• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:78812b89a25be2b0089c2338358e85f4' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><div align=\"center\">\n<b><span style=\"color: #ff6600\">ศาสนา</span></b>\n</div>\n<div align=\"center\">\n<img border=\"0\" src=\"/files/u19301/465d2f0d3ab59.gif\" style=\"width: 72px; height: 13px\" height=\"13\" width=\"280\" />\n</div>\n<p>\n<span style=\"color: #cc99ff\"><span style=\"color: #3366ff\">1 . การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม<br />\nในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นยุคของการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ อย่างมาก นับว่าเป็นสมัยที่ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก <br />\nวัดที่สำคัญได้แก่ วัดราชโอรสาราม ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3  วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี รัชกาลที่ 3 สร้างเพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จกรมพระศรีสุลาลัย ( แม่ )  วัดเทพธิดาราม รัชกาลที่ 3 สร้างเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ( ลูก )<br />\nวัดราชนัดดาราม รัชกาลที่ 3 สร้างเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ( หลาน ) และยังสร้าง            “<strong>โลหะปราสาท</strong>” ขึ้นแทนพระเจดีย์ เพื่อให้พระสงฆ์ได้มีที่สงบเสงี่ยมสำหรับบำเพ็ญสมาธิ ในวัดนี้  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โปรดฯ ให้ซ่อมพระอุโบสถวัดพระแก้ว ในรัชกาลก่อน ๆ ได้มีการถวายเครื่องทรงพระแก้วมรกต เฉพาะฤดูร้อนและฤดูฝน ในสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ โปรด ฯ ให้ทำเครื่องทรงฤดูหนาวถวายอีกหนึ่งชุด จึงมีเครื่องทรงสำหรับพระแก้วมรกตครบทั้งสามฤดูในรัชกาลนี้ และยังโปรด ฯ ให้หล่อพระพุทธรูปยืนสองพระองค์ทรงเครื่องกษัตริย์ไทย ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม <br />\nองค์ที่ 1 สร้างถวายพระอัยกา ( รัชกาลที่ 1 ) ทรงถวายนามพระพุทธรูปนี้ว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />\nองค์ที่ 2 สร้างถวายพระบรมชนกนาถ ( รัชกาลที่ 2 ) ทรงถวายนามพระพุทธรูปนี้ว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย<br />\nขณะนั้นคนไทยโดยทั่วไปเรียกพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 ว่า “แผ่นดินต้น” และเรียกรัชกาลที่ 2 ว่า”<strong>แผ่นดินกลาง</strong>” พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเกรงว่าประชาชนจะเรียกพระองค์ว่าแผ่นดินสุดท้าย อันเป็นอัปมงคล จึงไม่ให้เรียกแผ่นดินต้น แผ่นดินกลางอีกและทรงถวายนามให้รัชกาลที่ 1 ว่า “<strong>พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก</strong>”  รัชกาลที่ 2 ว่า “<strong>พระพุทธเลิศหล้านภาลัย</strong>” วัดสระเกศ รัชกาลที่ 3 โปรดฯ ให้สร้างพระวิหารใหญ่เป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารส ซึ่งอัญเชิญมาจากจังหวัดพิษณุโลก และโปรดฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็นแม่กองจัดสร้างเจดีย์ภูเขาทอง โดยมุ่งหวัง จะให้ สูงใหญ่เหมือนเจดีย์ภูเขาทองที่กรุงศรีอยุธยา ( สร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า “<strong>บรมบรรพต</strong>” ) แต่ชาวบ้าน นิยมเรียกว่า “<strong>เจดีย์ภูเขาทอง</strong>”  วัดยานนาวา ( เดิมชื่อวัดคอกกระบือ ) รัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างเจดีย์เป็นรูปเรือสำเภาขนาดเท่าของจริงขึ้นไว้ ในวัดนี้ เพื่อให้คนรุ่นหลังจะได้รู้จักเรือสำเภาที่ใช้ในการค้ายขายสินค้ายังต่างประเทศ<br />\nนอกจากนี้ยังมีการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งได้โปรดให้ดำเนินการซ่อมและสร้างเพิ่มเติมอย่างมโหฬาร เมื่อปีพุทธศักราช 2379 สร้างเจดีย์เพิ่มเติมเคียงข้าง&quot;<strong>พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ</strong>&quot; ที่สร้าง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ข้างละองค์ถวายแด่พระบรมชนกนาถองค์หนึ่งนามว่า “พระมหาเจดีย์มุนีปัตตบริขาร” และเป็นส่วนของพระองค์เององค์หนึ่งนามว่า “พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกลกนิทาน” พร้อมกับสร้างวิหารพระนอนขึ้นใหม่พร้อมด้วยพระพุทธไสยาสน์ ขนาดใหญ่ ในการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในครั้งนี้ ได้โปรดให้ประชุมบรรดานักปราชญ์ ราชบัณฑิตสาขาวิทยาการต่าง ๆ แล้วให้ช่วยกันจารึกลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ในวัด อาทิ ตำราแพทย์ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย กลบท ฯลฯ โดยเหตุนี้ จึงมีคำกล่าวว่า วัดพระเชตุพนฯ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย </span></span></p>\n<p>2 . การชำระพระไตรปิฎก<br />\nมีการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ได้โปรดให้มีการชำระพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ให้ถูกต้องครบถ้วน จนได้รับการยกย่องว่ายอดเยี่ยมกว่าฉบับก่อน ๆ และโปรดให้จ้างอาจารย์สำหรับบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรทุกพระอารามหลวง</p>\n<p>3. กำเนิด “<strong>ธรรมยุติกนิกาย</strong>”<br />\nในสมัยนี้ได้มีพระพุทธศาสนานิกายใหม่เกิดขึ้นอีกนิกาย หนึ่งเรียกว่า “<strong>ธรรมยุติกนิกาย</strong>” ผู้ให้กำเนิด คือสมเด็จพระน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งขณะนั้นกำลังผนวชเป็น “วชิรญาณภิกขุ” อยู่ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) สาเหตุการกำเนิดพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย เนื่องจากขณะที่เจ้าฟ้ามงกุฎกำลังผนวชอยู่นั้น รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จสรรคตลง บรรดาขุนนางผู้ใหญ่ ในสมัยนั้นเห็นสมควรให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ขึ้นครองราชสมบัติ เพราะบ้านเมืองกำลังอยู่ในภาวะคับขัน กำลังมีศึกสงคราม ต้องการผู้มีความรู้ความสามารถขึ้นมาปกครองบ้านเมือง ทำให้เจ้าฟ้ามงกุฎตัดสินพระทัย มุ่งศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังต่อไป ได้พยายามศึกษาพระไตรปิฎกอย่างละเอียด แล้วเห็นว่าพระสงฆ์ของไทยในขณะนั้นประพฤติผิดแผกแปลกไปจากพระวินัยที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้อย่างมาก ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎ ได้พบพระมอญรูปหนึ่งนามว่า “<strong>พระพุทธวังโส</strong>” ซึ่งเป็นพระราชาคณะมีสมณศักดิ์ว่า “<strong>พระสุเมธาจารย์</strong>” อยู่ ณ วัดบวรมงคล เป็นพระผู้ชำนาญพระวินัยปิฎกและสามารถปฏิบัติได้อย่างเคร่งครัด เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้นำระเบียบแบบแผนของพระพุทธวังโสมาปฏิบัติ โดยพระองค์ได้ย้ายมาประทับ ณ วัดราชาธิวาส จากนั้นได้มีบุตรหลานเจ้านาย ขุนนางต่าง ๆ เข้ามาถวายตัวเป็นศิษย์ ศึกษาและปฏิบัติตามเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดพระสงฆ์คณะใหม่อันได้ชื่อว่า “<strong>ธรรมยุติกนิกาย</strong>” \n</p>\n<p align=\"center\">\n<a href=\"/node/46362\"><span style=\"color: #ff0000\"><strong><img border=\"0\" src=\"/files/u19301/433970o8lcd5hrbz.gif\" height=\"100\" width=\"100\" />กลับหน้าหลัก</strong></span></a><span style=\"color: #ff0000\"><strong>                               </strong></span><a href=\"/node/45082\"><span style=\"color: #ff0000\"><strong>หน้าถัดไป</strong></span></a><span style=\"color: #ff0000\"><strong>                </strong></span><a href=\"/node/45504\"><span style=\"color: #ff0000\"><strong>ย้อนกลับ</strong></span></a><img border=\"0\" src=\"/files/u19301/433970o8lcd5hrbz.gif\" height=\"100\" width=\"100\" />\n</p>\n', created = 1719993348, expire = 1720079748, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:78812b89a25be2b0089c2338358e85f4' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ศาสนา ร.3

ศาสนา

1 . การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นยุคของการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ อย่างมาก นับว่าเป็นสมัยที่ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก
วัดที่สำคัญได้แก่ วัดราชโอรสาราม ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3  วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี รัชกาลที่ 3 สร้างเพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จกรมพระศรีสุลาลัย ( แม่ )  วัดเทพธิดาราม รัชกาลที่ 3 สร้างเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ( ลูก )
วัดราชนัดดาราม รัชกาลที่ 3 สร้างเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ( หลาน ) และยังสร้าง            “โลหะปราสาท” ขึ้นแทนพระเจดีย์ เพื่อให้พระสงฆ์ได้มีที่สงบเสงี่ยมสำหรับบำเพ็ญสมาธิ ในวัดนี้  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โปรดฯ ให้ซ่อมพระอุโบสถวัดพระแก้ว ในรัชกาลก่อน ๆ ได้มีการถวายเครื่องทรงพระแก้วมรกต เฉพาะฤดูร้อนและฤดูฝน ในสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ โปรด ฯ ให้ทำเครื่องทรงฤดูหนาวถวายอีกหนึ่งชุด จึงมีเครื่องทรงสำหรับพระแก้วมรกตครบทั้งสามฤดูในรัชกาลนี้ และยังโปรด ฯ ให้หล่อพระพุทธรูปยืนสองพระองค์ทรงเครื่องกษัตริย์ไทย ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
องค์ที่ 1 สร้างถวายพระอัยกา ( รัชกาลที่ 1 ) ทรงถวายนามพระพุทธรูปนี้ว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
องค์ที่ 2 สร้างถวายพระบรมชนกนาถ ( รัชกาลที่ 2 ) ทรงถวายนามพระพุทธรูปนี้ว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ขณะนั้นคนไทยโดยทั่วไปเรียกพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 ว่า “แผ่นดินต้น” และเรียกรัชกาลที่ 2 ว่า”แผ่นดินกลาง” พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเกรงว่าประชาชนจะเรียกพระองค์ว่าแผ่นดินสุดท้าย อันเป็นอัปมงคล จึงไม่ให้เรียกแผ่นดินต้น แผ่นดินกลางอีกและทรงถวายนามให้รัชกาลที่ 1 ว่า “พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก”  รัชกาลที่ 2 ว่า “พระพุทธเลิศหล้านภาลัย” วัดสระเกศ รัชกาลที่ 3 โปรดฯ ให้สร้างพระวิหารใหญ่เป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารส ซึ่งอัญเชิญมาจากจังหวัดพิษณุโลก และโปรดฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็นแม่กองจัดสร้างเจดีย์ภูเขาทอง โดยมุ่งหวัง จะให้ สูงใหญ่เหมือนเจดีย์ภูเขาทองที่กรุงศรีอยุธยา ( สร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า “บรมบรรพต” ) แต่ชาวบ้าน นิยมเรียกว่า “เจดีย์ภูเขาทอง”  วัดยานนาวา ( เดิมชื่อวัดคอกกระบือ ) รัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างเจดีย์เป็นรูปเรือสำเภาขนาดเท่าของจริงขึ้นไว้ ในวัดนี้ เพื่อให้คนรุ่นหลังจะได้รู้จักเรือสำเภาที่ใช้ในการค้ายขายสินค้ายังต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังมีการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งได้โปรดให้ดำเนินการซ่อมและสร้างเพิ่มเติมอย่างมโหฬาร เมื่อปีพุทธศักราช 2379 สร้างเจดีย์เพิ่มเติมเคียงข้าง"พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ" ที่สร้าง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ข้างละองค์ถวายแด่พระบรมชนกนาถองค์หนึ่งนามว่า “พระมหาเจดีย์มุนีปัตตบริขาร” และเป็นส่วนของพระองค์เององค์หนึ่งนามว่า “พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกลกนิทาน” พร้อมกับสร้างวิหารพระนอนขึ้นใหม่พร้อมด้วยพระพุทธไสยาสน์ ขนาดใหญ่ ในการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในครั้งนี้ ได้โปรดให้ประชุมบรรดานักปราชญ์ ราชบัณฑิตสาขาวิทยาการต่าง ๆ แล้วให้ช่วยกันจารึกลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ในวัด อาทิ ตำราแพทย์ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย กลบท ฯลฯ โดยเหตุนี้ จึงมีคำกล่าวว่า วัดพระเชตุพนฯ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย

2 . การชำระพระไตรปิฎก
มีการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ได้โปรดให้มีการชำระพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ให้ถูกต้องครบถ้วน จนได้รับการยกย่องว่ายอดเยี่ยมกว่าฉบับก่อน ๆ และโปรดให้จ้างอาจารย์สำหรับบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรทุกพระอารามหลวง

3. กำเนิด “ธรรมยุติกนิกาย
ในสมัยนี้ได้มีพระพุทธศาสนานิกายใหม่เกิดขึ้นอีกนิกาย หนึ่งเรียกว่า “ธรรมยุติกนิกาย” ผู้ให้กำเนิด คือสมเด็จพระน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งขณะนั้นกำลังผนวชเป็น “วชิรญาณภิกขุ” อยู่ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) สาเหตุการกำเนิดพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย เนื่องจากขณะที่เจ้าฟ้ามงกุฎกำลังผนวชอยู่นั้น รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จสรรคตลง บรรดาขุนนางผู้ใหญ่ ในสมัยนั้นเห็นสมควรให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ขึ้นครองราชสมบัติ เพราะบ้านเมืองกำลังอยู่ในภาวะคับขัน กำลังมีศึกสงคราม ต้องการผู้มีความรู้ความสามารถขึ้นมาปกครองบ้านเมือง ทำให้เจ้าฟ้ามงกุฎตัดสินพระทัย มุ่งศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังต่อไป ได้พยายามศึกษาพระไตรปิฎกอย่างละเอียด แล้วเห็นว่าพระสงฆ์ของไทยในขณะนั้นประพฤติผิดแผกแปลกไปจากพระวินัยที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้อย่างมาก ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎ ได้พบพระมอญรูปหนึ่งนามว่า “พระพุทธวังโส” ซึ่งเป็นพระราชาคณะมีสมณศักดิ์ว่า “พระสุเมธาจารย์” อยู่ ณ วัดบวรมงคล เป็นพระผู้ชำนาญพระวินัยปิฎกและสามารถปฏิบัติได้อย่างเคร่งครัด เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้นำระเบียบแบบแผนของพระพุทธวังโสมาปฏิบัติ โดยพระองค์ได้ย้ายมาประทับ ณ วัดราชาธิวาส จากนั้นได้มีบุตรหลานเจ้านาย ขุนนางต่าง ๆ เข้ามาถวายตัวเป็นศิษย์ ศึกษาและปฏิบัติตามเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดพระสงฆ์คณะใหม่อันได้ชื่อว่า “ธรรมยุติกนิกาย

กลับหน้าหลัก                               หน้าถัดไป                ย้อนกลับ

สร้างโดย: 
นางสาวสิริมา ธนมาศพูนทรัพย์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 429 คน กำลังออนไลน์