::เว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเเลการสื่อสาร::  
  หน่วยที่ 1  
   - ข้อมูลและสารสนเทศ  
  หน่วยที่ 2  
   - เทคโนโลยี  
  หน่วยที่ 3  
    - การสื่อสารข้อมูล  
  หน่วยที่ 4  
   - อินเตอร์เน็ต  
  หน่วยที่ 5  
   - จริยธรรมเเละพระราชบัญญัต  
  เเบบฝึกหัด  
     
  เว็บไซต์อ้างอิงทั้งหมด  
  การสื่อสารข้อมูล  
     
  ระบบการสื่อสารข้อมูล  
     
  ข่ายการสื่อสารข้อมูล  
     
  รูปแบบการสื่อสารข้อมูล  
     
  ประเภทสาย  
     
 

ประโยชน์ของการสื่อสาร

 
     
 
 
   
     
  อ้างอิง : .http://www.vcharkarn....  
     
           
  การสื่อสารข้อมูล  
             
                           
 
ระบบการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่ง
และผู้รับโดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและ
ผู้รับเกิดความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน
 
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็
จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่่ใน รูปที่มนุษย์สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่
เกิดขึ้นก็คือสิ่งรบกวน(Noise)จากภายนอก ทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง
ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดย
การพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
 
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
    1.ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร(source)
    อาจจะเป็นสัญญาณ ต่างๆเช่น สัญญาณภาพข้อมูลและเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ
หรือท่าทางต่างๆก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสารจัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
    2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink)
    ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุ
วัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้นๆถ้าผู้รับสาร หรือจุดหมายปลายทางไม่ได้
รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ  กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

    3.ช่องสัญญาณ(channel)

หมายถึง สื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่านอาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่างๆหรือแม้กระทั่ง
ของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น ปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
    4. การเข้ารหัส(encoding)
เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อ ความหมายจึงมีความจำเป็นต้องแปลง ความหมายนี้
การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกัน
ระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
    5. การถอดรหัส(decoding)
   หมายถึง การที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่ง มาจากผู้ส่งข่าวสาร โดย
มีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
    6. สัญญาณรบกวน(noise)
   เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร
และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมุติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าว สารไม่มีความผิดพลาด
ตำแหน่ง ที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าว สารและด้านผู้รับ
ข่าวสาร ในทางปฎิบัติ มักจะใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อย
ดำเนินการ เช่นการเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  อ้างอิง -  http://school.obec.go.th/prathueang/...  
   
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
                                       
                                       
                   
 
 
    หน่วยที่ 1 -ข้อมูลและสารสนเทศ หน่วยที่ 2  -เทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยที่ 3 -การสื่อสารข้อมูล หน่วยที่4 -อินเตอร์เน็ต  
      หน่วยที่5 -จริยธรรมเเละพระราชบัญญัติ