโนเสาร์พวกไหน และมีวิธีการเดิน อย่างไร
            แหล่งค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์ในประเทศไทยมี 5 แห่ง แห่งหนึ่งอยู่ในจังหวัดเลย แห่งที่สองอยู่ใน จังหวัดขอนแก่น แห่งที่สามอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เขตแดนจังหวัดปราจีนบุรี แห่งที่สี่อยู่ใน จังหวัดกาฬสินธุ์ และแห่งที่ห้าอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภู

            ในปี พ.ศ. 2528 ได้มีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกที่ ภูหลวง จังหวัดเลย และนับเป็นครั้งแรก ที่พบรอยเท้าไดโนเสาร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เท้าทั้งหมด มีจำนวน 15 รอย กระจายอยู่บนแผ่นหินทรายมีลักษณะเป็น 3 นิ้ว บางรอยเห็นได้ชัดว่าไดโนเสาร์ ตัวนี้สูงประมาณ 1.80 เมตร เมื่อวัดจากพื้นถึงสะโพกระยะก้าวเดินวัดได้ 2.80 เมตร ทำให้คำนวณได้ว่า มันสามารถเดินได้เร็ว 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  รอยเท้าที่พบกลุ่มนี้มีขนาดไล่เลี่ยกัน และมุ่งหน้าไปในทิศ ทางเดียวกัน จึงสันนิษฐานได้วาส น่าจะเป็นจ่าฝูงไดโนเสาร์คาร์โนซอร์ที่โตเต็มวัยฝูงหนึ่ง กำลังเดิน ทางไปด้วยกัน
            รอยเท้าไดโนเสาร์อีกกลุ่มหนึ่งค้นพบที่ภูเวียง ขอนแก่นบนแผ่นหินทรายมีแนวรอยเท้าที่ต่างกัน อย่างเห็นได้ชัด จำนวนทั้งสิ้น 10 แนวมุ่งหน้าไปในทิศทางที่เกือบขนานกัน รอยเท้ามีขนาดเล็ก ยาวไม่ถึง 10 เซนติเมตร ทำให้สันนิษฐานว่า ไดโนเสาร์เหล่านี้สูงประมาณ50 เซนติเมตร เมื่อวัดจากพื้นถึงสะโพก ลักษณะรอยเท้ามี 3 นิ้ว แต่ละนิ้วเรียวยาวน่าจะเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์เทอโรพอด บางแนวมีรอย เท้าเล็ก ๆซึ่งน่าจะเป็นรอยเท้าหน้าปารกฏอยู่ด้วย  พวกนนี้น่าจะเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ กินพืช ขนาดเล็ก
          รอยเท้าไดโนเสาร์อีกกลุ่มหนึ่งเป็นรอยเท้าของเทอโรพอดพบบนผิวหน้าของก้อนหินทรายขนาด ใหญ่ที่หลุด ออกมาจากชั้นหินบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขตรอยต่อ ของจังหวัดปราจีนบุรีลักษณะ รอยเท้ามี 3 นิ้ว แต่ละนิ้วเรียวยาว มีปะปนกัน 3 ขนาด และมีจำนวน 12 รอย
            รอยเท้าไดโนเสาร์ จากภูแฝก กิ่ง   อ.นาคู   จ . กาฬสินธุ์เป็นรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีรอยทางเดินที่ชัดเจนมากพบอยู่บนผิวหน้าของหินทราย หมวดหินพระวิหาร อายุประมาณ 140 ล้านปี โดยเด็กนักเรียนชั้นประถม 2 คน เมื่อปลายปี 2539 มีรอยเท้าทั้งหมด 21 รอย ใน 6 แนวทางที่ต่างกัน
            รอยเท้าอีกแห่งหนึ่งพบที่ภูเก้า จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นรอยเท้าขนาดย่อม จำนวนมากกว่า 20 รอย อยู่บนผิวหน้าของหินทรายหมวดหินพระวิหาร ริมห้วยเล็ก ๆ