ระบบนิเวศ

1. ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด
        1.1 ความสำคัญ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำ, เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์และสัตว์ต่างๆเป็นแหล่งที่ให้น้ำในการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร
        1.2 ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำจืด
                     พืช เช่น จอก สาหร่าย แหน 
                     สัตว์ เช่น หอย ปลาต่างๆ กุ้ง
        1.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงชีพ
                      ปัจจัยต่างๆ ตามธรรมชาติ ได้แก่ แสง อุณหภูมิ ปริมาณก๊าซออกซิเจน ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณแร่ธาตุ ความขุ่นใสของน้ำ
                      ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ชนิด และปริมาณของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
                      ปัจจัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งเมื่อชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ จะไปทำลายสิ่งมีชีวิตใน น้ำบางชนิด ทำให้มีผลกระทบต่อการถ่ายทอดพลังงานและสมดุลทางธรรมชาติในแหล่งน้ำ
         1.4 สิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ
                      ผู้ผลิต ได้แก่ พืชต่างๆ ซึ่งในแหล่งน้ำมีทั้งที่เป็นพวกแพลงก์ตอน (Plankton) สาหร่ายต่างๆ เฟิร์น และพืชดอก
                      ผู้บริโภค ได้แก่ พวกแพลงก์ตอนสัตว์ แมลงต่างๆ และสัตว์พวกกินซากอินทรีย์
ผู้ย่อยสลาย มีทั้งพวกแบคทีเรีย เห็ด รา
         1.5 ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด มี 2 ระบบ คือ
                       ก. ชุมชนในแหล่งน้ำนิ่ง
                ผู้ผลิต คือ พืชที่มีรากยึดอยู่ในพื้นดินใต้ท้องน้ำ เช่น พวก กก บัว กระจูด นอกจากนี้ ยังมีแพลงก์ตอนพืช และพืชลอยน้ำต่างๆ เช่น สาหร่าย ไดอะตอม แหน จอก เป็นต้น
                ผู้บริโภค คือ สิ่งมีชีวิตที่เกาะอยู่ตามท้องน้ำ แพลงก์ตอน และสิ่งมีชีวิตที่เกาะอยู่ตามต้นไม้ หรือใบไม้ของพืชน้ำ เช่น หอยโข่ง หอยขม ไฮดรา พลานาเรีย

                                              ข. ชุมชนในแหล่งน้ำไหล
                                เขตน้ำไหลเชี่ยว (Rapid Zone) เป็นบริเวณที่กระแสน้ำไหลปรง ก้นลำธารสะอาด ไม่มีการสะสมของตะกอนใต้น้ำ เหมาะกับการดำรงของสิ่งมีชีวิตพวกที่สามารถเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำได้ หรือคืบคลานไปมาได้สะดวก หรือ พวกที่สามารถว่ายน้ำที่สู้ความแรงของกระแสน้ำได้ จะไม่พบแพลงก์ตอน
                                เขตน้ำไหลเอื่อย (Pool Zone) เป็นบริเวณที่มีความลึกและความเร็วของกระแสน้ำลดลง มีการ           ตกตะกอนของอนุภาคใต้น้ำ การทับถมของตะกอนมาก เหมาะกับพวกที่ขุดรูอยู่และพวกที่ว่ายน้ำไปมา     ได้อย่างอิสระ รวมทั้งแพลงก์ตอนด้วย

           1.6 การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในชุมชนแหล่งน้ำไหลแรง
                                - สามารถเกาะติดแน่นกับพื้นที่ผิวอาศัยอยู่
                                - มีโครงสร้างสำหรับเกาะหรือดูดติดกับพื้นผิวอย่างมั่นคง
                                - สามารถสกัดเมือกเหนียวใช้ยึดเกาะ เช่นหอย
                                - มีรูปร่างเพรียว เพื่อลดความต้านทานของกระแสน้ำ
                                - มีรูปร่างแบนราบไปกับพื้นที่ผิวที่เกาะ
                                - ชอบว่ายทวนน้ำอยู่เสมอ
                                - เกาะติดกับพื้นผิวหรือซุกซ่อนตัวตามวัตถุใต้น้ำ

สร้างโดย: 
nattaporn63

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 325 คน กำลังออนไลน์