ที่จะใช้เป็นอาหารได้นอกจากนี้กษัตริย์เจตราชยังได้สั่งให้พรานป่าเจตบุตร ซึ่งเป็นผู้ชำนาญ ป่าแถบนั้น ให้คอยเฝ้าระแวดระวังรักษาต้นทาง ที่จะไปสู่เขาวงกต เพื่อมิให้ผู้ใดไปรบกวน พระเวสสันตรในการบำเพ็ญพรต เว้นแต่ทูต จากเมืองสีวีที่จะมาทูลเชิญเสด็จกลับนครเท่านั้น ที่จะยอมให้ผ่านเข้าไปได้ เมื่อเสด็จไปถึงบริเวณสระโบกขรณีอันเป็นที่ ร่มรื่นสบาย พระเวสสันดร พระนางมัทรี ตลอดจน พระ โอรสธิดา ก็ผนวชเป็นฤาษี บำเพ็ญพรตภาวนาอยู่ ณ ที่นั้น โดยมีพรานป่า เจตบุตรคอยรักษาต้นทาง ณ ตำบลบ้านทุนนวิฐ เขตเมืองกลิงคราษฏร์
มีพราหมณ์เฒ่าชื่อ ชูชก หาเลี้ยงชีพด้วยการ ขอทาน ชูชก ขอทาน
จนได้เงินมามาก จะเก็บไว้ เองก็กลัวสูญหายจึงเอาไปฝากเพื่อนพราหมณ์
ไว้อยู่มาวันหนึ่ง ชูชกไปหาพราหมณ์ที่ตน ฝากเงินได้ จะขอเงินกลับไป ปรากฎว่า พราหมณ์นั้นนำเงินไปใช้หมดแล้ว จะหา มาใช้ให้ชูชกก็หาไม่ทัน จึงจูงเอาลูกสาวชื่อ อมิตตดา มายกให้แก่ชูชก พราหมณ์กล่าว แก่ชูชกว่า "ท่านจงรับเอาอมิตตดาลูกสาว เราไปเถิด จะเอาไปเลี้ยงเป็นลูกหรือภรรยา หรือจะเอาไปเป็น ทาสรับใช้ปรนนิบัติก็สุด แล้วแต่ท่านจะเมตตา" ชูชกเห็นนางอมิตตดาหน้าตาสะสวย งดงามก็หลงรัก จึงพานางไปบ้าน เลี้ยงดู นางในฐานะภรรยา นางอมิตตดาอายุ ยังน้อย หน้าตางดงาม และมีความกตัญญู ต่อพ่อแม่ นางจึงยอมเป็นภรรยาชูชกผู้แก่ เฒ่า รูปร่าง
หน้าตาน่ารังเกียจ อมิตตดา ปรนนิบัติชูชกอย่างภรรยาที่ดีจะพึงกระทำ ทุกประการ นางตักน้ำตำข้าวหุงหาอาหารดูแลบ้านเรือนไม่มี
ขาดตกบกพร่องชูชกไม่เคยต้องบ่นว่าหรือตักเตือนสั่งสอนแต่อย่างใดทั้งสิ้น ความประพฤติที่ดีเพียบพร้อมของนาง อมิตตดาทำให้เป็นที่สรรเสริญ
ของบรรดา พราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนั้น ในไม่ช้า

Next