กำเนิดนาฏศิลป์อินเดียและตำนานการฟ้อนรำ

ประเภทของนาฏศิลป์อินเดีย

          โดยทั่วไปแล้วนาฏศิลป์อินเดียนั้นสามารถแบ่งโดยใช้เกณฑ์ด้านลีลาและลักษณะการแสดงออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่ ภารตนาฏยา หรือ

ภารตนาฏยัม, กถกฬิ, กถัก และมณีปุรี ภารตนาฏยา(Bharata  natya)

“ภารต นาฏยา”(Bharata natya)  หรือ “ภารตนาฏยัม”  คือ การแสดงการร่ายรำที่ถือว่าเก่าแก่มากที่สุดของอินเดีย และถือว่าเป็นแม่แบบทางด้าน

การสะครด้วย เพราะการแสดงนาฏศิลป์ประเภทนี้ได้รับแบบแผนการแสดงมาจากตำรานาฏยศาสตร์ของ พระภรตมุนีผู้ได้รับการถ่ายทอดการฟ้อนรำจาก

พระอิศวร และนำมารจนาเป็นตำราชื่อ “นาฏยศาสตร์” และการแสดงในตอนนั้นเรียกว่า “การฟ้อนรำแบบนาฏราช” การแสดงภารตนาฏยานั้นเดิมใช้ผู้หญิง

แสดงล้วน เพราะผู้หญิงเหล่านี้มีหน้าที่ร่ายรำถวายพระพรพระผู้เป็นเจ้าที่เทวาลัย ผู้หญิงเหล่านี้เรียกว่า “เทวทาสี” การแสดงภารตนาฏยามีลีลาการแสดง

ที่รวดเร็ว มีการใช้ภาษานาฏศิลป์ที่สลับซับซ้อน  บทเพลงก็นำมาจากเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาฮินดู ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงมีกลอง

ฉิ่ง และไวโอลิน วิธีการแสดงภารตนาฏยานั้นก่อนเริ่มการแสดงต้องมีการแสดงการไหว้ครูที่เรียก ว่า “อลาริปุ” (ALARIPPU) แปลว่า การโปรยดอกไม้

เช่นเดียวกับการรำอวยพรของไทยที่มีการโปรยดอกไม้ จากนั้นจึงเริ่มแสดงเรื่องราวอันเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าเป็นการรำเบิกโรง  หมายถึง  ดอกไม้ที่บูชา

เทพเจ้า  การรำเบิกโรงนี้เป็นการไหว้ครูบูชาองค์พระอิศวร

1.  การแสดง ผู้แสดงต้องได้รับการฝึกฝนอย่างมีแบบแผน ด้วยระยะเวลายาวนานจนมีฝีมือยอดเยี่ยม สามารถเครื่องไหวร่างกายได้สอดคล้องกับจังหวะ

ดนตรี เนื้อหาสาระของการแสดง สะท้อนสัจธรรมที่ปลูกฝังยึดมั่นในคำสอนของศาสนา แสดงได้ทุกสถานที่ ไม่เน้นเวที ฉาก เพราะความโดดเด่นที่เป็น

เอกลักษณ์ของภารตะนาฏยัม คือลีลาการเต้น และการ่ายรำ

2.  ดนตรี ที่ใช้ประกอบการแสดง ในวงดนตรีจะมีผู้ขับร้อง 2 คน คนหนึ่งจะตีฉิ่ง คอยให้จังหวะแก่ผู้เต้น อีกคนจะเป็นผู้ขับร้องและตีกลองเป็นหัวใจสำคัญ

ของการแสดงภารตะนาฏยัม ส่วนเครื่องดีด และเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย เป็นเพียงส่วนประกอบให้เกิดความไพเราะเท่านั้น

3.  เครื่องแต่งกาย ในยุคโบราณ จากหลักฐานที่ปรากฏตามรูปปั้น รูปแกะสลัก ไม่สวมเสื้อ สวมแต่ผ้านุ่งยาวแค่เข่า ใส่เครื่องประดับ สร้อยคอ ต่างหู

กำไล ข้อมือ ข้อเท้า ต้นแขน ปละเครื่องประดับที่ศีรษะ ปัจจุบันสวมเสื้อ ยึดหลักการแต่งกายสตรีที่เป็นชุดประจำชาติของอินเดีย

 

ย้อนกลับ

สร้างโดย: 
ครูวไลลักษณ์ ดิษพึ่ง.น.ส.ขวัญฤดี ศรีแสง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 252 คน กำลังออนไลน์