:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่ เว็บไซต์ถ้าโลกนี้ไม่มีต้นไม้ค่ะ::  

ป่าเขตอบอุ่น

The Origin of Forest
ป่าของโลก
     ป่าเขตร้อน
     ป่าเขตอบอุ่น
     ป่าเขตขั้วโลก
ผืนป่าสำคัญของโลก
     ป่าอเมซอน
     ป่าแอฟริกากลาง
     ป่าเอเชียตะวัน
       ออกเฉียงใต้

     ป่าทามัน เนการ่า
     ป่าสนไทก้า

พบได้ในบริเวณเส้นละติจูดที่ 34-58 องศาเหนือและใต้ ป่าเหล่านี้ถอยห่างจากเส้นสศูนย์ จึงมีอากาศเย็น ปริมาณฝนลดลง และมีฤดูกาลชัดเจน ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว จนได้รับฉายาว่า ป่า 4 ฤดู หรือ 4 Season Forest

การมีฤดูกาลชัดเจนเช่นนี้ ทำให้พรรณไม้ในเขตอบอุ่นต้องทนทานต่อภูมิอากาศที่ต่างกัน   บางช่วงร้อน และบางช่วงหิมะโปรยปราย ลงมาสะสมเป็นชั้นหนา ต้นไม้จึงถึงเวลาพักตัว หยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว

ป่าผลัดใบเขตอบอุ่น

ที่มา : http://www.skn.ac.th/.../pladbi.htm
ป่าสนเขตอบอุ่น

ที่มา : http://www.alphabytheriver.com/
   

ป่าแบบเมดิเตอเรเนียน

ที่มา : http://www.alphabytheriver.com

ป่าไม่ผลัดใบเขตอบอุ่น

ที่มา : www.soc.nii.ac

ป่าเขตอบอุ่นแยกย่อยได้ 4 ประเภท คือ

  1. ป่าผลัดใบเขตอบอุ่น (Temperate Deciduous Forest)
  2. ป่าสนเขตอบอุ่น (Temperate Coniferous Forest)
  3. ป่าแบบเมดิเตอเรเนียน (Mediterranean Forest)
  4. ป่าไม่ผลัดใบเขตอบอุ่น (Temperate Evergreen Forest)

ทั้งหมดคิดเป็น 20 ล้านตารางกิโลเมตร ของพื้นที่ผิวโลกทั้งหมด หรือมากกวง่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของป่าทั้งหมดบนโลก
โดยพบในทวีปอเมริกาเหนือ แคนาดา ตะวันตกของยุโรป จีน ญี่ปุ่น ตอนบนของเกาหลี ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของรัสเซีย ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของยุโรป รวมถึงบางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ ตอนใต้ของแอฟริกา ออสเตรีย นิวซีแลนด์ และเกาะแทสมาเนีย

พืชเด่นของป่าเขตอบอุ่น ได้แก่ สน (Coniferous), บีช (Beech), เมเปิล (Maple), เชสท์นัท (Chestnut) ,ฮิกคอรี่ (Hickory) ,เฮมล็อก (Hemlock) ,เฟอร์ (Fir)} ล็อบลอลลี่ (Loblolly), สปรูซ (Spruce) ,ซีดาร์ (Cedar), ยูคาลิปตัส (Eucalyptus), วิลโล่ (Willow) ,เอลม์ (Elm) ,จำปีป่า (Magnolia) ,และไม้โอ๊ก(Oak) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อไม้ก่อ
โดยภาพป่าที่คนเมืองร้อนคุ้นตาก็คือ ป่าสน(Coniferous Forest) ที่แผ่กว้างปกคลุมพื้นที่หลายร้อยล้านไร่ ทั้งใน จีน อเมริกา แคนาดา ฯลฯ ป่าสนเติบโตได้ดีในปริมาณน้ำฝนประมาณ 650-1,500 มิลลิเมตรต่อปี โดยปกติอากาศจะเย็น ความชื้นสูง มีหมอกปกคลุมตลอดปี สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าแบบนี้ มีชนิดและจำนวนน้อยกว่าป่าเขตร้อน อาทิ สุนัขจิงจอก หมาป่า สิงโตภูเขา แพะภูเขา กวางป่า ควายไบซัน เป็นต้น

อุณหภูมิที่ลดต่ำลงเป็นอย่างมากในฤดูหนาวของป่าเขตอบอุ่น ส่งผลให่สิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้ไกลอย่าง นกกระเรียน เป็ด และห่านป่า พากันบินอพยพลงใต้ เพื่อค้นหาแหล่งที่อบอุ่นและมีอาหารสมบูรณ์กว่า ดังที่มีนกอพยพในฤดูหนาวนับร้อยชนิด
เมื่อเรานำต้นไม้ในเขตป่าอบอุ่นมาตัดขวางก็จะพบเส้นวงปี (Annual Rings) ที่มีขอบเขตชัดเจน หนาบ้าง บางบ้าง สลับกันระหว่างเส้นสีน้ำตางเข้มกับสีอ่อน โดยในช้วงฤดูใบไม้ผลิจะเป็นช่วงที่มีความชื้น น้ำ และอาหารสมบูรณ์ เส้นวงปีจะมีสีเข้มและกว้าง ส่วนในฤดูอื่นที่สภาพการดำรงชีพยากลำบาก เส้นวงปีของต้นไม้ก็มักจะแคบและมีสีอ่อน
เส้นวงปีของต้นไม้จะบอกเล่าเรื่องราวได้ไม่ต่างกับ “บันทึกทางธรรมชาติ” เลยทีเดียว

นอกจากนี้เปลือกต้นไม้ในเขตอบอุ่นมักหนา ไม่เรียน และแตกเป็นเกล็ดหรือร่องด้วนเหตุผลที่ว่า เปลือกหนานี้สามารถทนไฟ ทนแล้ง ปกกันการสูญเสียน้ำ อีกทั้งช่วยชะลอการไหลของน้ำฝน และดูดจับน้ำค้างไว้ใช้งานได้ดีกว่าเปลือกไม้เรียบ ๆ ส่วนใบของต้นไม้เขตอบอุ่นมักมีลักษณะแคบและมีขนาดเล็กกว่าไม้เมืองร้อน หรือไม่ก็วิวัฒนาการใบเป็นเกร็ดเล็ก ๆ เรียงซ็อนกันในลักษณะของใบสน เพื่อป้องกันการเสียหายและการคายน้ำเกินขนาดในภูมิอากาศที่แห้งและเย็นเกือบตลอดปีนั่นเอง
การที่ป่าเขตอบอุ่นมีฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไปมา ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่และหยุดชะงักเป็นช่วง ๆ ตามสภาพอากาศ ต้นไม้ในเขตอบอุ่นส่วนใหญ่จึงเป็นไม่โตช้า แต่เมื่อโตเต็มที่แล้วก็สามารถสูงเสียดฟ้าไม่ต่ำกว่า 50 เมตร เลยทีเดียว โดยนักพฤษกศาสตร์พบว่า ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอุบัติขึ้นในป่าเขตอบอุ่นของสหรัฐอเมริกา คือ ต้นไจแอนท์ เซควอญา (Sequoia : Sequoiadendron gigantenum) หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในนาม เรดวู้ด ไม้ยักษ์ชนิดนี้พบอยู่มากกว่า 200 ต้น ในอุทยานแห่งชาติโซเยมิติ(Yosemite National Park) รัฐแคลิฟอร์เนีย

โดยพวกมันได้รับยกย่องให้เป็น “สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่ และมีอายุยืนที่สุดในโลก” บางต้นมีอายุเกือบ 3,000 ปี โดยเฉพาะต้นที่ชื่อ กริซซ์ลี่ ไจแอนท์ (Grizzly Giant) มีความสูงถึง 209 ฟุต เส้นรอบวงที่โคนต้นยาว 100 ฟุต และมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง  28 ฟุต รวมน้ำฟหนักมากกว่า 2 ล้านปอนด์ หรือคิดเป็นเนื้อไม้ราว 30,000 ลูกบาศก์ฟุต ซึ่งสามารถสร้างบ้านได้ 30 หลังเชียว!
ธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของป่าเขตอบอุ่นก็คือ “การผลัดใบ”

ต้นไม้ในป่าส่วนใหญ่จะผลัดใบไม้ทิ้งในรช่วงฤดูใบไม้ร่วงก่อนเข้าฤดูหนาว เพื่อลดการคายน้ำทางใบ แล้วเข้าสู่ช่วงพักตัวชั่วคราว โดยปกติเราจะเห็นใบไม้เป็นสีเขียวเพราะคลิโรฟิลด์ แต่เมื่อถึงช่วงผลัดใบ ต้นไม้จะดึงคลอโรฟิลด์กลับเข้าสู่ลำต้น ทำให้สีส้ม แดง ม่วง เหลือง ชมพู ของสารคาร์โรทีนอยด์ที่เคบถูกคลอโรฟิลด์ปิดทับอยู่ เผยขึ้นมาอวดสายตา

โดยสารคาร์โรทีนอยด์มีหน้าที่ป้องกันแดดมิให้ทำลายคลอโรฟิลด์ ขณะที่ต้นไม้ดึงกลับสู่ลำต้น เวลาผ่านไป 1-2 สัปดาห์ สีสดใสของใบไม้ก็จะหายไป เหลือทิ้งไว้เพียงใบไม้ที่แห้งเหี่ยว แล้วปลิดปลิวร่วงหล่น

     
 
|หน้าหลัก| |The Origin of Forest| |ป่าหายไปไหน| |ไร้ป่าไร้อนาคต| |เมื่อทั้งโลกช่วยกันรักษาป่า|
|คนไทยหัวใจรักษ์ป่า| |ป่าใกล้ตัวหัวใจสีเขียว| |กิจกรรมลดโลกร้อน| |แหล่งอ้างอิง| |คณะผู้จัดทำ|