ด้านตุลาการ

 

         ประชาธิปไตยทางด้านการศาลของเอเธนส์คือการโอนอำนาจการพิจารณาคดีจากคนกลุ่มเล็กๆไปสู่ศาลของประชาชน เรียกว่า เฮลิอากา(heliaca)

         ศาลนี้ประกอบด้วยลูกขุน 6,000 คน โดยเลือกมาจากพลเมืองของเอเธนส์ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ลูกขุนจำนวน 6,000 คนนี้แบ่งออกเป็น 10 คณะ คณะละประมาณ 500 คนที่เหลืออีกราวๆ 1,000คน เป็นจำนวนที่สำรองไว้ในกรณีฉุกเฉินหรือเมื่อเกิดที่นั่งว่างลง คดีเล็กๆที่ไม่สำคัญหรือคดีระดับท้องถิ่นใช้คณะผู้พิพากษา 30 คน คดีสำคัญเช่น คดีโซกราตีส ใช้คณะลูกขุนถึง 1,200 คน และเพื่อนหลีกเลี่ยงการติดสินบน คณะผู้พิพากษาหรือลูกขุนจะเลือกกันในนาทีสุดท้ายและตามปกติแล้วคดีต่างๆ จะพิจารณาแล้วเสร็จในวันเดียว

         เป็นที่น่าสังเกตุว่าจุดอ่อนของประชาธิปไตยของเอเธนส์อยู่ตรงที่สิทธิทางกฏหมายนั้นจำกัดอยู่เพียงแค่เสรีชน ซึ่งเป็นคนจำนวน 1/6 ของประชาขนทั้งหมดเท่านั้น แม้แต่สตรีและเด็กที่เป็นเสรีชนก็ถูกกีดกันไม่ให้มีความเสมอภาคในทางกฎหมาย

         ในสังคมเอเธนส์คนส่วนใหญ่ได้แก่คนต่างด้าว และทาส คนเหล่านี้จะฟ้องร้องได้ต่อเมื่อมีผู้อุปถัมภ์ที่เป็นพลเมืองยอมดำเนินการให้เท่านั้น

         อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีจุดอ่อนอยู่บ้าง แต่ก็นับได้ว่าประชาธิปไตยของเอเธนส์นั้นถือกฎหมายเป็นหัวใจสำคัญของการปกครอง กฎหมายสร้างระเบียบและให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน ซึ่งถ้าขาเสียแล้วการส่งเสริมกิจกรรมในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ ตลอดจนศีลธรรมจรรยาของคนในรัฐย่อมเป็นไปไม่ได้

         ข้อน่าสังเกตุอีกประการหนึ่ง คือ ในอารยธรรมยุตแรก ประชาชนทั่วๆไปในรัฐใดรัฐหนึ่งไม่เคยมีส่วนมีเสียงในเรื่องใดๆ ภายในกิจการของรัฐที่ตนสังกัดอยู่เลย ในเมโสโปเตเมียผู้มีอำนาจปกครองคือพระและกษัตริย์ ส่วนในอียิปต์ ฟาโรห์ ผู้เป็นพระเจ้าเป็นผู้ปกครอง การปกครองแบบที่ประชาชนมีส่วนมีเสียงในการปกครองและมีฐานะเป็นพลเมืองประกฏเป็นครั้งแรกในนครรัฐกรีก เช่นเดียวกับที่ประชาชนมีทั้งสิทธิแล้วหน้าที่ต่อรัฐ

         ในทางด้านสังคมและเศรษฐ์กิจ เมื่อเริ่มเข้าสู่สมัยอารยธรรม ชาวกรีกรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนประกอบอาชีพทางเกษตรและเลี้ยงสัตว? แต่ละชุมชนผลิตอาหารและเครื่องแปโภคใช้กันเอง ชุมชนกรีกดังกล่าวนี้ไว้ในมหากาพย์ของกรีก 2 เรื่อง คือ โอเดสซี(Odessey)และ อีเลียด(Iliad)ของโฮเมอร์(Homer)ตลอดจนในบันทึกของชาวอียิปต์ และชาวอิทไทต์ ชุมชนกรีกในสมัยแรก ดังที่ปรากฎในมหากาพย์ทั้งสองดังกล่าวประกอบด้วยชนชั้นผู้ปกครคองหรือชนชั้นสูง และสามัญช น โดยชนชั้นผู้ปกครองหรือชนชั้นสูงทำหน้าที่ให้ความคุ้มครองและเป็นผู้นำในการรบ มีกษัตริย์เป็นประมุขในการปกครองส่วนสามัญชนนั้นประกอบด้วยเกษตรกรที่มีที่ดินของตนเอง หรือเช่าที่นาทำกิน ช่างฝีมือ ลูกจ้างและทาส

         ครั้นต่อมาในช่วงระหว่างปี 800-500 ก่อนคริสต์ศักราช ชุมชนกรีกค่อยๆ วิวัฒนาการจากการเป็นเกษตรกรพอเลี้ยงตัวได้มาเป็นชุมชนนครรัฐมีความเจริญก้าวหน้าและรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม ด้วยเหตุที่ชุมชนนครรัฐกระจัดกระจายกันอยู่และเจริญเติบโตเป็นอิสระต่อกัน แต่ละนครรัฐจึงมีการปกครองเศรษฐกิจ และสภาพสังคมแตกต่างกันไป และสามารถเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันชนชั้นต่างๆในสังคมกรีกระยะนี้ประกอบด้วย
    ก.ชนชั้นผู้นำ ประกอบด้วยผู้นำตระกูลต่างๆ ซึ่งเป็นพวกที่รวมกำลังขจัดการปกครองของประมุข(คือระบบกษัตริย์) และจัดตั้งการปกครองใหม่ที่เป็นแบบอภิชนาธิปไตย (Atistocracy) ซึ่งมอบอำนาจทางการเมืองการปกครองให้แก่สภาชนชั้นสูงที่เป็นสถาบันกำหนดนโยบายต่างของนครรัฐ
    ข. ชนชั้นพ่อค้า ช่างฝีมือ และกสิกร เนื่องจากนครรัฐกรีกมีการขยายตัวทางการค้ามากแถบทะเลดำ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นเหตุให้กรีกมีการพัฒนาเป็นพ่อค้าแนวหน้าในบริเวณนี้โดยปริยายและมีการส่งเสริมให้ชาวกรีกโดยเฉพาะช่างฝีมือมือ ผลิตสินค้าตอบสนองความต้องการของตลาดที่มีคุณภาพสูงทั้งทางศิลปะและเทคนิค เช่น เครื่องถ้วยชาม มีการเปลื่ยนแปลงวิธีการผลิตทางการเกษตร กสิกรกรีกเลิกเพาะปลูกข้าวสาลีในบริเวณเทือกเขา หันมาเพาะปลูกพืชผลที่ตลาดใหม่ๆต้องการ คือ องุ่น มะกอก และการเลี้ยงปศุสัตว์ในที่ดินขนาดใหญ่
    ค.ทาส เป็นผู้ที่ใช้แรงงานในที่ดินของชนชั้นผู้นำและกสิกร พวกนี้เป็นชนพื้นเมืองหรือเชลยที่ได้จากการทำสงคราม

        เมื่อนครรัฐกรีกทวีความรุ่งเรืองทางการค้าสภาพสังคมและการเมืองของนครรัฐกรีกก็เปลื่ยนแปลงไปตามสภาพทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ เกิดกลุ่มชนที่มีฐานะร่ำรวยและกลุ่มที่มีฐานะยากจน ชาวนาผู้ที่มีที่ดินเล็กน้อยจำนวนมากต้องสูญเสียที่ดินของตนเองให้แก่พ่อค้าผู้ร่ำรวยและกว้านหาที่ดินเพื่อผลิตพืชผลที่ตลาดต้องการออกขาย เมื่อชนส่วนใหญ่ยากจนเป็นหนี้และไร้ที่ทพมาหากินก็มีการเคลื่อยไหวเรียกร้องให้มีการปฏิรูปและยกเลิกภาวะหนี้สิน  ส่วนสามัญชนที่ร่ำรวยขึ้นก็อยากจะมีสิทธิ์ในการปกครองเช่นเดียวกับชนขั้นสูงในนครรัฐเอเธนส์มีผู้ปกครองผู้หนึ่งที่มีความสามารถคือ โวลอน(Solon 638-559 B.C.)ได้ทำการปฏิรูปสังคม โดยการออกกฏหมายพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์ของชนชั้นยากไร้และให้สิทธิทางการเมืองแก่ชนชั้นนี้ที่จะควบคุมและจำกัดอำนาจตลอดจนกิจกรรมการเมืองของชนชั้นปกครอง

        กรีกมีภมิฐานประเทศที่เต็มไปด้วยหุบเขาและภูเขาที่สลับซับซ้อน และไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกธัญญพืชหลักต่างๆเช่นข้าว เป็นต้น พื้อที่ส่วนใหญ่จึงใช่ในการเพาะปลูกมากอก และองุ่นซึ่งเหมาะกับดาฟ้าอากาศแบบเมดิเตอร์เลเนียน และเหมาะสมกับภมิประเทศกล่าวคือสามารถเพราะปลูกตามบริเวณหุบเขาและไหล่เขาได้

        พื้นฐานทางเศรษฐกิจของนครรัฐกรีกคือการประกอบอุตสาหกรรมการเกษตร คือทำน้ำมันมะกอก(จากมะกอก)และทำเหล้าองุ่น (จากองุ่น) ส่งไปขายต่างแดน สินค้าที่ขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งของกรีกคือเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีโรงงานเล็กๆ มากมายประดิษฐ์เครื่องถ้วยชามขาย จะเห็นได้ว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจของกรีกอยู่ที่อุตสาหกรรมการเกษตร มิใช่อยู่ที่การทำการเกษตรแบบลุ่มแม่น้ำเหมือนเมโสโปเตเมียและอียิปต์

        กรีกมีความมั่นคงและมีอิทธิพลเนื่องจากทำการค้ากับต่างแดน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าภูมิประเทศของกรีกไม่เอื้ออำนวยต่อการเกษตร ผลผลิตมีไม่เพียงพอ นอกจากนั้นทำเลที่ตั้งของประเทศก็เหมาะสมต่อการค้า กล่าวคือ มีเส้นทางติดต่อกับยุโรปทั้งทางเหนือ ตอนกลาง และทางตอนใต้

        ในส่วนของการค้าภายใน เนื่องจากกรีกมีหลายนครรัฐ แต่ละนครรัฐก็มีการออกเงินตราใช้ไม่เหมือนกัน จึงมีคนกลุ่มหนึ่งที่รับแลกเปลื่ยนเงินตรงของแต่ละรัฐเพื่อเก็งกำไร ลักษณะนี้คล้ายๆกับระบบการธนาคารที่มีการรับซื้อแลกเปลื่ยน กู้ยืมเงิน

<<   สภาราษฎร    สภาห้าร้อย

  

  

สร้างโดย: 
นางสาว ปวีณา วิริยะมั่นพงศ์ และครูที่ปรึกษา คุณครูพีรทิพย์ สุคันธเมศวร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 534 คน กำลังออนไลน์