นครรัฐของกรีก

รูปภาพของ sss27533


นครรัฐของกรีก

นครรัฐกรีกโบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด มี 2 นครรัฐ คือ นครรัฐเอเธนส์(Athens) กับ นครรัฐสปาร์ตา(Sparta)

นครรัฐเอเธนส์

นครรัฐเอเธนส์ประกอบด้วยบริเวณที่สำคัญ 2 บริเวณ คือ อโครโปลิส (Acropolis) และ อกอรา (Agora) อโครโปลิสเป็นเนินเขาสูงเป็นที่ประดิษฐานวัดวาอารามและสถานที่สำคัญทางราชการ เนินนี้อาจดัดแปลงเป็นป้องที่ให้ผู้คนพลเมืองเข้ามาลี้ภัย และตั้งรับศัตรูได้ในยามที่ถูกรุกราน ใต้บริเวณอโครโปลิส ลงมาเป็นร้านรวงและที่อยู่อาศัยของพลเมืองเรียกว่าอกอรา
นครรัฐเอเธนส์เป็นนครรัฐเล็ก มีพลเมืองเพียง 50,000 คน นอกนั้น ได้แก่พวกทาสและชนต่างถิ่น ซึ่งรวมด้วยกันทั้งสิ้นประมาณ 130,000 คน เอเธนส์ได้วิวัฒนาการการปกครอง เป็นสาธารณรัฐปกครองในรูปประชาธิปไตย โดยเจ้าหน้าที่ซึ่งเลือกมาจากพลเมือง 50,000 คน รูปการปกครองแบบประชาธิปไตยของเอเธนส์แตกต่างจากประชาธิปไตยที่เข้าใจในสมัยปัจจุบัน แต่ก็เป็นรูปการปกครองที่ให้สิทธิเสรีภาพมากที่สุดในสมัยโบราณ ที่แตกต่างจากประชาธิปไตยในปัจจุบันคือ

1. สิทธิในการปกครอง สงวนไว้สำหรับประชากรเพียง 1/6 เท่านั้น
2. สตรีไม่มีหน้าที่หรือสิทธิใดๆ นอกครัวเรือน
3. พลเมืองแต่ละคนใช้สิทธิในระบอบประชาธิปไตยของตนโดยตรง ไม่ต้องเลือกผู้แทนเข้าไปใช้สิทธิดังกล่าว

จำนวนพลเมืองมีสิทธิไม่มาก จึงไม่จำเป็นต้องมีผู้แทน พลเมืองทุกคนจะร่วมประชุมสภาราษฎรและถกเถียงในปัญหาต่างๆ ได้อย่างอิสระ การโต้กันในสภาราษฎร อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างอาคารใหม่ วิธีการเกษตรแบบใหม่หรือการลงมตินำรัฐเข้าสู่สงคราม พลเมืองทุกคนมีสิทธิพูดและลงคะแนนเสียงเห็นด้วยหรือโต้แย้งญัตติใดๆ ด้วยตนเอง วิธีดังกล่าวเมื่อนำมาใช้กับรัฐปัจจุบันที่มีพลเมืองมากมายย่อมไม่เป็นผล ด้วยเหตุนี้ประชาธิปไตยปัจจุบันจึงดัดแปลงด้วยการเลือกผู้แทนขึ้นพูดและลงคะแนนเสียงในญัตติต่างๆ

พลเมืองชาวเอเธนส์มีสิทธิที่จะเข้าร่วมในคณะลูกขุนซึ่งพิจารณาคดีต่างๆ โดยใจสมัคร ในการพิจารณาคดี ผู้พิพากษาจะนั่งเป็นประธานเท่านั้น ส่วนการชี้ว่าผิดหรือถูก เป็นหน้าที่ของคณะลูกขุน ซึ่งประกอบด้วยพลเมือง มติต่างๆ ของสภาผู้แทนราษฎร จะมีคณะเจ้าหน้าที่บริหารเป็นผู้ดำเนินการ เจ้าหน้าที่บริหารเหล่านี้อาจเลือกขึ้นมาหรือจับฉลาก ได้รับเงินเดือนเพียงเล็กน้อย แต่ถือว่าเป็นเกียรติยศชื่อเสียง ชาวเอเธนส์ที่ได้รับตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารจะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อรักษาเกียรติยศที่ตนได้รับชาวเอเธนส์รักนครรัฐของตนเป็นชีวิตจิตใจ ข้าวของเงินทองที่หามาได้ใช้บำรุงนครรัฐของตนให้สวยงาม น่าอยู่ ชาวกรีกไม่นิยมความหรูหราฟุ่มเฟือยและดูถูกคนที่ใช้จ่ายเงินทองซื้อเพชรนิลจินดาเสื้อผ้าแพรพรรณ บ้านช่องที่โอ่อ่าหรูหราพร้อมด้วยสมบัติส่วนตัว คนกรีกมีความเห็นว่าคนเหล่านั้นหยาบกระด้างและยังไม่ได้ขัดเกลา เขานิยมคนที่ใช้เงินทองเพื่อของส่วนรวม เช่น การก่อสร้างสาธารณสถาน หรือวัดวาอารามต่างๆ ชีวิตในนครรัฐเอเธนส์เป็นชีวิตที่แจ่มใสและน่าอยู่ นครรัฐตั้งอยู่ติดกับทะเลและมีเนินเขาย่อมๆ อากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนกำลังสบายไม่หนาวเกินไปหรือร้อนเกินไป ท้องฟ้าและทะเลเป็นสีฟ้าครามตลอดทั้งปี ข้าวปลาอาหาร ถึงแม้จะไม่สมบูรณ์ก็เพียงพอเลี้ยงพลเมือง ผู้คนพลเมืองมีจิตใจกล้าหาญเป็นนักรบ แต่ในยามสงบแล้วรักสันติและรักการสนทนาโต้ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ชาวกรีกรักการสนทนาโต้แย้งฉันท์มิตร เพราะเป็นหนทางที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง การโต้แย้งกันในทางวิวาทชาวกรีกถือว่าเป็นของต่ำ และแสดงความโง่เขลาเบาปัญญา ชาวกรีกถกเถียงกันในปัญหาทุกเรื่องอย่างสงบและโดยปราศจากอคติ ทุกคนต่างเคารพสิทธิของผู้อื่นในการแสดงความคิดเห็น และถึงแม้ผู้อื่นจะไม่เห็นพ้องกับความคิดของตนหรือตนไม่เห็นด้วยกับความคิดของผู้อื่นก็ไม่ถือว่าคนทั้งสองเป็นศัตรูต่อกัน

วิหารพาร์เธนอน

ที่มารูปภาพ : http://www.thaigoodview.com/files/u1307/0406.jpg

นครรัฐสปาร์ตา

นครรัฐสปาร์ตา เป็นนครที่ใหญ่ที่สุดและทรงอำนาจแข็งแกร่งที่สุดในบรรดานครรัฐกรีกทั้งหลาย เป็นผู้นำทางด้านการทหาร เนื่องจากมีกองทัพที่มีระเบียบวินัยและเกรียงไกรที่สุด ประกอบขึ้นด้วยทหารที่มีความเสียสละอดทนและอุทิศชีวิตเพื่อความยิ่งใหญ่ของนครรัฐ

ประชาชนในนครรัฐสปาร์ตาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1. สปาร์เตียตส์ (Spartites) เป็นพวกดอเรียนส์ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในสปาร์ตา ถือเป็นชาว สปาร์ตาโดยแท้ พวกนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนครรัฐ ทำหน้าที่เป็นทหารรัฐ

2. เปริโอซิ ((Perioeci) คำนี้ภาษากรีกแปลว่า ผู้ที่อาศัยอยู่โดยรอบ ได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านโดยรอบนครรัฐสปาร์ตา เป็นชาวเลซีเดโมเนียนที่สืบเชื้อสายปะปนกันมา พวกนี้จัดเป็นเสรีชนและมีส่วนในกิจการต่างๆ ภายในหมู่บ้านของตน แต่ขาดสิทธิในทางการเมืองภายในนครรัฐ สปาร์ตา ขาดสิทธิในการสมรสกับหญิงสปาร์เตียตส์ มีหน้าที่ต่อรัฐคือรับราชการทหารและประกอบการ กสิกรรม

3. เฮล็อต (Helot) พวกนี้เป็นชนพื้นเมืองเดิม ที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้มาก่อน เมื่อพวกเลซีเดโมเนียนเข้ามาตั้งบ้านเรือน ก็ได้ปกครองคนเหล่านี้ในฐานะเป็นทาสของรัฐ มีหน้าที่ทำงานในที่ดินของผู้ที่เป็นนายและแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินให้แก่ผู้ที่เป็นนาย พวกเฮล็อตนั้นเป็นชาวกรีกโดยแท้และมีจิตใจรักอิสรภาพเช่นชาวกรีกทั้งหลาย เมื่อมาถูกจำกัดอิสรภาพและลดฐานะก็เกิดความไม่พอใจ และมักปักใจอยู่กับการก่อการปฏิวัติ พวกสปาร์เตียตส์ก็ตระหนักในเรื่องนี้ดี ดังนั้น เมื่อมีการสงสัยว่าเฮล็อต คนใดคิดการปฏิวัติ ผู้นั้นจะได้รับโทษถึงประหารชีวิตทันที

ชาวกรีกโบราณมีคุณลักษณะพิเศษที่น่าชื่นชมอยู่ 2 ประการ คือ

1. เป็นผู้มีสติปัญญารอบรู้ สิ่งนี้เป็นผลมาจากความอยากรู้อยากเห็น และมีจิตใจเป็นผู้ชอบซักถามและมีวิจารณญาณที่ดี ชอบค้นคว้าแสวงหาเหตุผลของทุกๆ สิ่งที่อยู่รอบตัวและในชุมนุมชนที่อยู่ห่างไกลออกไป
2. เป็นผู้มีความรู้สึกละเอียดอ่อนละมุนละไมในความงดงามและมีพลังความสามารถที่จะสร้างสิ่งที่งดงาม
ด้วยคุณลักษณะ 2 ประการดังกล่าว ชาวกรีกโบราณได้ประสบผลสำเร็จในการสร้างสมอารยธรรมอันเป็นมรดกตกทอดมาสู่โลกตะวันตกจนถึงปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 671 คน กำลังออนไลน์