:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่ เว็บไซต์ถ้าโลกนี้ไม่มีต้นไม้ค่ะ::  

ป่าเขตขั้วโลก

The Origin of Forest
ป่าของโลก
     ป่าเขตร้อน
     ป่าเขตอบอุ่น
     ป่าเขตขั้วโลก
ผืนป่าสำคัญของโลก
     ป่าอเมซอน
     ป่าแอฟริกากลาง
     ป่าเอเชียตะวัน
       ออกเฉียงใต้

     ป่าทามัน เนการ่า
     ป่าสนไทก้า

“ป่าเขตหนาว” หรือ “ป่าขั้วโลก” พบได้ตั้งแต่เส้นละติจูดที่ 58 องศเหนือขึ้นไปถึงขั้วโลก บริเวณนี้มีอากาศแบบทุนดรา (Tundra) ฝนตกน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี ฤดูร้อนอุณหภูมิไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส ซึ่งมีเพียง 3-4 เดือน ในฤดูหนาวอุณหภูมิอาจลดต่ำถึง -30 องศาเซลเซ๊ยส ส่งผลให้น้ำในดินชั้นล่างเย็นจัดจนกลายเป็นชั้นน้ำแข็งถาวร (Permafrost)

ไม้เด่นชนิดเดียวที่สามารถปรบตัวอยู่ได้เป็นบริเสณกว้าง คือ ต้นสน ที่พบทางทวีปอเมริกาเหนือ อะแลสกา ยุโรป และรัสเซีย
โดยป่าสนเขตหนาวเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลก พบได้ทางตอนบนของสแกนดิเนเวียและรัสเซีย รวมพื้นที่กว่า 3.5 ล้านตารางไมล์ คนมางซีกเหนือเรียกป่าสนชนิดนี้ว่า “ป่าสนไทก้า”(Taiga Forest) นอกจากนั้น ยังพบไม้เด่นที่รอง ๆ ลงมาไม่กี่ชนิด เช่น เฟอร์ สปรูซ ลาร์ซ (Larch) ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก พืชที่ฝังหัวในดิน หญ้า มอส และไลเคน

ที่มา : https://ohesvictory-science.wikispaces.com/Taiga

ป่าสนไทก้า

สัตว์ที่พบในป่าเขตหนาวสามารถปรับตัวทนทานต่ออากาศสุดขั้วได้ ทั้งด้วยวิธีการปรับสรีระและการจำศีล  โดยสัตว์บางชนิดได้พัฒนารูปร่างให้ใหญ่โตเพื่อต่อสู้กับอากาศหนาว เช่น กวางคาริบู (Caribou) ในทวีปอเมริกาเหนือ รัสเซีย และสแกนดิเนเวีย จะมีน้ำหนักได้ถึง 100-318 กิโลกรัม เช่นเดียวกับวัวป่ามัสก์ออกซ์ (Musk Ox) ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยจะหนักได้ถึง 180-400 กิโลกรัม เป็นต้น

สัตว์ในป่าขั้วโลกอันหนาวเย็นมักมีขนปกคลุมร่างกายหนา และมีขนหลานชุด เช่นมีขนสีคล้ำและเส้นบางในช่วงฤดูร้อน เพื่อให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต แต่จะสลัดขนชุดนี้ทิ้งเป็นขนหนาสีขาวในฤดูหนาว เช่น กระต่ายป่าอาร์กติก
ป่าเขตหนาวแม้มีความหลากหลายทางชีวภาพไม่มากเท่าป่าเขตอบอุ่นและป่าเขตร้อน แต่ก็มีอาญาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล ส่งผลให้มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศโลกอันสมดุล สภาพป่าที่ค่อนข้างโปร่ง ไม่รกทึบ ประกอบด้วยไม้เนื้ออ่อนอย่างสน ทำให้ง่ายต่อการบุกรุกแผ้วถาง จนกลายเป็นบริเวณที่มีสัมปทานการทำไม้มากที่สุดเขตหนึ่งในโลก โดยประมาณกันว่า ป่าเขตหนาวของแคนาดาเหลือพื้นที่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จากพื้นที่ป่าดั่งเดิมเช่นเดียวกีบรัสเซีย ที่มีการตัดป่าสนไทก้าในอัตราปีละ 120,000 ตารางกิโลเมตร

นั่นเท่ากับพื้นที่ป่าขนาดเท่ากับเกาะสิงคโปร์ 169 เกาะ หายไปในทุก ๆ ปี !?

     
 
|หน้าหลัก| |The Origin of Forest| |ป่าหายไปไหน| |ไร้ป่าไร้อนาคต| |เมื่อทั้งโลกช่วยกันรักษาป่า|
|คนไทยหัวใจรักษ์ป่า| |ป่าใกล้ตัวหัวใจสีเขียว| |กิจกรรมลดโลกร้อน| |แหล่งอ้างอิง| |คณะผู้จัดทำ|