.II. สงครามปะทุ .II.

  

            สงครามปะทุ

 

เครื่องบินทิ้งระเบิดอเมริกันทิ้งระเบิดเหนือกรุงเบอร์ลิน

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/4e/Bombardierung_Berlins.jpg

 

กองทัพญี่ปุ่นในการรบที่เมืองอู่ฮั่น

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/7b/Wuhan_1938_IJA.jpg

 

เครื่องบินเยอรมันทิ้งระเบิดเหนือกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/02/German_plane_bombing_Warsaw_1939.jpg

 

 

กลางปี ค.ศ. 1937 ตามข้อตกลงหยุดยิงที่สะพานมาร์โค โปโล ญี่ปุ่นเริ่มการรุกรานจีนอย่างเต็มตัว โดยเป็นจุดลงเอยของการทัพซึ่งมีเป้าหมายในการรุกรานจีนทั้งหมด สหภาพโซเวียตได้รีบให้ความช่วยเหลือแก่จีน และเป็นการยุติความร่วมมือกับเยอรมนีที่มีอยู่ก่อนหน้า กองทัพญี่ปุ่นได้ผลักดันกองทัพจีนให้ล่าถอย โดยเริ่มจากที่เมืองเซี่ยงไฮ้ และสามารถยึดนานกิงได้ในเดือนธันวาคม ถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1938 กองทัพจีนสามารถยับยั้งการรุกคืบของกองทัพญี่ปุ่นได้จากเหตุอุทกภัยที่แม่น้ำฮวงโห ในช่วงเวลานี้พวกเขาก็ได้เตรียมการป้องกันที่เมืองอู่ฮั่น แต่ก็ยังถูกตีแตกในเดือนตุลาคม ระหว่างนั้น กองทัพญี่ปุ่นและกองทัพโซเวียตได้มีการปะทะกันอย่างประปรายที่ทะเลสาบคาซาน ในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1939 ซึ่งต่อมาได้บานปลายขึ้นจนเป็นสงครามตามแนวชายแดนอย่างร้ายแรง ซึ่งยุติลงด้วยสัญญาหยุดยิงเมื่อวันที่ 15 กันยายน โดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงดินแดนใด ๆ แต่หลังจากนั้น ญี่ปุ่นและสหภาพโซเวียตก็ไม่มีการปะทะกันอีกเลย

              ด้านทวีปยุโรป บทบาทของเยอรมนีและอิตาลีเริ่มมีความก้าวร้าวมากขึ้น ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1938 เยอรมนีผนวกออสเตรีย โดยที่ได้รับปฏิกิริยาชาติตะวันตกอื่น ๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้นด้วยความฮึกเหิม ฮิตเลอร์จึงได้เริ่มการอ้างสิทธิครอบครองซูเดเตนแลนด์ ฝรั่งเศสและอังกฤษยินยอมให้เยอรมนียึดครองซูเดนเตแลนด์โดยขัดต่อความต้องการของรัฐบาลเชโกสโลวาเกีย เพื่อแลกกับการหยุดแสวงหาดินแดนเพิ่มเติม ทว่าหลังจากนั้น เยอรมนีและอิตาลีได้บังคับให้เชโกสโลวาเกียยกดินแดนให้กับฮังการีและโปแลนด์ และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 เยอรมนีก็ได้ครอบครองเชโกสโลวาเกียอย่างสมบูรณ์ โดยแบ่งออกเป็นรัฐในอารักขาโบฮีเมียและโมราเวีย และรัฐหุ่นเชิดนิยมเยอรมนี สาธารณรัฐสโลวัก 

 ด้วยความตื่นตัวจากเหตุที่ฮิตเลอร์มีความต้องการยึดครองนครเสรีดานซิกฝรั่งเศสและอังกฤษจึงรับประกันความเป็นเอกราชของโปแลนด์ หากถูกเยอรมนีโจมตี และ เมื่ออิตาลีสามารถครอบครองอัลแบเนียได้ ในเดือนเมษายน ฝรั่งเศสและอังกฤษก็ให้คำมั่นเช่นเดียวกันนี้แก่โรมาเนียและกรีซด้วย ส่วนทางด้านเยอรมนีและอิตาลีก็ร่วมมือกันเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญาเหล็ก

             เดิมทีสหภาพโซเวียตได้พยายามเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับอังกฤษและฝรั่งเศส ในความพยายามที่จะจำกัดวงของเยอรมนี  แต่ทั้งสองชาติก็บอกปฏิเสธ  ด้วยความแคลงใจในเจตนาและความสามารถของสหภาพโซเวียตสหภาพโซเวียตเกรงว่าสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส     ไม่ปรารถนาที่จะให้ความร่วมมือทางการทหารแก่ตนและวิตกว่าอาจจะเกิดสงครามระหว่างเยอรมนีกับสหภาพโซเวียต    โดยที่ฝ่ายสัมพันธมิตรอาจเอนเอียงเข้ากับฮิตเลอร์    เป็นการทำให้สหภาพโซเวียตต้องทำสนธิสัญญาไม่รุกรานระหว่างนาซี - โซเวียต   รวมไปถึงข้อตกลงลับระหว่างทั้งสองที่จะแบ่งกันครอบครองยุโรปตะวันออก โดยยกโปแลนด์และลิทัวเนียให้อยู่ในเขตอิทธิพลของเยอรมนี  และยกโปแลนด์ตะวันออก  ฟินแลนด์  เอสโตเนีย  ลัตเวียและแคว้นเบสซาราเบียของโรมาเนียให้อยู่ในเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต  

 

 

  

 

สร้างโดย: 
น.ส. พิชาภพ รัตนางกูร และ อาจารย์กัญฐินีภรณ์ ประถมด้วง โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 1018 คน กำลังออนไลน์