Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   
       
 

          การค้นหาไดโนเสาร์ในเมืองไทยเริ่มต้นมาประมาณ 20 ปี เมื่อ นายสุธรรม แย้มนิยม นักธรณีวิทยา จากโครงการสำรวจแร่ยูเรเนียมกรมทรัพยากรธรณี พบกระดูกขนาดใหญ่ท่อนหนึ่งจาก ภูเวียง จ.ขอนแก่น การค้นพบได้รับความสนใจจากนักโบราณชีววิทยาชาวฝรั่งเศสทำการตรวจสอบให้ ผลการ ตรวจสอบพบว่า เป็นกระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอต พวกกินพืช เดิน 4 เท้า คอยาว หางยาว มีความยาว ประมาณ 15 เมตร แต่ไม่สามารถระบุสกุลได้ นับเป็นรายงานการค้นพบไดโนเสาร์ครั้งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมา คณะสำรวจร่วมไทย-ฝรั่งเศสก็ได้ออกตระเวนไปทั่วประเทศปีละ 1-2 เดือน เพื่อทำการสำรวจ ขุดค้นในพื้นที่มากกว่า 20 แห่ง ได้ทำการวิจัยซากไดโนเสาร์ และ สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ที่พบใน ประเทศไทย ผลของการวิจัยพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ในมหายุคมีโซโซอิกเป็นจำนวนมาก  ได้แก่ ไดโนเสาร์หลายสกุลซึ่งอยู่ร่วมกับสัตว์อื่นอีกหลายชนิดในช่วงเวลาต่าง ๆกัน ของมหายุคมีโซโซอิก
         แหล่งซากของไดโนเสาร์กระจัดกระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย บริเวณที่ราบสูง โคราชซึ่งประกอบขึ้นจากหินตะกอนที่ทับถามกันหนาหลายพันเมตรในสภาพแวดล้อมที่ เป็นแผ่นพื้น ทวีปชั้นของหินประกอบด้วย หินดินดาน หินทรายแป้ง หินทราย และหินกรวดมน สีน้ำตาล แดงเป็นส่วน ใหญ่ เนื่องจากลักษณะของหินตะกอนที่ปรากฏ มักจะมีสีแดงเกือบทั้งหมด ทำให้เรียกหิน กลุ่มนี้ว่าชั้นหินตะกอนแดง และมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า”กลุ่มหินโคราช” ชั้นหินตะกอนที่สะสมตัวบน แผ่นดินนี้มีชิ้นส่วนกระดูกไดโนเสาร์ฝังปะปนอยู่ด้วยซากกระดูกที่พบมีอายุเก่า แก่ที่สุดอยู่ในยุค ไทรแอสสิก ช่วงประมาณ 200 ล้านปี และมีอายุน้อยที่สุด อยู่ในยุคครีเตเชียสตอนกลาง หรืออยู่ใน ช่วงประมาณ 100 ล้านปี