^-^ สารชีวโมเลกุล (biomolecule)

รูปภาพของ wawa05

  

        เป็นน้ำตาลที่ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล เรียกว่า น้ำตาลโมเลกุลคู่ สามารถแบ่งตามชนดของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่มารวมกันได้  3 ชนิด ดังนี้

         1. น้ำตาลมอลโทส (maltose)  ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสกับน้ำตาลกลูโคส เกิดจากการสร้างพันธะไกลโคซิดิก (glycosidic bond) ระหว่างคาร์บอนตำแหน่งที่ 1 ของ a-D-glucose ของโมเลกุลแรกกับคาร์บอนตำแหน่งที่ 4 ของ a- หรือ β-D-glucose ของโมเลกุลที่สอง จึงทำให้เกิดพันธะที่เรียกว่า 1-4 glycosidic linkage

        สมบัติทั่วไป

        - เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่เกิดจาการรวมตัวของกลูโคส 2 โมเลกุล มีสูตรโมเลกุล   คือ

C6 H12O6 + C6 H12O6  -------> C12 H22O11 H2O

glucose  + glucose  ------->    maltose  +   H2

          - ละลายน้ำได้ค่อนข้างดี ไม่เกิดในรูปอิสระในธรรมชาติ แต่จะพบมากในเมล็ดข้าวที่กำลังงอกหรือน้ำที่สกัดจากข้าวงอก (malt-liquors  

เมล็ดข้าวที่กำลังงอก

ข้าวบาร์เลย์

          - เกิดจากกระบวนการย่อย แป้งหรือไกลโคเจนโดยใช้เอนไซม์อะไมเลส เช่น ในเมล็ด ธัญพืชที่กำลังงอกหรือในข้าวมอลต์ หรือเรียก มอลท์ซูการ์ (malt sugar) หรือข้าวบาร์เลย์ที่นำมาผลิตเบียร์ เครื่องดื่มและอาหารสำหรับเด็ก ที่มีการย่อย สลายแป้งจนกลายเป็นมอลโทส

          - เมื่อย่อยมอลโทสโดยน้ำย่อย มอลเทส (maltase) จะแตกตัวได้กลูโคส 2 โมเลกุล ในร่างกายมอลโทสเกิดจากการย่อยแป้ง

 

          2. น้ำตาลซูโครส (sucrose) คือ น้ำตาลโมเลกุลคู่ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวันที่รู้จักกันดีในชื่อน้ำตาลทราย หรือเรียกว่า “table sugar” ได้จากอ้อย หรือหัวบีท นอกจากนี้ยังพบในน้ำผึ้ง ผลไม้ และผัก ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทุกชนิดจะมีซูโครสปริมาณสูง คนทั่วไปได้รับพลังงานจากซูโครส ประมาณร้อยละ 25 ของพลังงานที่ได้จากคาร์โบไฮเดรต เป็นผลึก ละลายน้ำได้ดี 

 

อ้อย                                        น้ำผึ้ง

          ซูโครส เกิดจากการเชื่อมต่อกันของกลูโคส กับฟรักโทส

C6 H12O6 + C6 H12O6   -------> C12 H22O11 H2

glucose  +  fructose  ------>    sucrose  + H2

เมื่อแตกตัวโดยเอนไซม์ซูเครส (sucrase) จะได้กลูโคส กับฟรักโทส

 

 

          -

          3. น้ำตาลแลกโทส (lactose)หรือมิลค์ ซูการ์ (milk sugar) คือน้ำตาลที่พบในต่อมน้ำนมของคน และสัตว์ อาหารนม และผลิตภัณฑ์จากนม แลกโทสเป็นน้ำตาลที่หวานน้อยกว่าซูโครส 5 เท่า ละลายน้ำได้น้อย ย่อยช้ากว่าน้ำตาลตัวอื่น และบูด (ferment) ยากกว่าน้ำตาลซูโครส  มีลักษณะเป็นผลึก ละเอียดคล้ายทราย ละลายน้ำได้ไม่ดี มีความหวานน้อยมากเมื่อเทียบกับซูโครส

    

น้ำนมและผลิตภัณฑ์จากนม

          แลกโทสเกิดจากการเชื่อมต่อกันของกลูโคสและกาแลกโทส

C6 H12O6 + C6 H12O6  -------> C12 H22O11 H2

glucose  + galactose  ------->   lactose  +   H2

          เมื่อถูกย่อยโดยเอนไซม์แลกเทส (lactase) จะได้กลูโคส และกาแลกโทส 

 

ตารางเปรียบเทียบความหวานของน้ำตาลชนิดต่างๆ

สร้างโดย: 
นางไวยุด๊ะ เหตุเหล๊าะ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 925 คน กำลังออนไลน์