::เว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเเลการสื่อสาร::  
  หน่วยที่ 1  
   - ข้อมูลและสารสนเทศ  
  หน่วยที่ 2  
   - เทคโนโลยี  
  หน่วยที่ 3  
    - การสื่อสารข้อมูล  
  หน่วยที่ 4  
   - อินเตอร์เน็ต  
  หน่วยที่ 5  
   - จริยธรรมเเละพระราชบัญญัต  
  เเบบฝึกหัด  
     
  เว็บไซต์อ้างอิงทั้งหมด  
 
  ข้อมูลและสารสนเทศ  
 
         
    ข้อมูลหมายถึง    
     
  ข้อมูลปฐมภูมิ  
     
  ระบบสารสนเทศ  
  -ที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย  
     
 
 
 
 
   
     
  อ้างอิง :http://www.school.net.th/...  
 
 
 
     
           
  ข้อมูลปฐมภูมิ  
             
           

 

             
 
   ข้อมูลปฐมภูมิ คือ  
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลประเภทหนึ่งที่ใช้ในการวิจัยตลาด* จัด เก็บจากต้นกำเนิดของข้อมูลโดยตรง จึง
ให้รายละเอียดที่ลึกซึ้ง ทันสมัย มีความผิดพลาดน้อย แต่เป็นข้อมูลที่ยังต้องนำมาจัดระเบียบ รวบรวมตีความ และ
ประมวลผล เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น ข้อมูลปฐมภูมิมักได้จากแหล่งข้อมูลตัวบุคคล สามารถเก็บข้อมูลแบบนี้จาก
1) การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล (Personal Interview) มี การพบปะกันระหว่างผู้หาข้อมูลและ ผู้ให้ข้อมูล ซึ่ง
อาจกระทำได้เป็นรายบุคคล ทีละคน หรือเป็นการสัมภาษณ์กลุ่ม หรือการอภิปรายเฉพาะกลุ่ม (Focus Group Discussion)
    2) การเก็บข้อมูลแบบไม่พบตัวบุคคลผู้ให้ข้อมูล
 
 

ทำไมต้องหาข้อมูลจากต้นกำเนิดของข้อมูล

 
ใน การทำธุรกิจซื้อขายสินค้า ความต้องการของผู้บริโภคตลอดจนปัจจัยแวดล้อมทั้ง ภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อ  
์การทำธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผู้ผลิตและ นักการตลาดจำเป็นต้องศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่าง
ใกล้ชิด เพื่อแก้ปัญหาที่ อาจเกิดขึ้นกับสินค้าของตน หาวิธีพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความ
พึงพอใจสูง สุดแก่ลูกค้าเป้าหมาย รวมทั้งคาดการณ์แนวโน้มของปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาระยะยาวที่มีผลกระทบต่อ
การวางแผนและการตัดสินใจทาง ธุรกิจ การวจัยตลาดและการหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการตัดสินใจต่างๆ ดังกล่าว
จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
อย่าง ไรก็ตามผู้บริหารส่วนใหญ่มีเวลาน้อย และกิจกรรมทางการตลาดมีความ สลับซับซ้อนและขอบเขตกว้างขวางมากขึ้น
บ่อยครั้งการหาข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบที่เฉพาะเจาะจงตรงตามความต้องการไม่ สามารถกระทำได้จากการรวบรวมข้อมูล
่จากแหล่งที่มีอยู่แล้ว หรือข้อมูลจากการวิจัยที่ผู้อื่นทำไว้ การหาข้อมูลปฐมภูมิจากแหล่งต้นกำเนิดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อให้
ได้ข้อมูลที่ทันสมัย ครบถ้วน ตรงตามความต้องการเฉพาะของตนเอง

ข้อมูลปฐมภูมิส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งต้นกำเนิดที่เป็นบุคคล วิธีการ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบนี้สามารถทำได้ 2

แนวทาง คือ
1. การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ส่วนบุคคล (Personal Interview) และมีการพบปะกันระหว่างผู้สัมภาษณ์ (ผู้เก็บข้อมูล)
และผู้ให้สัมภาษณ์ (แหล่งข้อมูลโดยตรง) เป็น วิธีการหาข้อมูลปฐมภูมิที่ให้รายละเอียดเชิงความคิดเห็นได้อย่างละเอียด
ลึกซึ้ง ทันสมัย ตรงตามความต้องการ ถ้าให้สัมภาษณ์ไม่ปิดบัง ผู้เก็บข้อมูลมีโอกาสสังเกตท่าที พฤติกรรม อากัปกิริยาของ
ผู้ให้สัมภาษณ์ด้วย แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่ต้องเตรียมการ ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง การสัมภาษณ์ส่วนบุคคลแบบมี การพบปะตัว
บุคคลผู้ให้ข้อมูลสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
  1.การสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างคำถามและคำตอบแน่นอน โดย ใช้แบบสอบถาม หรือแบบสำรวจความคิด
เห็นที่มีคำถามชัดเจน และมีข้อย่อยของคำตอบกำหนดไว้ให้เลือกตอบ ข้อมูลที่ได้ค่อนข้างแคบและไม่
ลึกซึ้งนักแต่ตรงประเด็น สามารถกำหนดขอบเขตของคำตอบได้ ง่ายต่อการประมวลผล
  2.การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดย ใช้คำถามเปิดและให้โอกาสผู้ให้สัมภาษณ์ แสดงความคิดเห็น
ไม่ใช่เพียงตอบว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ หรือเลือกจากคำตอบที่ให้เท่านั้น คำตอบที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบนี้
อาจหลากหลาย และต้องนำมาประมวลผล เสียก่อนจึงจะนำไปใช้ได้ ผู้สัมภาษณ์จะต้องเข้าใจ
วัตถุประสงค์ของการถามคำถาม แต่ละข้อเป็นอย่างดี เพื่อควบคุมทิศทางของคำตอบไม่ให้กระจัดกระจายจนเกินไป
  3.การสัมภาษณ์กลุ่มหรือการอภิปรายเฉพาะกลุ่ม (Focus Group Discussion) วิธี การนี้จะไม่มีโครงสร้าง
ของคำถาม แต่จะกำหนดหัวข้อหรือคำถามที่ต้องการถามอย่าง กว้างๆ คำตอบที่ได้จะเป็นการอธิบายที่มี
ความยาว เจาะลึกในหัวข้อที่ต้องการศึกษา มักใช้ในการหาข้อมูลความคิดเห็นในส่วนลึก เช่น การศึกษา
แรงกระตุ้นที่ทำให้เกิดพฤติกรรมทางการตลาดด้านต่างๆ เช่น ทำไมจึงเลือกซื้อสินค้ายี่ห้อหนึ่งและไม่
เลือกซื้ออีกยี่ห้อหนึ่ง ปัจจัยประกอบในกระบวนการตัดสินใจซื้อคืออะไร เป็นต้น ผู้เก็บ ข้อมูลอาจเชิญ
กลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูลมาร่วมรับประทานอาหาร แล้วพูดคุยด้วยคำถามกว้างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
สิ่งที่ต้องการศึกษา การพูดสนทนาดำเนินไปอย่างสบายๆ เพื่อให้ผู้ให้ข้อมูลรู้สึกผ่อนคลาย และกล้าที่
พูดแสดงความคิดเห็น โดยไม่รู้สึกว่าถูกบังคับให้ตอบคำถามอย่างหนึ่งอย่างใด ผู้เก็บข้อมูลควรมี
จิตวิทยาในการพูดคุย แต่ต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาและเป้าหมายของการพูดคุยเป็นอย่างดี

ข้อพิจารณาในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ก่อน จะตัดสินใจลงไปว่าจะต้องทำวิจัยการตลาดโดยการหาข้อมูลปฐมภูมิหรือไม่ ผู้ผลิตและนักการตลาดต้องพิจารณาอย่าง
รอบคอบก่อนว่าต้องการข้อมูลอะไรและจะ นำมาใช้ประโยชน์อย่างไร ถ้าข้อมูลที่ต้องการมีแหล่งข้อมูลอยู่แล้ว (ที่เรียกว่า
“แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ”) เช่น เอกสารหรืองานที่หน่วยงานภาครัฐ หอการค้า สมาคมวิชาชีพ หรือบริษัทรับจ้างวิจัยจัดทำและ
เผยแพร่ในวารสารและสื่อต่าง ๆ จนเพียงพอกับความต้องการแล้ว หรือในบางกรณีธุรกิจของตนอาจมีข้อมูลอยู่บ้างแล้ว
เพียงแต่ไม่ได้อยู่ในลักษณะที่พร้อมนำไปใช้ การประมวลผลและจัดรูปแบบรายงานตามข้อมูลที่มีอยู่อาจเพียงพอกับความ
ต้องการ ก็ได้ นอกจากนี้การหาข้อมูลปฐมภูมิยังเป็นวิธีการที่ต้องใช้ทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย หากประโยชน์ที่ได้รับจากข้อมูล
ปฐมภูมิไม่คุ้มค่า ก็อาจต้องหาวิธีอื่น
 
  อ้างอิง : http://www.ismed.or.th/SME/src/bin/...  
 
   
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
                                       
                                       
                   
 
 
    หน่วยที่ 1 -ข้อมูลและสารสนเทศ หน่วยที่ 2  -เทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยที่ 3 -การสื่อสารข้อมูล หน่วยที่4 -อินเตอร์เน็ต  
      หน่วยที่5- จริยธรรมเเละพระราชบัญญัติ