สงคราม คืออะไร ?

 

            สงคราม คือ ความขัดแย้งเป็นวงกว้าง และก่อให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรง สงครามนั้นเกิดขึ้นเมื่อเกิดความขัดแย้งและไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีสันติ สุดท้ายจึงลงเอยด้วยการทำสงครามหรือการใช้กำลัง เพื่อลิดรอนหรือกำจัดบทบาททางการเมืองของรัฐอื่น สงครามนั้นเกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ สงครามนั้นมีตั้งแต่ระดับ รัฐชาติและจักรวรรดิ

            ทหารผู้ทำการรบและกลุ่มผู้สนับสนุนการปฏิบัติการทางบกนั้นถูกเรียกว่า กองทัพบก การปฏิบัติการทางทะเลเรียกว่า กองทัพเรือ และการปฏิบัติการทางอากาศเรียกว่า กองทัพอากาศ สงครามนั้นอาจจะดำเนินไปในหลายยุทธบริเวณในเวลาเดียวกันก็ได้ ซึ่งในขอบเขตดังกล่าวนั้นก็อาจประกอบด้วยหลาย ๆ การทัพ ติดต่อกัน การรณรงค์ทางการทหารนั้นมิใช่เพียงแต่การรบ แต่ว่าเป็นการต่อสู้ทั้งทางด้านข่าวกรอง การเคลื่อนทัพ การสะสมเสบียง การโฆษณาชวนเชื่อ และอีกหลายปัจจัยเข้ามาร่วมด้วย ความขัดแย้งที่เกิดต่อเนื่องกันนั้นเดิมมักจะเรียกว่า การรบ แต่ว่าการใช้คำดังกล่าวก็ไม่ได้รวมไปถึงการใช้เครื่องบิน จรวด ขีปนาวุธและการทิ้งระเบิดเพียงอย่างเดียว โดยปราศจากกองทัพบกและกองทัพเรือเสมอไป

             มนุษย์นั้นเคยคิดว่าตนเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวซึ่งก่อสงคราม ทว่าภายหลังการสังเกตการชีวิตของสัตว์โลกหลายชนิดก็ทำให้เราทราบว่าสงครามนั้นยังเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ด้วย เช่น การต่อสู้ระหว่างอาณานิคมของมด และการต่อสู้ระหว่างเผ่าของลิงชิมแปนซี รวมไปถึงสัตว์อีกหลายชนิดที่ไม่ได้มีการบันทึกไว้    องค์การสหประชาชาติได้เรียกสงครามว่าเป็น   "  ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มติดอาวุธ" "การรุกรานรัฐ" และ "อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ    

 

                ปัจจัยที่นำไปสู่สงคราม

 

              สงครามนั้นเกิดขึ้นหลังจากการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ แต่ว่าสงครามโดยทั่วไปนั้นไม่จำเป็นต้องกระทำก็ได้  ทฤษฎีทั่วไปว่าด้วยการทำสงครามนั้นมิได้อธิบายถึงการทำสงครามแต่เพียงประการเดียวเท่านั้น  แต่ว่ายังกล่าวถึงภาวะสันติภาพด้วย     มันจะต้องอธิบายไม่เพียงเฉพาะว่าสงครามนั้นเกิดขึ้นในหลายชั่วอายุคนและเกิดขึ้นในเกือบทุกพื้นที่บนโลก และนอกจากนั้น ยังต้องกล่าวถึงตัวอย่างของสันติภาพที่เกืดขึ้นภายหลังสงครามด้วย  เช่น สันติภาพโรมัน และสันติภาพของทวีปยุโรปภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

 

               เจตนาที่ก่อให้เกิดสงครามนั้นแตกต่า งกันไป   ขึ้นอยู่กับชนิดของสงคราม   มากกว่างานของสงคราม  สำหรับรัฐที่ต้องการทำสงครามนั้นต้องมีการสนับสนุนผู้นำ   กำลังทหารและประชากรของรัฐ   ยกตัวอย่างเช่น  ในสงครามพิวนิคครั้งที่สาม ผู้นำของโรมันนั้นต้องการทำสงครามกับคาเธจ    ด้วยจุดประสงค์ที่จะไม่ให้คาเธจฟื้นตัวจากความเสียหายเดิม    ขณะที่ทหารโรมันแต่ละนายนั้นอาจมีความต้องการที่จะยุติการฝึกโดยการเสียสละเด็กหลังจากที่คนจำนวนมากได้เข้ามาพัวพันกับสงคราม สงครามนั้นก็จะมีชีวิตเป็นของมันเอง จากหลากหลายสาเหตุที่มารวมกัน

 

                 เป้าหมายและผลประโยชน์ของสงคราม

 

             สงครามไม่อาจเกิดขึ้นได้หากปราศจากผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มคนหนึ่งซึ่งเป้าหมายและผลประโยชน์ที่ได้รับจากสงคราม  เพื่อปกป้องเกียรติภูมิของชาติจากการรุกรานของต่างชาติ       เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ด้วยการยึดครองทรัพยากรธรรมชาติ หรือการประกาศอิสรภาพ  เพื่อลงโทษแนวคิดที่เห็นว่าผิดหรือเห็นว่าไม่เหมาะสม แต่สงครามทุกครั้งก็ไม่อาจบรรยายได้ตามลักษณะดังกล่าว ตัวอย่างเช่น สงครามเย็น ซึ่งทำให้ประชาชนหลายล้านคนเสียชีวิต

 

 

  

 

สร้างโดย: 
น.ส. พิชาภพ รัตนางกูร และ อาจารย์กัญฐินีภรณ์ ประถมด้วง โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 283 คน กำลังออนไลน์