เนื้อหาสอบ O-NET

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

              รังสีแกมมา (Gamma ray) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 0.01 นาโนเมตร โฟตอนของรังสีแกมมามีพลังงานสูงมาก กำเนิดจากแหล่งพลังงานนิวเคลียร์ เช่น ดาวระเบิด หรือ ระเบิดปรมาณู เป็นอันตรายมากต่อสิ่งมีชีวิต

              รังสีเอ็กซ์ (X-ray) มีความยาวคลื่น 0.01 - 1 นาโนเมตร มีแหล่งกำเนิดในธรรมชาติมาจากดวงอาทิตย์ เราใช้รังสีเอ็กซ์ในทางการแพทย์ เพื่อส่องผ่านเซลล์เนื้อเยื่อ แต่ถ้าได้ร่างกายได้รับรังสีนี้มากๆ ก็จะเป็นอันตราย

              รังสีอุลตราไวโอเล็ต (Ultraviolet radiation) มีความยาวคลื่น 1 - 400 นาโนเมตร รังสีอุลตราไวโอเล็ตมีอยู่ในแสงอาทิตย์ เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากได้รับมากเกินไปก็จะทำให้ผิวไหม้ และอาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง

              แสงที่ตามองเห็น (Visible light) มีความยาวคลื่น 400 – 700 นาโนเมตร พลังงานที่แผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์ ส่วนมากเป็นรังสีในช่วงนี้ แสงแดดเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของโลก และยังช่วยในการสังเคราะห์แสงของพืช

              รังสีอินฟราเรด (Infrared radiation) มีความยาวคลื่น 700 นาโนเมตร – 1 มิลลิเมตร โลกและสิ่งชีวิตแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา ก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ในบรรยากาศดูดซับรังสีนี้ไว้ ทำให้โลกมีความอบอุ่น เหมาะกับการดำรงชีวิต

              คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) มีความยาวคลื่น 1 มิลลิเมตร – 10 เซนติเมตร ใช้ประโยชน์ในด้านโทรคมนาคมระยะไกล นอกจากนั้นยังนำมาประยุกต์สร้างพลังงานในเตาอบอาหาร

              คลื่นวิทยุ (Radio wave) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นมากที่สุด คลื่นวิทยุสามารถเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศได้ จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม

 

โจทย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ข้อสอบ O-NET)

1. คลื่นวิทยุที่ส่งออกจากสถานีวิทยุสองแห่ง มีความถี่ 90 เมกะเฮิร์ตซ์ และ 100 เมกะเฮิร์ตซ์ ความยาวของคลื่นวิทยุทั้งสองนั้นต่างกันเท่าใด

ก. 3.33 เมตร

ข. 3.00 เมตร

ค. 0.33 เมตร

ง. 0.16 เมตร

แนวคำตอบ คลื่นวิทยุไม่ว่าความถี่ใดก็ตามจะมีอัตราเร็วเท่ากันคือ เท่ากับอัตราเร็วแสงคือ 3x108 เมตรต่อวินาที ดังนั้นจากสมการ c = λf  เราสามารถหาได้จากสมการความสัมพันธ์ดังนี้

λ1= c/f1

λ1=(〖3x108 m/s〗)/(〖90x106 Hz〗)

λ1= 3.33 m

 

λ2= c/f2

λ2=〖3x108 m/s〗/〖100x106 Hz〗

λ2= 3.00 m

ดังนั้นผลต่างของความยาวคลื่นทั้งสองเท่ากับ 0.33 เมตร คำตอบข้อ ค. ครับ

2. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากความยาวคลื่นน้อยไปมากที่ถูกต้อง

ก. รังสีเอกซ์        อินฟราเรด         ไมโครเวฟ

ข. อินฟราเรด      ไมโครเวฟ          รังสีเอกซ์

ค. รังสีเอกซ์         ไมโครเวฟ          อินฟราเรด

ง. ไมโครเวฟ        อินฟราเรด         รังสีเอกซ์

แนวคำตอบ  ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนนะครับว่าการเรียงลำดับจากบนลงล่างหรือล่างขึ้นบนเรียงลำดับอย่างไร เช่น เราเรียงจากความยาวคลื่นน้อยไปหามาก เราจะได้ว่า GXUVIMR ตามตัวย่อตัวหน้าของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ละตัวนะครับ และเราต้องทราบด้วยว่าถ้าความยาวคลื่นน้อย ความถี่จะมากและก็พลังงานก็ย่อมมากไปด้วย ดังนั้นคำตอบคือข้อ ก. ครับ

3. การฝากสัญญาณเสียงไปกับคลื่นในระบบวิทยุ เอ เอ็ม คลื่นวิทยุที่ได้จะมีลักษณะอย่างไร

ก. คลื่นวิทยุจะเปลี่ยนแปลงแอมพลิจูดตามแอมพลิจูดของคลื่นเสียง

ข. คลื่นวิทยุจะเปลี่ยนแปลงแอมพลิจูดตามความถี่ของคลื่นเสียง

ค. คลื่นวิทยุจะเปลี่ยนแปลงความถี่ตามแอมพลิจูดของคลื่นเสียง

ง. คลื่นวิทยุจะเปลี่ยนแปลงความถี่ตามความถี่ของคลื่นเสียง

แนวคำตอบ การส่งคลื่นวิทยุในระบบ เอ เอ็ม และเอ็ฟ เอ็ม จะส่งคลื่นที่มีความแต่ต่างกัน โดย ระบบ เอ เอ็ม จะส่งคลื่นเปลี่ยนแปลงตามแอมพลิจูดของคลื่นเสียง ส่วนระบบ เอ็ฟ เอ็ม จะส่งคลื่นเปลี่ยนแปลงตามความถี่ของคลื่นเสียง ดังนั้นคำตอบคือ ข้อ ก. ครับ

สร้างโดย: 
ครูอาทร สอนสุภาพ

เยี่ยม!!มากเลยคะ

ได้ความรู้มากๆเลยครับ

รูปภาพของ pks3128

อยากได้เนื้อหาเยอะๆ

สวัสดีครับ   อาจารย์เก่งจังนะครับ

อาจารย์เก่งจังเลยค่ะ

ขอบคุณมากนะค่ะ ได้ความรู้มากๆเลยค่ะ

ช้าจัง เรียบเรียงเร็วๆๆๆ อยากจะดู

เพิ่มเนื้อหาให้แล้วนะครับ รออีกนิดนะครับกำลังจัดทำเพิ่ม

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 530 คน กำลังออนไลน์