พอลิเมอร์

พอลิเมอร์กับปัญหาสิ่งแวดล้อม

     สืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้พอลิเมอร์โดยเฉพาะพลาสติกอย่างก้าวกระโดด จึงเกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมตามมา คือ ปัญหาขยะพลาสติกและการกำจัด เนื่องจากสมบัติที่ดีของพอลิเมอร์มีความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ เมื่ออัตราการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล การกำจัดขยะพลาสติกจึงทำได้ยาก หากจะทิ้งให้ย่อยสลายก็ใช้เวลานานหลายสิบปี หรือบางชนิดก็ไม่ย่อยสลายเลย นอกจากนี้เมื่อทำพอลิเมอร์มาเผายังทำให้เกิดก๊าซพิษ ที่สงผลต่อปัญหามลภาวะเพิ่มขึ้นอีก เมื่อมองในส่วนของวัตถุดิบที่ใช้ผลิตพลาสติก คือ ปิโตรเคมีที่ได้จากเชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil fuel) พบว่ามีปริมาณลดลงอย่างมาก เพราะอัตราการเกิดขึ้นทดแทนเกิดได้ช้ามาก ใช้เวลาหลายร้อยปี แต่มีการขุดมาใช้อย่างมาก จากผลการศึกษาพบว่าหากเรายังบริโภคเชื้อเพลิงฟอสซิลด้วยอัตรานี้ต่อไป อีกไม่เกิน 100 ปีข้างหน้าเชื้อเพลิงชนิดนี้ก็จะหมดไป ตามหลักอุปสงค์-อุปทาน จึงทำให้มีราคาของเชื้อเพลิงฟอสซิลตลอดจนปิโตรเคมีเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ส่งผลให้ราคาพอลิเมอร์เพิ่มสูงขึ้นด้วย
แนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากพอลิเมอร์ที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน คือ การลดการใช้ (Reduce) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) และการรีไซเคิล (recycle) ซึ่งทั้ง 3 แนวทางนี้ จะส่งผลให้มีการยืดอายุการใช้งานของพอลิเมอร์ให้ยาวขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยจะส่งผลให้การผลิตพอลิเมอร์ใหม่ลดลง อีกแนวทางคือการใช้พอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ (degradable polymers) ซึ่งจะแก้ปัญหาการสะสมตัวของพอลิเมอร์ และลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิวอีกด้วย

รีไซเคิล (Recycle) 

 

 

แหล่งที่มาของภาพ : http://www.vcharkarn.com/varticle/18774


     การรีไซเคิลพอลิเมอร์โดยเฉพาะพลาสติก สามารถทำได้เฉพาะพอลิเมอร์ชนิดเทอร์โมพลาสติกเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับเทอร์โมเซ็ตได้ โดยการนำพลาสติกมาหลอมแล้วขึ้นรูปใหม่ ซึ่งอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพของพลาสติกที่ได้ลดลง เนื่องจากอาจเกิดการสลายตัวของสายโซ่เนื่องจากความร้อนในกระบวนการขึ้นรูป หรือได้ชิ้นงานที่สีไม่สดใส เนื่องจากไม่สามารถแยกสีที่ผสมกับพลาสติกในการขึ้นรูปครั้งแรกออกได้หมด เป็นต้น สิ่งที่สำคัญของการรีไซเคิล คือ ต้องนำเอาพลาสติกมาทำการคัดแยกก่อน เนื่องจากพลาสติกส่วนใหญ่จะไม่สามารถผสมเป็นเนื้อเดียวกันได้ หากหลอมรวมกันแล้วขึ้นรูป จะทำให้ชิ้นงานที่ได้มีคุณภาพต่ำ ดังนั้นเพื่อให้สะดวกต่อการเก็บรวบรวมและคัดแยก ก่อนนำมาหลอมใช้ใหม่ จึงมีการกำหนดสัญลักษณ์ของพลาสติกมาตรฐานเป็น 7 ประเภทหลัก ดังนี้

1. PETE ใช้ผลิตขวดบรรจุน้ำอัดลม ภาชนะบรรจุขนม พรม เป็นต้น
2. HDPE นำกลับมาผลิตเป็นขวดบรรจุผลิตภัณฑ์ซักผ้า ฝาขวดน้ำอัดลม ถังขยะ เครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น
3. V นำกลับมาผลิตเป็นท่อ รั้ว หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่สัมผัสกับอาหาร
4. LDPE นำกลับมาผลิตเป็นถุงชนิดต่างๆ
5. PP นำกลับมาผลิตเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ พรม
6. PS นำกลับมาผลิตเป็นตุ๊กตาเด็กเล่น ถาดใส่อาหาร ฉนวน เป็นต้น
7. อื่นๆ

 

 

สัญลักษณ์มาตรฐานสำหรับพลาสติกเพื่อการรีไซเคิล  แหล่งที่มาของภาพ : http://www.vcharkarn.com/varticle/18774

สร้างโดย: 
นายชนม์พิสิฐ เพ็ชรรัตน์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 457 คน กำลังออนไลน์