ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์แถบร้อนชื้น (Tropical Zone ) จึงมีป่าไม้อุดม
สมบูรณ์ ปริมาณน้ำฝนที่ตกมากในแต่ละปี ทำให้มีความชุ่มชื้นตลอดเวลา มีแหล่งน้ำ
ที่สมบูรณ์มีสภาพป่าหลายชนิด จึงก่อให้เกิดความหลากหลายของสภาพถิ่นที่อยู่
อาศัยของสัตว์ป่าแตกต่างกันออกไปมากมาย เช่น ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้า แอ่งน้ำ แนวปะการัง เป็นต้นจากความหลากหลายของสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยนี่เอง ประเทศไทยจึงมีความหลากหลายของสัตว์ป่ามากตามไปด้วย ซึ่งปัจจุบันมีการสำรวจ
พบสัตว์ป่าในประเทศไทยมากมายหลายชนิด โดยจำนวนชนิดของสัตว์ป่าทีสำรวจพบ
ในประเทศไทยจะมีจำนวนเท่า ๆ กับจำนวนชนิดของสัตว์ป่าที่สำรวจพบในทวีปยุโรป
ทั้งทวีป ซึ่งสามารถจำแนกสัตว์ป่าออกเป็นกลุ่ม ๆ คือ กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กลุ่มนก กลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน และกลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งแต่ละกลุ่มของสัตว์ป่าจะมี
ความหลายทางชนิดเดียวกันกับพืชซึงสามารถจำแนกประเภของสัตว์ออกเป็นประเภท
ใหญ่ๆ ได้ดังนี้
 
    สิ่งมีชีวิตที่จะจัดให้เป็นพวกสัตว์ได้ คือ
          1. จะต้องเป็นพวกยูคาริโอทและมีจำนวนหลายเซลล์ (multi-cellular organisms)
          2. เป็นพวกที่ไม่มีผนังเซลล์
          3. เป็นพวกที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ จะต้องกินสิ่งอื่นเป็นอาหาร
          4. ส่วนใหญ่สามารถเคลื่อนที่ได้ อาจจะในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตหรือ
ตลอดชีวิต
     วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ

          1. บอกหลักเกณฑ์ในการจำแนกสัตว์ออกเป็นหมวดหมู่ได้
          2. อธิบายลักษณะร่วมของสิ่งมีชีวิตที่จำแนกไว้ในไฟลัมเดียวกันได้
          3. บอกประโยชน์และโทษของสัตว์ในแต่ละไฟลัมได้
          4. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของสัตว์และสายวิวัฒนาการ (phylogeny) ได้สิ่งมีชีวิตที่จะถูกจัดให้อยู่ในอาณาจักรสัตว์ได้จะต้องมีลักษณะเฉพาะ
ร่วมกันซึ่งลักษณะดังกล่าวจะแยกสิ่งมีชีวิตนั้นๆให้แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตในอาณาจักร
อื่น   
 
   กลับ   |   ด้านบน