ห้อง3/8 งานชิ้นที่1

รูปภาพของ puangtip

มอบหมายงาน ชิ้นที่ 1

สวัสดีค่ะนักเรียนที่รัก

งานชิ้นแรก ให้นักเรียนค้นคว้า เรื่องการเกิดแฝด พร้อมรูปภาพประกอบ ความยาวประมาณ 10 บรรทัด โดยมีการอ้างอิงที่มาของข้อมูลทั้งที่เป็นเนื้อหา และรูปภาพ

การส่งงาน ให้ส่งที่แสดงความคิดเห็น.........นะคะSmile

กำหนดส่ง ภายใน วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2552 เวลา 16.00 น.

รูปภาพของ puangtip

Undecided

http://www.snr.ac.th/m5html/viparat/picture/%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B9%81%...

กำเนิดของ…ฝาแฝด
" ฝาแฝดนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

1. เด็กแฝดที่เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่ 1 ใบ (Indentical twins) เด็กจะรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน เพศเดียวกัน 1 ใบ ออกมาทุกเดือน หากมีเพศสัมพันธ์ตัวอสุจิก็จะเข้าไปผสมในท่อรังไข่ จะเกิดเป็นเด็ก 1 เซลล์ จากไข่ 1 ใบ เป็นเด็ก 1 คน วันต่อมาไข่ใบนี้ก็จะแบ่งเป็น 2 เซลล์ วันต่อมาเป็น 4 เซลล์ และ 8 เซลล์ตามลำดับ ซึ่งจะเยอะขึ้นเป็น 64 เซลล์ เพื่อพร้อมจำแนกเซลล์และสร้างอวัยวะ หลังจากนั้นวันที่ 5-6 ไข่ก็จะเดินทางมาถึงมดลูก ฝังตัว เติบโตและกลายเป็นเด็ก 1 คน

แต่ในกรณีที่เป็นเด็กแฝดจากไข่ใบเดียวกัน เด็กจะแบ่งตัวเป็น 2 ส่วนตั้งแต่ 3-4 วันแรก สมมติว่าไข่ที่ถูกผสมแบ่งตัวเป็น 2 ส่วนตั้งแต่ 3-4 วันแรก สมมติว่าไข่ที่ถูกผสมแบ่งตัวออกเป็น 4 เซลล์ แล้ว 1 ใน 4 เซลล์เกิดแบ่งตัวออกมาเองกลายเป็น 3 เซลล์อันหนึ่ง และ 1 เซลล์อันหนึ่ง ก็จะเกิดความเหมือนกันทุกอย่าง เพราะเกิดมาจากเซลล์ๆ เดียวกันแต่มีการแบ่งตัวเท่านั้น การพัฒนาและการเติบโตของเซลล์ก็จะดำเนินไปเหมือนเดิม เดินทางไปยังมดลูก และฝังตัวเหมือนกันทั้ง 2 เซลล์ฉะนั้นเขาก็จะมีถุงน้ำและรกเป็นคนละอันกัน

หากเด็กไม่มีการแบ่งเซลล์ เขาก็จะเป็นคนๆ เดียว แต่ถ้าเกิดแบ่งตัวหลังจากนั้นหรือตอนโตแล้ว ก็จะเกิดการวิปริต ซึ่งเป็นสาเหตุของความพิการแต่กำเนิดเพราะเซลล์ต่างๆ เริ่มสร้างอวัยวะแล้ว

อย่างฝาแฝดอินจันเกิดจากการแบ่งตัวภายหลัง ตัวเด็กที่กำลังถูกสร้างเกิดการแบ่งตัวก็เลยติดกัน เราจะห้ามไม่ได้ว่าเขาจะแบ่งตัวตอนไหน เวลาใด และความจริงอินจันเขาต้องเกิดมาเป็นคนๆ เดียว แต่เกิดมาแบ่งตัวตอนที่ไม่ควรแบ่งแล้วอย่างคนอื่นก็อาจมีกรณีอย่างนี้ เช่น หัวติดกัน ท้องติดกัน เป็นต้น

2. เด็กแฝดที่เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่มากกว่า 1 ใบ (Fraternal twins) จะมีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจเป็นคนละเพศกันก็ได้ เกิดจากแม่มีไข่ตกมากกว่า 1 ใบ และไข่มีความสมบูรณ์มากกว่า 1 ใบ ตัวอสุจิจึงเข้าไปผสมตามจำนวนไข่ที่สมบูรณ์ หากมีไข่ 3 ใบ ก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นแฝด 3 ได้ จึงเป็นฝาแฝดที่แยกกันตั้งแต่ตอนเป็นไข่แล้ว ฝาแฝดชนิดนี้จึงมีความคล้ายพี่น้องมากกว่าความเหมือนของฝาแฝด มีสิทธิ์จะเป็นคนละเพศหรือเพศเดียวกันก็ได้ เพราะไข่คนละใบ อสุจิคนละตัวกัน"

ปัจจัยเกิดแฝด

" จากการสำรวจเด็กแฝดที่เกิดจากไข่ 1 ใบ หรือที่เรียกว่าแฝดเหมือน จะมีอุบัติการณ์เท่ากันทุกเชื้อชาติ คือ 1 คู่ / 250 คน ส่วนเด็กแฝดที่เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ จะมีปัจจัยดังนี้

1. กรรมพันธุ์ เครือญาติของแม่ที่มีแฝด จะมีโอกาสได้ลูกแฝดมากกว่าเครือญาติของพ่อที่มีลูกแฝด อย่างเช่น ผมเคยทำคลอดรายหนึ่งตัวคุณแม่เป็นแฝด ลูกเขาก็แฝด และยายของหลานแฝดก็เป็นแฝด ซึ่งมันเป็นเรื่องของกรรมพันธุ์

2. เชื้อชาติ เช่น ในฝรั่งผิวขาวชาวยุโรปจะเกิดฝาแฝด 1 คู่ต่อหญิงตั้งครรภ์ 100 คน ส่วนหญิงนิโกรจะเกิด 1 คู่ต่อหญิงตั้งครรภ์ 80 คน

3. อายุของแม่และจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ก็มีส่วนอย่างยิ่ง เพราะยิ่งอายุ และจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์มากเท่าไร ไข่จะมีโอกาสตกเยอะขึ้น โอกาสตั้งครรภ์แฝดก็มากขึ้นตาม อย่างในประเทศไนจีเรีย หญิงตั้งครรภ์จะมีโอกาสเป็นแฝดได้ร้อยละ 2 แต่หญิงที่ตั้งครรภ์ครั้งที่ 6 หรือมากกว่าจะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้ถึงร้อยละ 6.6

4. หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากโดยสาเหตุมาจากการกินเยอะ จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากกว่าหญิงรูปร่างผอม ที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการหรือขาดอาหาร ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความสมบูรณ์ของร่างกาย

5. การได้รับสารหรือยากระตุ้นให้ตกไข่มากกว่า 1 ใบ ซึ่งอยู่ในกลุ่มยาฮอร์โมน

6. การทำเด็กหลอดแก้ว

7. การกินยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ประมาณ 3 ปีขึ้นไป เพราะยาคุมจะมีฤทธิ์ไปกดต่อมฮอร์โมนใต้สมองไม่ให้ไข่ตก แต่ถ้าเราเกิดอยากมีลูกและหยุดคุมขึ้นมาฮอร์โมนที่ถูกกดไว้มันจะเป็นอิสระ ทำให้ตกไข่ทีละหลายๆ ใบ จึงเกิดโอกาสเป็นเด็กแฝดได้มากกว่าคนปกติ

รู้ได้ไหม…หากตั้งท้องแฝด

" คุณแม่เมื่อมีลูกแฝดอาจจะมีอาการแพ้ท้องมากกว่าปกติ กินเท่าไรก็ไม่พอ เมื่อท้องไปสักพักแล้วรู้สึกว่าท้องมันใหญ่กว่าปกติมาก เช่นท้อง 3 เดือนเท่า 5 เดือนแล้ว หรือลูกดิ้นมากซ้ายทีขวาทีเต็มไปหมด ก็จะเป็นตัวบ่งชี้ แต่การอัลตราซาวนด์จะให้ผลแม่นยำที่สุด แค่อายุครรภ์ประมาณ 6 สัปดาห์ ก็จะเห็นแล้วว่าเป็นเด็ก 2 คน อยู่คนละถุงกัน"

แต่การตั้งครรภ์เด็กแฝดจะทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงกว่าครรภ์ทั่วไปนะ เช่น

§ มีโอกาสแท้งและคลอดก่อนกำหนดสูงกว่าครรภ์ปกติ

§ โอกาสที่เด็กจะตายในครรภ์และแรกคลอด สูงมากกว่าปกติถึง 2 เท่า

§ เด็กอาจมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

§ มีความผิดปกติแต่กำเนิดสูงกว่าครรภ์ปกติ

§ แม่เกิดอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ โลหิตจาง รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด เด็กอยู่ในท่าผิดปกติ โพรงมดลูกใหญ่มากๆ

§ อาการแทรกซ้อนขณะคลอด เช่น มดลูกบีบตัวไม่ดี สายสะดือย้อยๆ จึงทำให้เพิ่มอัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องแม่

§ อาการแทรกซ้อนหลังคลอด เช่น ตกเลือด และการติดเชื้อฯ

ปัญหาเด็กแฝดที่พบบ่อย

เด็กแฝดในครรภ์จะเติบโตไม่เต็มที่ ยกตัวอย่าง เมื่อเด็กแฝดน้ำหนักตัวคนละ 2,000 กรัม คูณสองก็เท่ากับ 4,000 กรัม มดลูกก็จะเริ่มบีบตัวให้คลอดแม้ยังไม่ถึงกำหนด เพราะขนาดมดลูกจำกัดและรับไม่ไหว เด็กที่คลอดก็จะตัวเล็ก

§ เด็กต้องการอาหารมากพอสำหรับ 2 คน แต่แม่ก็กินได้จำกัด และยังมีปัจจัยเรื่องมดลูกอีก เพราะหากมดลูกของแม่ดีแข็งแรง อาหารที่ส่งมาก็จะมาก พบว่าแฝดในแม่อายุมากมดลูกจะไม่แข็งแรง ลูกได้รับอาหารน้อยหรือไม่ก็แย่งอาหารกันเองเมื่อเด็กคลอดจะมีอาการหายใจหอบ ติดเชื้อ อ่อนแอ ซึ่งเป็นโรคของเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย

§ กรณีแย่งอาหารกัน ถ้าเป็นแฝดเหมือนเกิดจากไข่ใบเดียวกัน บางทีรกอาจจะเชื่อมกัน เด็กอีกคนก็จะดูดเลือดจากเด็กอีกคนไป เด็กที่ดูดเยอะก็จะตัวใหญ่ ส่วนอีกคนก็จะผอมแห้งเหี่ยว แต่เด็กที่ได้เลือดเยอะใช่ว่าจะดี เพราะมีโอกาสหัวใจวายได้เหมือนกัน แต่เด็กที่แย่จะเป็นคนที่ถูกแย่งเลือดไปมากกว่า จึงต้องดูแลเป็นพิเศษมากกว่าครรภ์อื่นๆ

§ หากคุณแม่มีเด็กแฝดในท้องเยอะ ประสิทธิภาพ ความสามารถ ความฉลาดและพัฒนาการจะไม่เท่าเด็กที่เกิดมาเดี่ยวๆ ได้

http://www.snr.ac.th/m5html/viparat/picture/%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B9%81%...

กำเนิดของ…ฝาแฝด
" ฝาแฝดนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

1. เด็กแฝดที่เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่ 1 ใบ (Indentical twins) เด็กจะรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน เพศเดียวกัน 1 ใบ ออกมาทุกเดือน หากมีเพศสัมพันธ์ตัวอสุจิก็จะเข้าไปผสมในท่อรังไข่ จะเกิดเป็นเด็ก 1 เซลล์ จากไข่ 1 ใบ เป็นเด็ก 1 คน วันต่อมาไข่ใบนี้ก็จะแบ่งเป็น 2 เซลล์ วันต่อมาเป็น 4 เซลล์ และ 8 เซลล์ตามลำดับ ซึ่งจะเยอะขึ้นเป็น 64 เซลล์ เพื่อพร้อมจำแนกเซลล์และสร้างอวัยวะ หลังจากนั้นวันที่ 5-6 ไข่ก็จะเดินทางมาถึงมดลูก ฝังตัว เติบโตและกลายเป็นเด็ก 1 คน

แต่ในกรณีที่เป็นเด็กแฝดจากไข่ใบเดียวกัน เด็กจะแบ่งตัวเป็น 2 ส่วนตั้งแต่ 3-4 วันแรก สมมติว่าไข่ที่ถูกผสมแบ่งตัวเป็น 2 ส่วนตั้งแต่ 3-4 วันแรก สมมติว่าไข่ที่ถูกผสมแบ่งตัวออกเป็น 4 เซลล์ แล้ว 1 ใน 4 เซลล์เกิดแบ่งตัวออกมาเองกลายเป็น 3 เซลล์อันหนึ่ง และ 1 เซลล์อันหนึ่ง ก็จะเกิดความเหมือนกันทุกอย่าง เพราะเกิดมาจากเซลล์ๆ เดียวกันแต่มีการแบ่งตัวเท่านั้น การพัฒนาและการเติบโตของเซลล์ก็จะดำเนินไปเหมือนเดิม เดินทางไปยังมดลูก และฝังตัวเหมือนกันทั้ง 2 เซลล์ฉะนั้นเขาก็จะมีถุงน้ำและรกเป็นคนละอันกัน

หากเด็กไม่มีการแบ่งเซลล์ เขาก็จะเป็นคนๆ เดียว แต่ถ้าเกิดแบ่งตัวหลังจากนั้นหรือตอนโตแล้ว ก็จะเกิดการวิปริต ซึ่งเป็นสาเหตุของความพิการแต่กำเนิดเพราะเซลล์ต่างๆ เริ่มสร้างอวัยวะแล้ว

อย่างฝาแฝดอินจันเกิดจากการแบ่งตัวภายหลัง ตัวเด็กที่กำลังถูกสร้างเกิดการแบ่งตัวก็เลยติดกัน เราจะห้ามไม่ได้ว่าเขาจะแบ่งตัวตอนไหน เวลาใด และความจริงอินจันเขาต้องเกิดมาเป็นคนๆ เดียว แต่เกิดมาแบ่งตัวตอนที่ไม่ควรแบ่งแล้วอย่างคนอื่นก็อาจมีกรณีอย่างนี้ เช่น หัวติดกัน ท้องติดกัน เป็นต้น

2. เด็กแฝดที่เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่มากกว่า 1 ใบ (Fraternal twins) จะมีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจเป็นคนละเพศกันก็ได้ เกิดจากแม่มีไข่ตกมากกว่า 1 ใบ และไข่มีความสมบูรณ์มากกว่า 1 ใบ ตัวอสุจิจึงเข้าไปผสมตามจำนวนไข่ที่สมบูรณ์ หากมีไข่ 3 ใบ ก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นแฝด 3 ได้ จึงเป็นฝาแฝดที่แยกกันตั้งแต่ตอนเป็นไข่แล้ว ฝาแฝดชนิดนี้จึงมีความคล้ายพี่น้องมากกว่าความเหมือนของฝาแฝด มีสิทธิ์จะเป็นคนละเพศหรือเพศเดียวกันก็ได้ เพราะไข่คนละใบ อสุจิคนละตัวกัน"

ปัจจัยเกิดแฝด

" จากการสำรวจเด็กแฝดที่เกิดจากไข่ 1 ใบ หรือที่เรียกว่าแฝดเหมือน จะมีอุบัติการณ์เท่ากันทุกเชื้อชาติ คือ 1 คู่ / 250 คน ส่วนเด็กแฝดที่เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ จะมีปัจจัยดังนี้

1. กรรมพันธุ์ เครือญาติของแม่ที่มีแฝด จะมีโอกาสได้ลูกแฝดมากกว่าเครือญาติของพ่อที่มีลูกแฝด อย่างเช่น ผมเคยทำคลอดรายหนึ่งตัวคุณแม่เป็นแฝด ลูกเขาก็แฝด และยายของหลานแฝดก็เป็นแฝด ซึ่งมันเป็นเรื่องของกรรมพันธุ์

2. เชื้อชาติ เช่น ในฝรั่งผิวขาวชาวยุโรปจะเกิดฝาแฝด 1 คู่ต่อหญิงตั้งครรภ์ 100 คน ส่วนหญิงนิโกรจะเกิด 1 คู่ต่อหญิงตั้งครรภ์ 80 คน

3. อายุของแม่และจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ก็มีส่วนอย่างยิ่ง เพราะยิ่งอายุ และจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์มากเท่าไร ไข่จะมีโอกาสตกเยอะขึ้น โอกาสตั้งครรภ์แฝดก็มากขึ้นตาม อย่างในประเทศไนจีเรีย หญิงตั้งครรภ์จะมีโอกาสเป็นแฝดได้ร้อยละ 2 แต่หญิงที่ตั้งครรภ์ครั้งที่ 6 หรือมากกว่าจะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้ถึงร้อยละ 6.6

4. หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากโดยสาเหตุมาจากการกินเยอะ จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากกว่าหญิงรูปร่างผอม ที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการหรือขาดอาหาร ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความสมบูรณ์ของร่างกาย

5. การได้รับสารหรือยากระตุ้นให้ตกไข่มากกว่า 1 ใบ ซึ่งอยู่ในกลุ่มยาฮอร์โมน

6. การทำเด็กหลอดแก้ว

7. การกินยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ประมาณ 3 ปีขึ้นไป เพราะยาคุมจะมีฤทธิ์ไปกดต่อมฮอร์โมนใต้สมองไม่ให้ไข่ตก แต่ถ้าเราเกิดอยากมีลูกและหยุดคุมขึ้นมาฮอร์โมนที่ถูกกดไว้มันจะเป็นอิสระ ทำให้ตกไข่ทีละหลายๆ ใบ จึงเกิดโอกาสเป็นเด็กแฝดได้มากกว่าคนปกติ

รู้ได้ไหม…หากตั้งท้องแฝด

" คุณแม่เมื่อมีลูกแฝดอาจจะมีอาการแพ้ท้องมากกว่าปกติ กินเท่าไรก็ไม่พอ เมื่อท้องไปสักพักแล้วรู้สึกว่าท้องมันใหญ่กว่าปกติมาก เช่นท้อง 3 เดือนเท่า 5 เดือนแล้ว หรือลูกดิ้นมากซ้ายทีขวาทีเต็มไปหมด ก็จะเป็นตัวบ่งชี้ แต่การอัลตราซาวนด์จะให้ผลแม่นยำที่สุด แค่อายุครรภ์ประมาณ 6 สัปดาห์ ก็จะเห็นแล้วว่าเป็นเด็ก 2 คน อยู่คนละถุงกัน"

แต่การตั้งครรภ์เด็กแฝดจะทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงกว่าครรภ์ทั่วไปนะ เช่น

§ มีโอกาสแท้งและคลอดก่อนกำหนดสูงกว่าครรภ์ปกติ

§ โอกาสที่เด็กจะตายในครรภ์และแรกคลอด สูงมากกว่าปกติถึง 2 เท่า

§ เด็กอาจมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

§ มีความผิดปกติแต่กำเนิดสูงกว่าครรภ์ปกติ

§ แม่เกิดอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ โลหิตจาง รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด เด็กอยู่ในท่าผิดปกติ โพรงมดลูกใหญ่มากๆ

§ อาการแทรกซ้อนขณะคลอด เช่น มดลูกบีบตัวไม่ดี สายสะดือย้อยๆ จึงทำให้เพิ่มอัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องแม่

§ อาการแทรกซ้อนหลังคลอด เช่น ตกเลือด และการติดเชื้อฯ

ปัญหาเด็กแฝดที่พบบ่อย

เด็กแฝดในครรภ์จะเติบโตไม่เต็มที่ ยกตัวอย่าง เมื่อเด็กแฝดน้ำหนักตัวคนละ 2,000 กรัม คูณสองก็เท่ากับ 4,000 กรัม มดลูกก็จะเริ่มบีบตัวให้คลอดแม้ยังไม่ถึงกำหนด เพราะขนาดมดลูกจำกัดและรับไม่ไหว เด็กที่คลอดก็จะตัวเล็ก

§ เด็กต้องการอาหารมากพอสำหรับ 2 คน แต่แม่ก็กินได้จำกัด และยังมีปัจจัยเรื่องมดลูกอีก เพราะหากมดลูกของแม่ดีแข็งแรง อาหารที่ส่งมาก็จะมาก พบว่าแฝดในแม่อายุมากมดลูกจะไม่แข็งแรง ลูกได้รับอาหารน้อยหรือไม่ก็แย่งอาหารกันเองเมื่อเด็กคลอดจะมีอาการหายใจหอบ ติดเชื้อ อ่อนแอ ซึ่งเป็นโรคของเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย

§ กรณีแย่งอาหารกัน ถ้าเป็นแฝดเหมือนเกิดจากไข่ใบเดียวกัน บางทีรกอาจจะเชื่อมกัน เด็กอีกคนก็จะดูดเลือดจากเด็กอีกคนไป เด็กที่ดูดเยอะก็จะตัวใหญ่ ส่วนอีกคนก็จะผอมแห้งเหี่ยว แต่เด็กที่ได้เลือดเยอะใช่ว่าจะดี เพราะมีโอกาสหัวใจวายได้เหมือนกัน แต่เด็กที่แย่จะเป็นคนที่ถูกแย่งเลือดไปมากกว่า จึงต้องดูแลเป็นพิเศษมากกว่าครรภ์อื่นๆ

§ หากคุณแม่มีเด็กแฝดในท้องเยอะ ประสิทธิภาพ ความสามารถ ความฉลาดและพัฒนาการจะไม่เท่าเด็กที่เกิดมาเดี่ยวๆ ได้

รูปภาพของ puangtip

Undecided

การศึกษาของชาวดัชพบว่า เด็กแฝดมักเกิดกับแม่ที่มีอายุมากเพราะว่าแม่มักจะมีแนวโน้มที่จะสร้างไข่ได้ทีละหลายใบมากกว่าหญิงที่มีอายุน้อยกว่า

การเพิ่มขึ้นของการรักษาเรื่องการสืบพันธุ์ (ของแต่ละคน) อธิบายถึงอัตราการเกิดของแฝดคู่ไม่เหมือน (non-identical twin)

นักวิจัยจาก Vrije University อัมสเตอร์ดัม มองไปที่การพัฒนาของไข่ในหญิงมากกว่า 500 คน เพื่อที่จะดูว่าทำไมการเกิดแฝดจึงเกิดขึ้นบ่อยนัก งานวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร journal Human Reproduction

แฝดเหมือน (Identical twins) เกิดขึ้นจากการปฏิสนธิของไข่ใบเดียวที่มีการแบ่งตัวทำให้ได้เด็ก 2 คน แต่แฝดคู่ไม่เหมือน (non-identical twin) เกิดจากการพัฒนาของไข่ที่ปฏิสนธิ 2 ใบ

แฝดคู่ไม่เหมือนนับเป็น 1 ใน 3 ของการท้องเด็กแฝด

ในวงจรปกติ ฮอร์โมนที่มีชื่อว่า follicle stimulating hormone (FSH) กระตุ้นการเจริญของไข่ที่อยู่ในฟอลลิเคิล (follicle) ในรังไข่ กระบวนการนี้ถูกควบคุมเมื่อฟอลลิเคิลเจริญเต็มที่แล้ว ระดับของฮอร์โมน FSH ก็จะลดลง

นักวิทยาศาสตร์ชาวดัชได้วิเคราะห์การพัฒนาของฟอลลิเคล (ซึ่งเป็นที่สร้างไข่) ในวงจร 959 รอบในผู้หญิง

เมื่อทำการให้สเปิร์มเข้าไปภายในมดลูกโดยตรง เพราะสาเหตุจากการเป็นหมันที่หาสาเหตุไม่ได้ หรือการเป็นอย่างอ่อนของผู้ชาย นักวิจัยพบว่ามีการพัฒนาของฟอลลิเคิลในรังไข่ที่สร้างไข่หลายใบ เกิดขึ้นในผู้หญิง 105 คน (ฟอลลิเคิล 1 อันมีขนาดใหญ่กว่า 14 มิลลิเมตร) ในผู้หญิง 105 คนนั้นมีเพียง 5 คนที่อายุต่ำกว่า 30 ปี 45 คนมีอายุระหว่าง 30-35 ปี และ 55 คน มีอายุมากกว่า 35 ปี
ความเข้มข้นของฮอร์โมน FSH เพิ่มขึ้นตามอายุ ทั้งในผู้หญิงที่มีการพัฒนาของฟอลลิเคิลแบบมีการสร้างไข่ใบเดียวและหลายใบ แต่คนที่มีการสร้างไข่หลายใบจะมีระดับฮอร์โมนที่สูงกว่า

ในระยะสุดท้ายของระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง คือในช่วง 10 ปี ตั้งแต่ อายุ 38-48 ปี เรียกว่าช่วง peri-menopausal transition ซึ่งต่อมพิทูอิทารี (pituitary gland) ได้ผลิตฮอร์โมน FSH มากขึ้นๆ เพื่อใช้ในการกระตุ้นการพัฒนาของไข่ที่เหลืออยู่น้อยในฟอลลิเคิล

จากการศึกษาพบว่า ในผู้หญิงบางคนระดับของ FSH ได้สูงขึ้นเรื่อยๆ เกินระดับที่ต้องการในการทำให้ไข่ 1 ใบสุก อย่างไรก็ตาม ถ้ามีฟอลลิเคิล 2 อันหรือมากกว่าที่ประกอบไปด้วยไข่ที่มีคุณภาพดีที่พร้อมจะสุก เมื่อมีการกระตุ้นการตกไข่สองครั้งในเวลาเดียวกันเกิดขึ้น ทำให้เกิดการตั้งครรภ์แบบแฝดเกิดขึ้นได้มากขึ้น

Dr Cornelius Lambalk หัวหน้าหน่วยวิจัยทางการแพทย์ของระบบสืบพันธุ์จาก Vrije University Medical Centre ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำการศึกษา กล่าวว่า อายุที่มากขึ้นของผู้หญิงเกี่ยวพันกับความสามารถในการสืบพันธุ์ที่ลดลง เนื่องจากการลดลงของคุณภาพและจำนวนของไข่ที่พร้อมจะสุก แต่ในขณะเดียวกันก็มีการของอัตราการเกิดแฝดคู่ไม่เหมือนก็เพิ่มขึ้นด้วยอย่างชัดเจน ซึ่งก็ดูเหมือนจะเป็นปรากฏการณ์ที่ประหลาดที่ไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมดจนถึงตอนนี้

Dr Gillian Lockwood แพทย์ผู้อำนวยการของ Midland Fertility Services กล่าวว่า การศึกษาได้ชี้ชัดถึงอะไรที่ผู้เชี่ยวชาญสงสัย ผลของที่เราพยายามตั้งใจที่จะเหนี่ยวนำการตกไข่หรือ IVF เมื่อเราฉีดฮอร์โมน FSH ไปเพื่อกระตุ้นให้สร้างหลายฟอลลิเคิลใน 1 รอบ

เรื่องที่เกี่ยวข้องมากกว่าอัตราการเกิดที่ลดลง โดยเฉพาะกับหญิงที่แก่ ซึ่ง “ปล่อยให้มันสายเกินไป” เป็นที่น่าสนใจที่จะคาดเดาว่า กลไกของธรรมชาติอาจจะชดเชยให้ โดยเพิ่มเติมส่วนที่ขาดไปก่อนหน้านี้

ที่มาhttp://news.bbc.co.uk/2/hi/health/4735446.stm

http://idea.kapook.com/files/imgidea/thumb/04539/Idea-6750-04539.jpg
ที่มา http://idea.kapook.com/files/imgidea/thumb/04539/Idea-6750-04539.jpg

การเกิดแฝด
ฝาแฝดมี 2 ประเภท คือ ฝาแฝดร่วมไข่ และฝาแฝดต่างกัน
1. แฝดร่วมไข่ เป็นฝาแฝดที่เกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์ไข่ 1 ใบ และอสุจิ 1 ตัว ขณะที่กำลังเจริญเติบโตเอ็มบริโอมีการแบ่งเซลล์เช่น จาก 1 เป็น 2 และแยกขาดออกจากัน แต่ละส่วนจะเจริญเติบโตเป็นทารกที่มีอวัยวะครบสมบูรณ์จนกระทั่งคลอด แฝดประเภทนี้จะเป็นเพศเดียวกันเสมอ มีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน และถ้าได้รับการเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อเดียวกันจะมีอุปนิสัยและความสามารถที่คล้ายกันมาก ในกรณีที่เอ็มบริโอแบ่งตัว ออกเป็น 2 แต่ไม่แยกออกจากกัน เมื่อทารก เจริญเติบโตจะได้ทารกตัวติดกัน
2. แฝดต่างไข่ เป็นแฝดที่เกิดจากมีไข่สุกมากกว่า 1 ใบ ไข่แต่ละใบจะมีโอกาสเข้าผสมกับตัวอสุจิแต่ละตัวและเกิดการปฏิสนธิในเวลาใกล้เคียงกัน จะได้เอ็มบริโอ เจริญเติบโตอยู่ภายในมดลูกเดียวกัน แต่แยกรกกันและทารกจะคลอดออกมาในเวลาใกล้เคียงกัน ฝาแฝดชนิดนี้อาจเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศกันก็ได้ ส่วนหน้าตาและลักษณะทางพันธุกรรมจะมีลักษณะคล้ายกัน
แหล่งอ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/node/11464

รูปภาพ
http://www.zabzaa.com/hi5/images_upload/neko_jump.jpg

การเกิดแฝด
ฝาแฝดมี 2 ประเภท คือ ฝาแฝดร่วมไข่ และฝาแฝดต่างกัน
1. แฝดร่วมไข่ เป็นฝาแฝดที่เกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์ไข่ 1 ใบ และอสุจิ 1 ตัว ขณะที่กำลังเจริญเติบโตเอ็มบริโอมีการแบ่งเซลล์เช่น จาก 1 เป็น 2 และแยกขาดออกจากัน แต่ละส่วนจะเจริญเติบโตเป็นทารกที่มีอวัยวะครบสมบูรณ์จนกระทั่งคลอด แฝดประเภทนี้จะเป็นเพศเดียวกันเสมอ มีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน และถ้าได้รับการเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อเดียวกันจะมีอุปนิสัยและความสามารถที่คล้ายกันมาก ในกรณีที่เอ็มบริโอแบ่งตัว ออกเป็น 2 แต่ไม่แยกออกจากกัน เมื่อทารก เจริญเติบโตจะได้ทารกตัวติดกัน
2. แฝดต่างไข่ เป็นแฝดที่เกิดจากมีไข่สุกมากกว่า 1 ใบ ไข่แต่ละใบจะมีโอกาสเข้าผสมกับตัวอสุจิแต่ละตัวและเกิดการปฏิสนธิในเวลาใกล้เคียงกัน จะได้เอ็มบริโอ เจริญเติบโตอยู่ภายในมดลูกเดียวกัน แต่แยกรกกันและทารกจะคลอดออกมาในเวลาใกล้เคียงกัน ฝาแฝดชนิดนี้อาจเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศกันก็ได้ ส่วนหน้าตาและลักษณะทางพันธุกรรมจะมีลักษณะคล้ายกัน
แหล่งอ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/node/11464

http://www.zabzaa.com/hi5/images_upload/neko_jump.jpg

รูปภาพของ puangtip

ยินดีที่พบกัน....ครู พวงทิพย์ วีระณรงค์ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมค่ะWink  แต่ขอให้ข้อสังเกตุว่าเคยพบแฝดร่วมไข่ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน มีอุปนิสัยและความสามารถต่างกันหลายคู่...คงเป็นเพราะมีกรรมเป็นกำเนิดที่ต่างกันนะ...

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 308 คน กำลังออนไลน์