ยินดีต้อนรับทุกท่าน.....นี่คือสื่อบทเรีียนออนไลน์ที่จัดทำขึ้นโดย   นักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นางรอง.....ในบทเรียนออนไลน์เรื่อง เรียนรู้โปรแกรม Macromedia Flash 8 (รวมเทคนิคและลูกเล่นต่างๆ)   จะมีหัวข้อที่ชวนให้คุณศึกษาอยู่มากมาย.........::












 

 



 

 

 

 

 

 

 

 









 


 

 
































การใช้ Timeline และ Frame เบื้องต้น


       เนื้อหา ทั้งหมดที่ทำงานกับ Flash จะถูกวางอยู่บน Timeline ตัวชี้ตำแหน่ง (Playhead)
จะเลื่อนไปตามแนวของ Timeline และแสดงเฟรมที่อยู่ ณ ขณะนั้น โดยเราสามารถเลื่อน
ตัวชี้ตำแหน่งไปบน Timeline ได้ในการแก้ไขงาน Flash ซึ่ง Timeline ประกอบไปด้วย Frame
และ Keyframe ซึ่งอาจเป็นช่วง ๆ หรือว่าง เปล่าก็ได้ Frame ต่าง ๆ สามารถซ้อนเป็นชั้น ๆ
ได้โดยใช้ความสามารถของ Layer

         ไทมไลน์หรือเส้นเวลา จะใช้สำหรับสร้างและกำหนดรายละเอียดของการเคลื่อนไหว
โดยเอาองค์ประกอบที่จะเคลื่อนไหว (เราเรียกองค์ประกอบต่างๆ ในชิ้นงาว่าออบเจ็กต์หรือวัตถุ) มาจัดวางต่อกันละภาพในแต่ละช่วงเวลา (เรียกว่าเฟรม: Frame) ที่แสดงเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยเราจะกำหนดเส้นเวลาให้เล่นภาพเคลื่อนไหวซ้ำๆ หรือเล่นแล้วหยุดก็ได้


 

         เราแบ่งไทมไลน์เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่
ส่วนแสดงเลเยอร์ (Layer) ซึ่งแต่ละเลเยอร์เปรียบเหมือนแผนใสที่สามารถวางภาพ
หรือออบเจ็กต์ได้ โดยแต่ละเลเยอร์นั้นแยกเป็นอิสระต่อกัน แต่ประกอบกันเป็นชันงานเดียว
(เราจะกล่าวถึงเรื่องเลเยอร์เพิ่มเติมภายหลัง)
ส่วนเฟรม (Frame) ที่แสดงช่องเฟรมต่างๆ ซึ่งทำงานเหมือนกับเฟรมที่ประกอบกันเป็นภาพยนตร์โดยเมื่อมีการนำเฟรมเหล่านี้มาแสดง
อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหว ทั้งนี้ Frame จะแสดงผลอ ทีละเฟรม โดยจะ
มีหัวอ่าน (Playhead) ที่เป็นส้นสีแดงคอยบอกตำแหน่งว่ากำลังทำงานอยู่ที่เฟรมใด

 

              เราสามารถเปิด/ปิดไทมไลน์นี้ได้โดยคำสั่ง View > Thmeline ให้มีเครื่องหมาย
ถูกอยู่หน้าคำว่า Thmeline เพื่อเปิดไทมไลน์ และใช้คำสั่ง View > Thmeline อีกครั้งยกเลิกเครื่องหมายถูกเพื่อปิดไทมไลน์ซึ่งเราอาจเปรียบการทำงานของไทมไลน์เหมือน
กับม่วนฟิลม์ ในขณะที่สเตจคือส่วนที่แสดงแต่ละเฟรมในม้วนฟิลม์นั้นตามลำดับที่กำหนดไว้


       Keyframe คือ จุดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบน Timeline เราอาจมีเนื้อหาใหม่ใน
keyframe หรือทำการเปลี่ยนแปลง Animation บางส่วน ส่วน Frame จะถูก ใช้ระหว่าง Keyframe
เพื่อเติมส่วนของ Animation หรือไทม์ไลน์ เราไม่จำเป็นต้องแก้ไขเนื้อหาต่าง ๆ ใน Frame
เพราะหากเราทำการแก้ไข Frame จะกลายเป็น Keyframe ต่อไป








   
top