เที่ยวเมืองอุดร

รูปภาพของ narumon

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


 
       
  
 

               จังหวัดอุดรธานีเป็นเมืองศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจนับแต่นักโบราณคดีค้นคว้าพบหลักฐานที่ชุมชนบ้านเชียงตำบลบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  ว่าเคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เป็นลักษณะเป็นชุมชนเกษตรกรรมอายุราว  1.800-5.600  ปีมาแล้วจนเวลาต่อมาได้รับการยกย่องเป็น  “มรดกโลก”  ลำดับที่  359  และยังมีการค้นพบหลักฐานร่องรอยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง  โดยเฉพาะหลักฐานภาพเขียนสีที่ผนังเพิงหินทรายอายุราว  2,500-3,000  ปีมาแล้ว  ที่  “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท”
               พุทธศักราช  (พ.ศ.)  2435  จังหวัดอุดรธานีมีประวัติความเป็นมาในการจัดตั้งมณฑลอุดร  หรือจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน  ไปเกี่ยวข้องกับการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติไทยให้รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  5  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พลตรีพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม  หรือกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม  ในขณะนั้นเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือยกทับมาปราบปรามโจรจีนฮ่อด้านจังหวัดหนองคาย  หลังจากปราบโจรจีนฮ่อสงบเป็นเวลาเดียวกับยุคการล่าอาณานิคมไปเกิดพิพาทกับประเทศฝรั่งเศสที่ต้องการครอบครองพื้นที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง  ได้ส่งเรือรบยิงเข้าใส่ป้อมพระจุลฯ  และประกาศปิดอ่าวไทยบีบให้ประเทศไทยมอบพื้นที่ให้
               จนพระพุทธศักราช  (พ.ศ.)  2436  หรือรัตนโกสินทร์  (ร.ศ.)  112  ประเทศไทยยินยอมพื้นที่ฝั่งซ้ายแม่โขงให้ประเทศฝรั่งเศสและพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมต้องเคลื่อนทัพจากริมฝั่งแม่น้ำโขงมาทางทิศใต้จนพบพื้นที่เหมาะสม  ด้วยพระปรีชาสามารถเห็นบ้านเดื่อหมากแข้งเหมาะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทั้งสามารถบัญชาการกองทหาร  ดูแลอธิปไตยชาติไทยหากถูกข้าศึกรุกรานข้ามแม่น้ำโขง  และเป็นศูนย์กลางทางการค้าขาย อีกทั้งได้ดูแลทุกข์สุขชาวไทยทั่วถึงจึงตัดสินใจตั้งทัพที่  “บ้านเดื่อหมากแข้ง”  ตรงกับวันที่  18  มกราคม  วันนี้เมืองอุดรธานีมีอายุเพียง  113  ปี  แต่ก็เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในปัจจุบัน

 

               จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า  บริเวณพื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบันเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ประมาณ  5,000-7,000  ปี  จากหลักฐานการค้นพบที่บ้านเชียง  อำเภอหนองหาน และภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ  ที่อำเภอบ้านผือ  เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างดี  จนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีระหว่างประเทศว่าชุมชนที่เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดอุดรธานีมีอารยธรรมความเจริญในระดับสูง  และอาจถ่ายทอดความเจริญนี้ไปสู่ประเทศจีนก็อาจเป็นได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่บ้านเชียงนั้น  สันนิษฐานว่าอาจเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่เก่าที่สุดของโลก
               หลังจากยุคความเจริญที่บ้านเชียงแล้ว  พื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีก  จนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทยนับตั้งแต่สมัยทวาราวดี  (พ.ศ.  1200-1600)  สมัยลพบุรี  (พ.ศ.  1200-1800)  และสมัยสุโขทัย  (พ.ศ.  1800-2000)  จากหลักฐานที่พบ  คือ  ใบเสมาสมัยทวาราวดี  ลพบุรี  และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบก  อำเภอบ้านผือ  แต่ทั้งนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานชื่อจังหวัดอุดรธานีปรากฎในประวัติศาสตร์แต่อย่างใดต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  พื้นที่ที่จังหวัดอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์เมื่อราวปีจอ  พ.ศ.  2117  พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต  (เวียงจันทน์)  โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชา  กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ยกทัพไปช่วยรบ  แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภู  ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ประชวรด้วยไข้ทรพิษ  จึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์  และที่เมืองหนองบัวลำภูนี่เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีนั้น  จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงคราม  กล่าวคือ  ในระหว่าง  พ.ศ.  2369-2371  ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาซึ่งมีผู้นำคือ  คุณหญิงโม  (ท้าวสุรนารี)  กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู  และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไปกระทั่งในปลายสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  4  ประมาณ  พ.ศ.  2411  ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อ  ซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราว

 

               ในปี  พ.ศ.  2428  สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้ายกำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง  และมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้และเจ้าหมื่นไวยวรนาถ  เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือไปทำการปราบปรามพวกฮ่อในเวลานั้นเมืองอุดรธานียังไม่ปรากฏชื่อ  เพียงแต่ปรากฎชื่อบ้านหมากแข้ง  หรือบ้านเดื่อหมากแข้ง  สังกัดเมืองหนองคายขึ้น  การปกครองกับมณฑลลาวพวนและกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ได้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้งไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ
               ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้วไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสเนื่องจากฝรั่งเศสต้องการลาว  เขมร  ญวน  เป็นอาณานิคมเรียกว่ากรณีพิพาท  ร.ศ.  112  (พ.ศ.  2436)  ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้  จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศลและตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง  2  ประเทศ  มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปรากการอยู่ในรัศมี  25  กิโลเมตร  ของฝั่งแม่น้ำโขง
               ดังนั้น  หน่วยทหารไทยที่ตั้งประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย  อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมือง  หรือมณฑลลาวพวน  ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ  จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อบ้านเดื่อหมากแข้ง  (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน)  ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า  50  กิโลเมตรเมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม  เพราะมีแหล่งน้ำดี  เช่น  หนองนาเกลือ  (หนองประจักษ์ปัจจุบัน)  และหนองน้ำอีกหลายแห่ง  รวมทั้งห้วยหมากแข้งซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น  (ปัจจุบันไม่ใสแล้ว)  กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม  ทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวน  และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง  จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญ  เพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศยิ่งกว่าเหตุผลทางการค้า การคมนาคมหรือเหตุผลอื่น  ดังเช่นหัวเมืองสำคัญต่างๆ  ในอดีตอย่างไรก็ตามคำว่า  “อุดร”  มาปรากฏชื่อเมือง  พ.ศ.  2450  (พิธีตั้งเมืองอุดรธานี  1  เมษายน  ร.ศ.  127  พ.ศ.  2450  โดยพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร  “โพธิ์เนติโพธิ์”)พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านหมากแข้ง  อยู่ในการปกครองของมณฑลอุดร
               หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย  เมื่อวันที่  21  มิถุนายน  พ.ศ.  2475  แล้วได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน  ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลในส่วนภูมิภาค  ยังคงเหลือเฉพาะจังหวัดและอำเภอเท่านั้น  มณฑลอุดรจึงถูกยุบเลิกไปเหลือเพียงจังหวัดอุดรธานีเท่านั้น 

 

             

หมดหน้า 1

สร้างโดย: 
นางสาวนฤมล แสงพรหม

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 469 คน กำลังออนไลน์