คำประพันธ์ ฉันทลักษณ์ คืออะไร

                    Kiss คำประพันธ์ ฉันทลักษณ์ คืออะไร Kiss

  

   ฉันทลักษณ์       คือตำราที่ว่าด้วย วิธีร้อยกรองถ้อยคำ หรือเรียบเรียงถ้อยคำ ให้เป็นระเบียบ ตาม ลักษณะบังคับ และบัญญัติ

                         ที่นักปราชญ์ได้วางเป็นแบบไว้ ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้น ตามลักษณะบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า  

                         "คำประพันธ์"


   คำประพันธ์       คือถ้อยคำที่ได้ร้อยกรอง หรือเรียบเรียงขึ้น โดยมีข้อบังคับ จำกัดคำ และวรรคตอน ให้รับสัมผัสกันไพเราะ

                         ตามกฎเกณฑ์ ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์  คำประพันธ์ จำแนกออกเป็น ๗ ชนิด คือ โคลง ร่าย ลิลิต กลอน

                         กาพย์ ฉันท์  และ กล  คำประพันธ์ที่ดี จะต้องประกอบด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ

                         ๑.มีข้อความดี 

                         ๒.มีสัมผัสดี                                                                      

                         ๓.แต่งถูกต้องตามลักษณะบังคับ                                                                

   ลักษณะบังคับ (บัญญัติ)    ในการเรียบเรียงคำประพันธ์ทั้งปวง มีอยู่ ๘ อย่าง คือ

                         ๑. ครุ ลหุ                 ๒. เอก โท 

                         ๓. คณะ                   ๔. พยางค์

                         ๕. สัมผัส                 ๖. คำเป็น คำตาย 

                         ๗. คำนำ                  ๘. คำสร้อย


   ๑. ครุ        คือพยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วย สระเสียงยาว  และ สระเกินทั้ง ๔ คือ สระ อำ ใอ ไอ เอา

                  และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่นตา ดำ หัด เรียน ฯลฯ

       ลหุ       คือพยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วย สระสั้น ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น พระ จะ มิ ดุ แกะ ฯลฯ

   ๒. เอก      คือพยางค์ หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคำตายทั้งสิ้น ซึ่งในโคลง และร่าย ใช้เอกแทนได้

                  เช่น พ่อ แม่ พี่ ปู่ ชิ ชะ มัก มาก ฯลฯ

       โท       คือพยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท เช่น น้า ป้า ช้าง นี้น้อง ต้อง เลี้ยว ฯลฯ

   ๓. คณะ     คือแบบบังคับที่วางเป็นกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่า คำประพันธ์ชนิดนั้น จะต้องมีเท่านั้นวรรค เท่านั้นคำ

                   และต้องมีเอกโท ครุลหุตรงนั้นๆ ตรงนี้ เป็นต้น 

   ๔. พยางค์  คือจังหวะเสียง ที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ หรือหน่วยเสียง ที่ประกอบด้วยสระตัวเดียว จะมีความหมาย หรือไม่ก็ตาม

                   คำที่ใช้บรรจุในบทร้อยกรองต่างๆ นั้น ล้วนหมายถึง คำพยางค์ ทั้งสิ้น คำพยางค์นี้ ถ้ามีเสียงเป็น ลหุ

                   จะรวม ๒ พยางค์ เป็นคำหนึ่ง หรือหน่วยหนึ่ง ในการแต่งร้อยกรองก็ได้ แต่ถ้ามี เสียงเป็น ครุ                        

                   จะรวมกันไม่ได้ ต้องใช้พยางค์ละคำ 

   ๕. สัมผัส   คือลักษณะที่บังคับให้ใช้คำคล้องจองกัน คำที่คล้องจองกันนั้น หมายถึง คำที่ใช้สระ และมาตราสะกดอย่างเดียวกัน

                   แต่ต้องไม่ซ้ำอักษร หรือซ้ำเสียงกัน (สระใอ, ไอ อนุญาตให้ใช้สัมผัสกับ อัย ได้) มี ๒ ชนิด คือ

                   ๑. สัมผัสนอก ได้แก่คำที่บังคับให้คล้องจองกัน ในระหว่างวรรคหนึ่ง กับอีกวรรคหนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งที่ต่างกัน 

                       ตามชนิดของคำประพันธ์
 
                   ๒. สัมผัสใน ได้แก่ คำที่คล้องจองกัน และอยู่ในวรรคเดียวกัน จะเป็นสัมผัสคู่ เรียงคำไว้ติดต่อกัน

                       หรือจะเป็นสัมผัสสลับ คือเรียงคำอื่น แทรกคั่นไว้ก็ได้ สัมผัสใน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ

                       สัมผัสสระ ได้แก่คำคล้องจองที่มีสระและมาตราสะกดอย่างเดียวกัน

                       สัมผัสอักษร ได้แก่ คำคล้องจองที่ใช้ตัวอักษรชนิดเดียวกัน หรือตัวอักษร ประเภทเดียวกัน

                       หรือใช้ตัวอักษร ที่มีเสียงคู่กัน 

   ๖. คำเป็น   คือคำที่ประกอบด้วยสระเสียงยาว ในแม่ก กา และคำที่มีตัวสะกดในแม่ กง กม กน เกย เกอว

       คำตาย   คือคำที่ประกอบด้วย สระเสียงสั้น ในแม่ ก กา (ยกเว้น อำ ใอ ไอ เอา) และคำที่มีตัวสะกด ในแม่ กก กด กบ

                   ในการแต่งโคลงทุกชนิด ใช้คำตายแทน เอก ได้

   ๗. คำนำ    คือคำที่ใช้กล่าวขึ้นต้น สำหรับเป็นบทนำ ในคำประพันธ์ เป็นคำเดียวบ้าง เป็นวลีบ้าง เช่น เมื่อนั้น  บัดนั้น

                    โฉมเฉลา น้องเอ๋ย น้องรัก รถเอ๋ย รถทรง ครานั้น สักวา ฯลฯ

   ๘. คำสร้อย คือคำที่ใช้สำหรับลงท้ายบท หรือท้ายบาท ของคำประพันธ์ ซึ่งตามธรรมดา มีคำซึ่งมีความหมายอยู่ข้างหน้าแล้ว

                    แต่ยังไม่ครบจำนวนคำ ตามที่บัญญัติไว้ ในคำประพันธ์ จึงต้องเติมสร้อย เพื่อให้มีคำ ครบตามจำนวน

                    และเป็นการเพิ่มสำเนียงให้ไพเราะในการอ่านด้วย คำสร้อยนี้ จะเป็นคำนาม คำวิเศษณ์ คำกริยานุเคราะห์

                    คำสันธานหรือคำอุทาน ก็ได้ แต่ถ้าเป็นคำอุทาน ที่มีรูปวรรณยุกต์ ต้องตัดรูปวรรณยุกต์ออก

                    และไม่ต้องมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ มิฉะนั้น จะขัดต่อการอ่านทำนองเสนาะ  

                    คำสร้อยนี้ ต้องเป็นคำเป็น จะใช้คำตายไม่ได้ และใช้เฉพาะบทประพันธ์ ชนิดโคลง และร่าย เท่านั้น

 

สร้างโดย: 
น.ส.ยุวดี เปาอินทร์ , น.ส.อานิสา สอนพงษ์ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 457 คน กำลังออนไลน์