• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:f7c3edf77605a2861fba67f76dd322a6' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><h2>จันทรุปราคาคืนวันมาฆบูชา</h2>\n<div class=\"meta\"><span class=\"date\">1 มีนาคม 2550</span> <span class=\"reportby\">วรเชษฐ์ บุญปลอด (<a href=\"mailto:worachateb@hotmail.com\"><span style=\"text-decoration: underline;\"><span style=\"color: #0000ff;\">worachateb@hotmail.com</span></span></a>)</span></div>\n<p>หลังเที่ยงคืนของคืนวันมาฆบูชาซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 3 มีนาคม ย่างเข้าสู่เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม 2550 ดวงจันทร์จากที่เคยเห็นสว่างเต็มดวงก่อนหน้านั้นจะถูกเงามืดของโลกเข้าบดบัง ทำให้ดวงจันทร์แหว่งและมืดคล้ำลง เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาหรือเรียกอีกอย่างว่าจันทรคราสและราหูอมจันทร์</p>\n<p>จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดได้ในเฉพาะคืนวันเพ็ญและในจังหวะเวลาที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงาโลก เงาที่เกิดขึ้นนี้มีอยู่สองชนิด ได้แก่ เงามืดและเงามัว จันทรุปราคาจึงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ จันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาเงามัว</p>\n<p><center><img src=\"/files/u9/lunareclipse_diagram.png\" alt=\"\" width=\"500\" height=\"157\" border=\"0\" /><br /> การเกิดเงามืดและเงามัวระหว่างจันทรุปราคา (ไม่ได้วาดตามมาตราส่วนจริง)</center></p>\n<p>&nbsp;</p>\n<p><strong>จันทรุปราคาเต็มดวง</strong>เกิดเมื่อดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดหมดทั้งดวง ดวงจันทร์จึงมืดคล้ำลงมากแต่ไม่มืดสนิท ส่วนใหญ่มีสีส้มแดงหรือน้ำตาล <strong>จันทรุปราคาบางส่วน</strong>เกิดเมื่อดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดเพียงบางส่วนจึงเห็นดวงจันทร์แหว่ง <strong>จันทรุปราคาเงามัว</strong>เกิดเมื่อดวงจันทร์เข้าไปในเงามัวเท่านั้น ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดผ่านเข้าไปในเงามืด จึงเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวงอยู่อย่างนั้น ที่ต่างไปจากเดิมคือดวงจันทร์จะลดความสว่างลงเล็กน้อย ดังนั้นมันจึงไม่ค่อยเป็นที่สนใจมากเท่าสองประเภทแรก</p>\n<p>จันทรุปราคาครั้งที่จะเกิดขึ้นในคืนวันเสาร์นี้ หากยึดตามหลักการเปลี่ยนวันในเวลาเที่ยงคืนก็จะถือได้ว่าเกิดในวันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม 2550 ดวงจันทร์เริ่มเข้าไปในเงามัวของโลกตั้งแต่เวลา 3.18 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงจันทร์ปรากฏอยู่เหนือท้องฟ้าทิศตะวันตกในกลุ่มดาวสิงโต กึ่งกลางระหว่างขอบฟ้ากับจุดเหนือศีรษะโดยมีดาวเสาร์อยู่ต่ำลงไป ห่างกันประมาณขนาดของฝ่ามือเมื่อกางมือของเราออกแล้วเหยียดแขนออกไปให้สุด อย่างไรก็ตามเรายังจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นกับดวงจันทร์จนกระทั่งเวลาประมาณ 4.10 น. ขอบดวงจันทร์ด้านซ้ายมือค่อนไปทางด้านบนจะเริ่มคล้ำลงจนสังเกตเห็นได้ ดวงจันทร์มืดสลัวลงทีละน้อยจนเริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 4.30 น. ซึ่งจะเห็นขอบดวงจันทร์ด้านนี้เริ่มแหว่ง</p>\n<p>ก่อนตี 5 ครึ่งเล็กน้อย ดาวเสาร์จะตกลับขอบฟ้าขณะที่ดวงจันทร์แหว่งไปเกินกว่าครึ่งดวง เงามืดของโลกเข้าบังดวงจันทร์ลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงเวลา 5.44 น. เป็นเวลาที่ดวงจันทร์ทั้งดวงเคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลกและเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง แสงอาทิตย์ที่หักเหผ่านบรรยากาศโลกไปตกที่พื้นผิวดวงจันทร์ทำให้ดวงจันทร์ไม่มืดสนิทอย่างที่ควรจะเป็น แต่มีสีน้ำตาล สีแดงอิฐ หรือสีส้ม ไม่กี่นาทีต่อมาหลังจากนั้นแสงเงินแสงทองจะเริ่มจับขอบฟ้า ท้องฟ้าจึงค่อย ๆ สว่างขึ้นในขณะที่ดวงจันทร์ยังอยู่ในเงามืดของโลก</p>\n<p>เวลา 6.21 น. ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดลึกที่สุดและใกล้จะตกลับขอบฟ้าแล้ว ขณะนี้ท้องฟ้าจะสว่างเป็นสีฟ้า ที่กรุงเทพฯ ดวงอาทิตย์จะขึ้นเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลา 6.33 น. ส่วนดวงจันทร์จะตกทางทิศตะวันตกในเวลา 6.37 น.</p>\n<p>เวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงจันทร์ตกในจังหวัดอื่น ๆ จะต่างไปจากนี้ เช่น เชียงใหม่ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.42 น. ดวงจันทร์ตกเวลา 6.46 น. ภูเก็ตดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.39 น. ดวงจันทร์ตกเวลา 6.43 น. ส่วนที่อุบลราชธานีดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.16 น. ดวงจันทร์ตกเวลา 6.20 น.</p>\n<table style=\"width: 500px;\" border=\"1\" cellspacing=\"0\" cellpadding=\"3\">\n<tbody>\n<tr>\n<th class=\"tablehead\" colspan=\"3\">ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 4 มีนาคม 2550</th>\n</tr>\n<tr bgcolor=\"#e7e7e7\">\n<td align=\"center\"><strong>เหตุการณ์</strong></td>\n<td align=\"center\"><strong>เวลา</strong></td>\n<td align=\"center\"><strong>มุมเงย<br /> ของดวงจันทร์</strong><br /> (ที่กรุงเทพฯ)</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก (ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง)</td>\n<td align=\"center\">3.18 น.</td>\n<td align=\"center\">47°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่ง)</td>\n<td align=\"center\">4.30 น.</td>\n<td align=\"center\">29°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง)</td>\n<td align=\"center\">5.44 น.</td>\n<td align=\"center\">12°</td>\n</tr>\n<tr bgcolor=\"#e5e5e5\">\n<td>ดวงอาทิตย์ขึ้น (อุบลราชธานี)</td>\n<td align=\"center\">6.16 น.</td>\n<td align=\"center\">-</td>\n</tr>\n<tr bgcolor=\"#e5e5e5\">\n<td>ดวงจันทร์ตก (อุบลราชธานี)</td>\n<td align=\"center\">6.20 น.</td>\n<td align=\"center\">-</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด)</td>\n<td align=\"center\">6.21 น.</td>\n<td align=\"center\">3°</td>\n</tr>\n<tr bgcolor=\"#e5e5e5\">\n<td>ดวงอาทิตย์ขึ้น (กรุงเทพฯ)</td>\n<td align=\"center\">6.33 น.</td>\n<td align=\"center\">-</td>\n</tr>\n<tr bgcolor=\"#e5e5e5\">\n<td>ดวงจันทร์ตก (กรุงเทพฯ)</td>\n<td align=\"center\">6.37 น.</td>\n<td align=\"center\">-</td>\n</tr>\n<tr bgcolor=\"#e5e5e5\">\n<td>ดวงอาทิตย์ขึ้น (ภูเก็ต)</td>\n<td align=\"center\">6.39 น.</td>\n<td align=\"center\">-</td>\n</tr>\n<tr bgcolor=\"#e5e5e5\">\n<td>ดวงอาทิตย์ขึ้น (เชียงใหม่)</td>\n<td align=\"center\">6.42 น.</td>\n<td align=\"center\">-</td>\n</tr>\n<tr bgcolor=\"#e5e5e5\">\n<td>ดวงจันทร์ตก (ภูเก็ต)</td>\n<td align=\"center\">6.43 น.</td>\n<td align=\"center\">-</td>\n</tr>\n<tr bgcolor=\"#e5e5e5\">\n<td>ดวงจันทร์ตก (เชียงใหม่)</td>\n<td align=\"center\">6.46 น.</td>\n<td align=\"center\">-</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด)</td>\n<td align=\"center\">6.58 น.</td>\n<td align=\"center\">-6°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์ออกจากเงามืดทั้งดวง)</td>\n<td align=\"center\">8.11 น.</td>\n<td align=\"center\">-23°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก</td>\n<td align=\"center\">9.24 น.</td>\n<td align=\"center\">-40°</td>\n</tr>\n</tbody>\n</table>\n<p>จุดที่น่าสนใจอย่างหนึ่งสำหรับจันทรุปราคาครั้งนี้ก็คือ ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบังหมดทั้งดวงในขณะที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากกลางคืนไปสู่กลางวัน จึงเป็นไปได้ว่าขณะที่ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดลึกที่สุดนี้ ท้องฟ้าจะสว่างมากจนเราอาจไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้หรือเห็นได้เพียงลาง ๆ ให้ลองสังเกตดวงจันทร์ด้วยตาเปล่าและด้วยทัศนูปกรณ์ที่มีอยู่ เช่น กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลา 6.00 - 6.40 น. และเนื่องจากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงที่ดวงจันทร์กำลังจะตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก ดังนั้นหากต้องการสังเกตให้ชัดเจนควรหาสถานที่ที่ไม่มีสิ่งใดบดบังขอบฟ้าทิศดังกล่าว หรือหากเป็นไปได้อาจสังเกตจากตึกสูง</p>\n<p>นอกจากประเทศไทยแล้วบางส่วนของทุกทวีปในโลกมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ด้วยพร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น ทวีปยุโรปและแอฟริกาเห็นขณะเริ่มเกิดปรากฏการณ์ในค่ำวันที่ 3 มีนาคมตามเวลาท้องถิ่น อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้เห็นได้ในค่ำวันเดียวกันแต่เป็นช่วงท้ายของปรากฏการณ์ขณะดวงจันทร์ขึ้นทางทิศตะวันออก ส่วนในเอเชียตะวันออก ตอนกลางของจีน และตะวันตกของออสเตรเลียจะเห็นได้ในเช้ามืดวันที่ 4 มีนาคมขณะดวงจันทร์ใกล้จะตกเช่นเดียวกับประเทศไทย</p>\n<p>จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในรอบ 3 ปีสำหรับคนไทยในประเทศ และเป็นอุปราคาครั้งแรกจากทั้งหมด 4 ครั้งที่เกิดในปีนี้ อีก 15 วันถัดไป เช้าวันจันทร์ที่ 19 มีนาคมจะเกิดสุริยุปราคาบางส่วนเห็นได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย และหากท้องฟ้าเปิดไม่มีเมฆฝนเป็นอุปสรรคเราจะมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาในช่วงเวลาหัวค่ำของวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2550</p>\n<h3>ประมาณค่าความสว่างของดวงจันทร์</h3>\n<p>เราสามารถคะเนความสว่างและสีของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงได้โดยการสังเกตดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแบ่งได้ตามมาตราดองชง (Danjon\'s scale) ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่เป็นผู้ริเริ่มกำหนดมาตรานี้ เรียกย่อ ๆ ว่าค่าแอล (L) มีค่าจาก 0 ถึง 4 และสามารถประมาณค่าเป็นทศนิยมได้ สีและความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับศูนย์กลางเงา ปริมาณเมฆและฝุ่นละอองในบรรยากาศโลก โดยมีเกณฑ์กำหนดดังที่แสดงในตาราง ถ้าจะให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดที่สุด อาจทำการประมาณค่าแอลทุก ๆ 10-20 นาที นับตั้งแต่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง</p>\n', created = 1720849047, expire = 1720935447, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:f7c3edf77605a2861fba67f76dd322a6' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

จันทรุปราคาคืนวันมาฆบูชา : 3/4 มีนาคม 2550

รูปภาพของ ssspoonsak

จันทรุปราคาคืนวันมาฆบูชา

1 มีนาคม 2550 วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@hotmail.com)

หลังเที่ยงคืนของคืนวันมาฆบูชาซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 3 มีนาคม ย่างเข้าสู่เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม 2550 ดวงจันทร์จากที่เคยเห็นสว่างเต็มดวงก่อนหน้านั้นจะถูกเงามืดของโลกเข้าบดบัง ทำให้ดวงจันทร์แหว่งและมืดคล้ำลง เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาหรือเรียกอีกอย่างว่าจันทรคราสและราหูอมจันทร์

จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดได้ในเฉพาะคืนวันเพ็ญและในจังหวะเวลาที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงาโลก เงาที่เกิดขึ้นนี้มีอยู่สองชนิด ได้แก่ เงามืดและเงามัว จันทรุปราคาจึงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ จันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาเงามัว


การเกิดเงามืดและเงามัวระหว่างจันทรุปราคา (ไม่ได้วาดตามมาตราส่วนจริง)

 

จันทรุปราคาเต็มดวงเกิดเมื่อดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดหมดทั้งดวง ดวงจันทร์จึงมืดคล้ำลงมากแต่ไม่มืดสนิท ส่วนใหญ่มีสีส้มแดงหรือน้ำตาล จันทรุปราคาบางส่วนเกิดเมื่อดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดเพียงบางส่วนจึงเห็นดวงจันทร์แหว่ง จันทรุปราคาเงามัวเกิดเมื่อดวงจันทร์เข้าไปในเงามัวเท่านั้น ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดผ่านเข้าไปในเงามืด จึงเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวงอยู่อย่างนั้น ที่ต่างไปจากเดิมคือดวงจันทร์จะลดความสว่างลงเล็กน้อย ดังนั้นมันจึงไม่ค่อยเป็นที่สนใจมากเท่าสองประเภทแรก

จันทรุปราคาครั้งที่จะเกิดขึ้นในคืนวันเสาร์นี้ หากยึดตามหลักการเปลี่ยนวันในเวลาเที่ยงคืนก็จะถือได้ว่าเกิดในวันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม 2550 ดวงจันทร์เริ่มเข้าไปในเงามัวของโลกตั้งแต่เวลา 3.18 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงจันทร์ปรากฏอยู่เหนือท้องฟ้าทิศตะวันตกในกลุ่มดาวสิงโต กึ่งกลางระหว่างขอบฟ้ากับจุดเหนือศีรษะโดยมีดาวเสาร์อยู่ต่ำลงไป ห่างกันประมาณขนาดของฝ่ามือเมื่อกางมือของเราออกแล้วเหยียดแขนออกไปให้สุด อย่างไรก็ตามเรายังจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นกับดวงจันทร์จนกระทั่งเวลาประมาณ 4.10 น. ขอบดวงจันทร์ด้านซ้ายมือค่อนไปทางด้านบนจะเริ่มคล้ำลงจนสังเกตเห็นได้ ดวงจันทร์มืดสลัวลงทีละน้อยจนเริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 4.30 น. ซึ่งจะเห็นขอบดวงจันทร์ด้านนี้เริ่มแหว่ง

ก่อนตี 5 ครึ่งเล็กน้อย ดาวเสาร์จะตกลับขอบฟ้าขณะที่ดวงจันทร์แหว่งไปเกินกว่าครึ่งดวง เงามืดของโลกเข้าบังดวงจันทร์ลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงเวลา 5.44 น. เป็นเวลาที่ดวงจันทร์ทั้งดวงเคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลกและเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง แสงอาทิตย์ที่หักเหผ่านบรรยากาศโลกไปตกที่พื้นผิวดวงจันทร์ทำให้ดวงจันทร์ไม่มืดสนิทอย่างที่ควรจะเป็น แต่มีสีน้ำตาล สีแดงอิฐ หรือสีส้ม ไม่กี่นาทีต่อมาหลังจากนั้นแสงเงินแสงทองจะเริ่มจับขอบฟ้า ท้องฟ้าจึงค่อย ๆ สว่างขึ้นในขณะที่ดวงจันทร์ยังอยู่ในเงามืดของโลก

เวลา 6.21 น. ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดลึกที่สุดและใกล้จะตกลับขอบฟ้าแล้ว ขณะนี้ท้องฟ้าจะสว่างเป็นสีฟ้า ที่กรุงเทพฯ ดวงอาทิตย์จะขึ้นเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลา 6.33 น. ส่วนดวงจันทร์จะตกทางทิศตะวันตกในเวลา 6.37 น.

เวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงจันทร์ตกในจังหวัดอื่น ๆ จะต่างไปจากนี้ เช่น เชียงใหม่ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.42 น. ดวงจันทร์ตกเวลา 6.46 น. ภูเก็ตดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.39 น. ดวงจันทร์ตกเวลา 6.43 น. ส่วนที่อุบลราชธานีดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.16 น. ดวงจันทร์ตกเวลา 6.20 น.

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 4 มีนาคม 2550
เหตุการณ์ เวลา มุมเงย
ของดวงจันทร์

(ที่กรุงเทพฯ)
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก (ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง) 3.18 น. 47°
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่ง) 4.30 น. 29°
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง) 5.44 น. 12°
ดวงอาทิตย์ขึ้น (อุบลราชธานี) 6.16 น. -
ดวงจันทร์ตก (อุบลราชธานี) 6.20 น. -
4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด) 6.21 น.
ดวงอาทิตย์ขึ้น (กรุงเทพฯ) 6.33 น. -
ดวงจันทร์ตก (กรุงเทพฯ) 6.37 น. -
ดวงอาทิตย์ขึ้น (ภูเก็ต) 6.39 น. -
ดวงอาทิตย์ขึ้น (เชียงใหม่) 6.42 น. -
ดวงจันทร์ตก (ภูเก็ต) 6.43 น. -
ดวงจันทร์ตก (เชียงใหม่) 6.46 น. -
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด) 6.58 น. -6°
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์ออกจากเงามืดทั้งดวง) 8.11 น. -23°
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 9.24 น. -40°

จุดที่น่าสนใจอย่างหนึ่งสำหรับจันทรุปราคาครั้งนี้ก็คือ ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบังหมดทั้งดวงในขณะที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากกลางคืนไปสู่กลางวัน จึงเป็นไปได้ว่าขณะที่ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดลึกที่สุดนี้ ท้องฟ้าจะสว่างมากจนเราอาจไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้หรือเห็นได้เพียงลาง ๆ ให้ลองสังเกตดวงจันทร์ด้วยตาเปล่าและด้วยทัศนูปกรณ์ที่มีอยู่ เช่น กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลา 6.00 - 6.40 น. และเนื่องจากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงที่ดวงจันทร์กำลังจะตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก ดังนั้นหากต้องการสังเกตให้ชัดเจนควรหาสถานที่ที่ไม่มีสิ่งใดบดบังขอบฟ้าทิศดังกล่าว หรือหากเป็นไปได้อาจสังเกตจากตึกสูง

นอกจากประเทศไทยแล้วบางส่วนของทุกทวีปในโลกมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ด้วยพร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น ทวีปยุโรปและแอฟริกาเห็นขณะเริ่มเกิดปรากฏการณ์ในค่ำวันที่ 3 มีนาคมตามเวลาท้องถิ่น อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้เห็นได้ในค่ำวันเดียวกันแต่เป็นช่วงท้ายของปรากฏการณ์ขณะดวงจันทร์ขึ้นทางทิศตะวันออก ส่วนในเอเชียตะวันออก ตอนกลางของจีน และตะวันตกของออสเตรเลียจะเห็นได้ในเช้ามืดวันที่ 4 มีนาคมขณะดวงจันทร์ใกล้จะตกเช่นเดียวกับประเทศไทย

จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในรอบ 3 ปีสำหรับคนไทยในประเทศ และเป็นอุปราคาครั้งแรกจากทั้งหมด 4 ครั้งที่เกิดในปีนี้ อีก 15 วันถัดไป เช้าวันจันทร์ที่ 19 มีนาคมจะเกิดสุริยุปราคาบางส่วนเห็นได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย และหากท้องฟ้าเปิดไม่มีเมฆฝนเป็นอุปสรรคเราจะมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาในช่วงเวลาหัวค่ำของวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2550

ประมาณค่าความสว่างของดวงจันทร์

เราสามารถคะเนความสว่างและสีของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงได้โดยการสังเกตดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแบ่งได้ตามมาตราดองชง (Danjon's scale) ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่เป็นผู้ริเริ่มกำหนดมาตรานี้ เรียกย่อ ๆ ว่าค่าแอล (L) มีค่าจาก 0 ถึง 4 และสามารถประมาณค่าเป็นทศนิยมได้ สีและความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับศูนย์กลางเงา ปริมาณเมฆและฝุ่นละอองในบรรยากาศโลก โดยมีเกณฑ์กำหนดดังที่แสดงในตาราง ถ้าจะให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดที่สุด อาจทำการประมาณค่าแอลทุก ๆ 10-20 นาที นับตั้งแต่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง

สร้างโดย: 
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 430 คน กำลังออนไลน์