02

ผู้นำฝ่ายอักษะระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

นาซีเยอรมนี

  อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ 

1.อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำนาซีเยอรมนี ดำรงตำแหน่งมุขมนตรีแห่งเยอรมนีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933-1934 ต่อมาได้แต่งตั้งตนขึ้นเป็น ฟือเรอร์ ฮิตเลอร์เป็นผู้บัญชาการทหารบก และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการทำสงครามของเยอรมนี และนโยบายด้านการต่างประเทศตามลัทธินาซี

2.ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ ผู้บัญชาการหน่วยเอสเอสและหน่วยตำรวจลับเกสตาโป มีส่วนรู้เห็นต่อการสร้างค่ายกักกันชาวยิวในทวีปยุโรป

3.ไรน์ฮาร์ด เฮย์ดริช ผู้บัญชาการหน่วยเกสตาโปและกองกำลังเอสดีในปรากประเทศเชก

4.โจเซฟ เกิบเบล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการ (Ministry for Popular Enlightenment and Propaganda) ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 - 2488 เป็นคนใกล้ชิดและผู้ติดตามคนสนิทของฮิตเลอร์ มีอิทธิพลอย่างมากต่อกำลังใจและการเตรียมตัวของประชาชนชาวเยอรมัน ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นมุขมนตรีแห่งเยอรมนี ก่อนหน้าที่เขาจะฆ่าตัวตายเพียงหนึ่งวัน

5.แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง ผู้บัญชาการกองทัพอากาศ ได้รับเหรียญกางเขนเหล็กชั้นที่หนึ่งในความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยม เขาถูกจัดเป็นอาชญากรสงครามอันดับที่ 3 ในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก

6.เอริช แรดเดอร์ จอมพลเรือ (Großadmiral) แห่งกองทัพเรือนาซีเยอรมนี (Kriegsmarine) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2482 - 30 มกราคม พ.ศ. 2486

7.คาร์ล โดนิทซ์ เป็นจอมพลเรือต่อจากแรดเดอร์ และเป็นประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีเป็นเวลา 23 วันหลังจากการตายของฮิตเลอร์ เป็นผู้บัญชาการกองเรืออูระหว่างยุทธบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก

8.กึนเธอร์ ลึทเจนต์ นายพลเรือแห่งกองทัพเรือเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้เสียชีวิตไปพร้อมกับการจมของเรือประจัญบานบิสมาร์ค

9.ไฮนซ์ กูเดอร์เรียน เป็นผู้คิดค้นกลยุทธ์การโจมตีสายฟ้าแลบ เป็นผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันจำนวนมากในช่วงต้นของสงคราม ต่อมาได้เป็นหัวหน้าเสนธิการของกองทัพภายหลังเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944

10.เออร์วิน รอมเมล ผู้บัญชาการกองทัพแอฟริกาและเป็นที่รู้จักกันดีในฉายา "จิ้งจอกทะเลทราย" ได้รับการยกย่องอย่างสูงจากทุกฝ่ายแม้แต่ฝ่ายศัตรู ภายหลังได้รับเลือกให้บัญชาการทหารเยอรมันระหว่างยุทธการแห่งนอร์มังดี

11.เกิร์ด ฟอน รุนด์ชเทดท์ จอมพลแห่งกองทัพเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ได้รับสมญานามว่า "อัศวินดำ" (Black Knight) เขาเป็นผู้รวบรวมกองกำลังเพื่อรับมือกับปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างรวดเร็วและได้รับชัยชนะ

ราชอาณาจักรอิตาลี (ถึง พ.ศ. 2486)

  เบนิโต มุสโสลินี   

1.พระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่ 3 กษัตริย์แห่งอิตาลี และประมุขสูงสุดของกองทัพอิตาลี (ร่วมกับมุสโสลินี)

2.เบนิโต มุสโสลินี นายกรัฐมนตรีแห่งอิตาลีระหว่างปี ค.ศ. 1922-1943 ในภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประมุขแห่งรัฐสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี ในช่วงปี ค.ศ. 1943-1945 มุสโสลินีเป็นผู้ให้กำเนิดหลักการลัทธิฟาสซิสต์โดยใช้แนวความคิดด้านชาตินิยม ลัทธินิยมทหารและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ รวมไปถึงการใช้สื่อของรัฐในการโฆษณาชวนเชื่อ ฟาสซิสต์อิตาลีได้รับอิทธิพลอย่างมากจากนาซีเยอรมนี ภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

3.ปิเอโตร บาโดกลิโอ จอมพลแห่งกองทัพอิตาลี หนึ่งในผู้นำกองทัพอิตาลีในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง ลาออกจากตำแหน่งจอมพลหลังพ่ายแพ้ให้กรีซในปี ค.ศ. 1940 ในปี ค.ศ. 1943 ได้เป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดการให้อิตาลีลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตร และจัดตั้งรัฐบาลฝ่ายนิยมกษัตริย์ขึ้นในภาคใต้ของอิตาลี

4.อูโก คาวาเยโร ผู้บัญชาการทหารบกแห่งกองทัพราชอาณาจักรอิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาได้นำทัพอิตาลีในการทำสงครามกับกรีซซึ่งประสบกับความล้มเหลว

5.อาร์ตูโร ริคาร์ดี ผู้บัญชาการทหารเรือแห่งราชนาวีอิตาลีระหว่าง ค.ศ. 1940 - 1943

6.อิตาโล บัลโบ ผู้บัญชาการทหารอากาศแห่งกองทัพอากาศราชอาณาจักรอิตาลีตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1930 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1940 และเป็นผู้ควบคุมกองทัพที่ 10 ของอิตาลีในลิเบียตราบจนเสียชีวิต

7.กาลีซโซ ชิอาโน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้ได้รับการแต่งตั้งจากมุสโสลินีในปี ค.ศ. 1936 (มุสโสลินีเป็นพ่อตาของคิอาโน) และดำรงตำแหน่งดังกล่าวจนกระทั่งสิ้นสุดการปกครองระบอบฟาสซิสต์ในปี ค.ศ. 1943 เขาเป็นผู้ลงนามในสนธิสัญญาเหล็กร่วมกับเยอรมนีในปี ค.ศ. 1939 และในสนธิสัญญาสามพันธมิตรกับเยอรมนีและญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1940 ชิอาโนได้พยายามโน้วน้าวให้มุสโสลินีนำอิตาลีออกจากสงครามเพราะอิตาลีได้รับความสูญเสียอย่างหนักแต่ถูกเพิกเฉย ถึงปี ค.ศ. 1943 เขาได้สนับสนุนการขับไล่มุสโสลินีลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ในเวลาต่อมาเขาถูกพวกฟาสซิสต์ในฝ่ายสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี (รัฐบาลฟาสซิสต์อิตาลีภายใต้การควบคุมของนาซีเยอรมนี) ประหารชีวิตในโทษฐานทรยศต่อมุสโสลินี

8.โรดอลโฟ กราซีอานี จอมพลแห่งกองทัพอิตาลี หนึ่งในผู้นำกองทัพอิตาลีในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการอาณานิคมแอฟริกาเหนือของอิตาลีและผู้ว่าการอาณานิคมลิเบียของอิตาลี หลังพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายอังกฤษในการบุกอียิปต์ เขาจึงลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวในปี ค.ศ. 1941 หลังมุสโสลินีสิ้นอำนาจจากการถูกรัฐประหาร ค.ศ. 1943 กราซีอานิยังคงเป็นนายทหารคนเดียวที่ยังคงภักดีต่อมุสโสลินี เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี และควบคุมกองทัพผสมอิตาลี-เยอรมนี "กองทัพลิกูเรียที่ 97" (LXXXXVII "Liguria" Army)

9.โจวานนี เมสซี ผู้บัญชาการกองทัพน้อยของอิตาลีในรัสเซีย (Corpo di Spedizione Italiano in Russia, CSIR) กองกำลังดังกล่าวนี้ร่วมมือกับกองทัพนาซีเยอรมนีรบกับฝ่ายสหภาพโซเวียตในแนวรบด้านตะวันออก

จักรวรรดิญี่ปุ่น  

ฮิเดกิ โตโจ นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941-1944

  1.สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1926-1989 พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1937-1945 และได้รับการปลดเปลื้องความผิดพร้อมกับสมาชิกราชวงศ์ทั้งหมดจากนายพลดักลาส แมคอาเธอร์

2.ฮิเดกิ โตโจ นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941-1944 ถูกตัดสินให้ถูกประหารชีวิตหลังจากสงครามยุติ

3.เจ้าชายฟุมิมะโระ โคะโนะเอะ นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1940 ค.ศ. 1941หลังจากการพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง เจ้าชายฟุมิมะโระได้ปลงพระชนม์ของพระองค์เองโดยการเสวย โพแทสเซียมไซยาไนด์ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสงคราม

4.มิสีมะซะ โยะไน นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1940 และเป็นรัฐมนตรว่าการกระทรวงกองทัพเรือตั้งแต่ ค.ศ. 1944 ค.ศ. 19455.คุนิอะกิ โคะอิโซะ ผู้บัญชาการกองทัพและนายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1944 ค.ศ. 19456.คันทะโร ซุซุกิ นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1945 เขาได้ตกลงในการยอมจำนนต่อกองทัพพันธมิตร 

ราชอาณาจักรฮังการี

  มิคอส ฮอร์ธี ผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการี

1.มิคอส ฮอร์ธี ผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการี ตั้งแต่ ค.ศ. 1920 - ค.ศ. 1944

 

2.ลาสโล บาดอสซี นายกรัฐมนตรีแห่งฮังการี ตั้งแต่ ค.ศ. 1941 - ค.ศ. 1942

3.มิคอส คัลเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งฮังการีตั้งแต่ ค.ศ. 1942 - ค.ศ. 1944

4.โดเม ซโตเจย์ นายกรัฐมนตรีแห่งฮังการีในปี ค.ศ. 1944

5.เกซา ลากาตอส ผู้บัญชาการของกองกำลังฮังการีในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และนายกรัฐมนตรีแห่งฮังการีในปี ค.ศ. 1944

6.เฟเลนซ์ ซซาลาซี หัวหน้าพรรค Arrow Cross Party ฟาสซิสต์,ผู้นำชาติฮังการี และเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ ค.ศ. 1944 - ค.ศ. 1945

7.เบลา มิคอส นายกรัฐมนตรีเพียงในนามแห่งฮังการีตั้งแต่ ค.ศ. 1944 - ค.ศ. 1945

8.อิวาน ฮินดี เป็นผู้พันแห่งกองทหารฮังการี เขาเป็นผู้ทำให้เกิดยุทธการบูดาเปสต์ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945เขาได้ถูกจับตัวโดยโซเวียต พยายามหลบหนีแต่ล้มเหลว เขาได้ถูกตัดสินประหารชีวิตในปีค.ศ. 1946

ราชอาณาจักรโรมาเนีย (ถึง พ.ศ. 2487)

1.สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์แห่งโรมาเนียตั้งแต่ ค.ศ. 1940 - ค.ศ. 1947 พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์โดยอำนาจของแอนโตเนสคูที่ต้องการให้พระองค์แทนที่พระบิดาคือ สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แต่พระองค์ได้ทำการรัฐประหารแอนโตเนสคูและเปลี่ยนเป็นฝ่ายพันธมิตรได้สำเร็จในปีค.ศ. 1944

2.เอียน แอนโตเนสคู นายกรัฐมนตรีแห่งโรมาเนียและผู้นำเผด็จการโรมาเนียตั้งแต่ค.ศ. 1940 - ค.ศ. 1944 ได้ถูกโค่นล้มและเขาได้ถูกตัดสินประหารชัวิตในปีค.ศ. 1946

3.ปีเตอร์ ดูมิเทสคู ผู้บัญชาการกองกำลังโรมาเนียที่ 3 ในการต่อต้านสหภาพโซเวียต4.คอนสแตนติน คอนสแตนติเนสคู-เคร็ป ผู้บัญชาการกองกำลังโรมาเนียที่ 4 

ราชอาณาจักรไทย

    จอมพล ป. พิบูลสงคราม    

 

 1.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี (พ.ศ. 2477 - 2489) ระหว่างสงครามทรงประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงวางพระองค์เป็นกลาง หลังสิ้นสงครามจึงเสด็จนิวัติพระนครในช่วงปลายปี พ.ศ. 2488

2.จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพลแห่งกองทัพบกไทย และนายกรัฐมนตรีไทย (พ.ศ. 2481 - 2487) การปกครองในสมัยนี้อยู่ภายในแนวคิดลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจและนโยบายการต่อต้านชาวจีน จอมพล ป. ได้ตัดสินใจนำไทยเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิญี่ปุ่นในปลายปี พ.ศ. 2484 และยอมให้ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นทางผ่านในการเคลื่อนทัพเข้าสู่พม่าและมลายา

3.ควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีไทย (พ.ศ. 2487 - 2488)

 

 

สร้างโดย: 
Kooll

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 614 คน กำลังออนไลน์