ฮีตที่ ๔ บุญเผวส หรือ บุญเดือนสี่ หรือ บุญมหาชาติ

บุญพระเวส หรือ บุญเผวส เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ หนังสือมหาชาติหรือพระเวสสันดรชาดกแสดงถึงจริยวัตรของ
พระพุทธเจ้าคราวพระองค์เสวย
 พระชาติเป็นพระเวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาว 13 ผูกการทำกันเดือนใดเดือนหนึ่งในระหว่างออกพรรษา
จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่ส่วนมากนิยมทำกันในเดือนสี่ ดังคำพังเพยว่า
  เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่
เดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มะที

คำว่า “เจ้าหัว” หมายถึง พระภิกษุ “จัว” หมายถึง สามเณร “มะที” หมายถึงมัทรี บางแห่งทำในเดือนหก หรือเดือนเจ็ดก็มีและถ้าทำในเดือนหกหรือเจ็ด มักจะทำบุญบั้งไฟด้วยกัน ก่อนการจัดงานทางบ้านและวัดจะมีการปรึกษาหารือตกลงกันให้เรียบร้อยเสียก่อนทางชาวบ้านจะจัดอาหารการกิน และจัดหาปัจจัยไทยทานสำหรับใส่กัณฑ์เทศน์ เพื่อถวายพระภิกษุสามเณร ส่วนทางวัดก็จะแบ่งหนังสือออกเป็นกัณฑ์ ๆ หนังสือผูกหนึ่งอาจแบ่งเป็นหลายกัณฑ์เพื่อให้ชาวบ้านได้รับกัณฑ์โดยทั่วถึงกัน แล้วมอบหนังสือให้พระภิกษุ สามเณร
ในวัดนั้นเพื่อเตรียมไว้เทศน์ นอกนั้นจะเป็นการนิมนต์พระภิกษุจากวัดอื่นมาเทศน์ โดยจะมีฎีกาใบนิมนต์พร้อมบอกชื่อกัณฑ์
และบอกเชิญชวนชาวบ้านที่วัดนั้นตั้งอยู่มาร่วมทำบุญด้วย ซึ่งตามปกติเมื่อพระภิกษุ สามเณรมาร่วมงานก็จะมีญาติโยมในหมู่บ้านนั้น
ๆ ตามมาฟังเทศน์ และร่วมงานด้วย
 หัวหน้าหรือผู้จัดงานในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าของงานจะบอกบุญชาวบ้านในหมู่บ้านของตน
ให้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ กัณฑ์ใดกัณฑ์หนึ่งจนทั่วถึงกัน และบอกจำนวนคาถาของแต่ละกัณฑ์ให้ทราบด้วย
เพื่อเตรียมเทียนมาตามจำนวนคาถาของกัณฑ์ที่ตนรับ

 

"ฮีตหนึ่ง พอเถิงเดือนสี่ได้ให้เก็บดอกบุปผามาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้อย่าได้ไลหนีเว้นแนวคองตั้งแต่เก่า ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญ ให้ฝูงซาวเฮาแท้อย่าไลคองตั้งแต่ก่อน
มันสิหมองเศร้าเมืองบ้านสิทุกข์จนแท้แหล่ว"

 

ในการทำบุญพระเวสฟังเทศน์มหาชาติมูลเหตุเนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่นและมาลัยแสนว่า ถ้าผู้ใดปรารถนาที่จะพบพระศรีอริยะเมตไตย หรือเข้าถึงศาสนาของพระพุทธ์องค์แล้ว จงอย่าฆ่าบิดามาราด สมณะ พราหมณจารย์ อย่ายุยงให้พระสงฆ์แตกสามัคคีกันกับให้อุตสาห์ฟัง เทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก ให้จับสิ้นภายในวันเดียว เป็นต้น ในงานบุญนี้มักจะมีผู้นำ ของมาถวายพระ ซึ่งเรียกว่า "กัณฑ์หลอน" หรือถ้าจะถวายเจาะจงเฉพาะพระนักเทศน์ที่ตนนิมันตืมา ก็เรียกว่า "กัณฑ์จอบ" เพราะต้องแอบซุ่ดูให้แน่เสียก่อนว่าใช่พระรูปที่จะถวายเฉพาะเจาะจงหรือไม่ บุญเดือนสี่หรือบุญมหาชาติหรือบุญเผวส ก็คือบุญอันยิ่งหใญ่ที่เกี่ยวข้องกับพระมหาเวสสันดรชาดกนั่นเอง กำหนดการทำบุญเผวสจะเป็นในช่วงเดือนสี่ข้างแรมถึงเดือนห้า จะถือเอาวันใดเป็นวันบุญก็ได้ตามแต่จะตกลงกันในหมู่บ้าน เมื่อตกลงวันกันได้แล้ว ก่อนถึงวันงานก็จะมีการเตรียมงานบุญโดยมีการเตรียมดอกไม้ อาหารคาวหวาน ขนม ข้าวต้มไว้สำหรับถวายพระและเลี้ยงแขกในงานและเตรีียมหมากพันคำ เมี่ยงพันคำ เทียน ธูป มีดดาบอย่างละพัน และข้าวตอก ดอกไม้ไว้สำหรับบูชาคาถาพัน ส่วนผู้ที่มีฝึมือในการวาดภาพก็จะช่วยกันวาดภาพบนผืนผ้าสีขาวไว้สำหรับแห่ ส่วนทางวัดก็แบ่งหนังสือออกเป็นกัณฑ์ ๆ หนังสือผูกหนึ่งอาจแบ่งเป็นหลาย ๆ กัณฑ์ก็ได้ เพื่อให้ชาวบ้านได้รับกัณฑ์ทั่วถึงกัน มอบหนังสือให้พระภิกษุสามเณรในวัดเพื่อเตรียมไว้เทศน์ หรืออาจนิมนต์พระจากวัดอื่นมาเทศน์ด้วย ว่ากันว่า สาเหตุที่มีการทำบุญเผวสมาจากโบราณกาลเล่าไว้ในหนังสือมาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า เมื่อครั้งที่พระมาลัยเถรเจ้าได้เดินทางไปไหว้สักการะพระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้พบพระศรีอาริยเมตไตรย พระพุทธ์องค์ได้ตรัสกับพระมาลัยว่า หากมนุษย์ผู้ใดต้องการพบกับพระองค์และเกิดในศาสนาของพระศรีอารย์ก็ขออย่าได้กระทำบาปหนัก คือ ไม่ฆ่าบิดามารดา ไม่ฆ่าครูบาอาจารย์ ไม่ฆ่าพระสงฆ์สามเณร จงเคารพพวกท่านเหล่านั้น และต้องฟังเทศน์มหาชาติคาถาพันให้จบภายในวันเดียว ด้วยหวังในอานิสงฆ์นั้น พุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวอีสานจึงมีความศรัทธาที่จะทำบุญมหาชาติหรือบุญเผวสกันในเดือนนี้

 

   

กณฑ์นคร                          กณฑ์มหาทาน                      กณฑ์วนประเวสน์

 

ที่มารูป http://allknowledges.tripod.com/bunphrawet.html

 

ในวันโฮมหรือวันรวมชาวบ้านจะออกมารวมตัวกันเพื่อทำพิธีนิมนต์พระอุปคุตในตอนเช้ามืด พอตอนประมาณบ่ายสามหรือสี่โมงในวันโฮมหรือวันรวมชาวบ้านก็มารวมกันอีกครั้งที่วัดเตรียมตัวจัดขบวนแห่ไปอัญเชิญพระมหาเวสันดรและพระนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมติป่าแห่งใดแห่งหนึ่งในหมู่บ้านเป็นที่ที่สองอยู่ ในพิธีอันเชิญก็จะมีพระพุทธรูป 1 องค์ พระภิกษุ 4 รูป ขบวนประชาชนและทิวผ้าที่เขียนเรื่องราวของพระเวสสันดร เวียนขวารอบวัดหรือศาลาโรงธรรม 3 รอบ ในตอนเย็นก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ในขณะที่พระกำลังเทศน์อยู่นั้นหากผู้ใดพอใจก็จะมีการถวายเงินด้วยความเลื่อมใสศรัทธา การบริจากของชาวอีสานมีสองรูปแบบคือกัณฑ์หลอนและกัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอนคือ หากแห่ขบวนเครื่องไทยทานและเงินบริจาคที่รวบรวมไว้ไปถึงวัดขณะที่พระรูปใดกำลังเทศน์อยู่ก็จะมอบให้รูปนั้น ส่วนกัณฑ์จอบก็คือ หากชาวบ้านต้องการเจาะจงว่าจะมอบให้พระรูปใดก็ส่งสายลับไปแอบไปดูก่อนว่าะระรูปนั้นเทศน์ตอนไหน ก็จะกะระยะเวลาเคลื่อนขบวนให้พอดี
 
 
 
 
 
ประเพณีบุญเผวส จังหวัดร้อยเอ็ด
 
 
 

สร้างโดย: 
อชิรญาและนรินทร์โชติ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 487 คน กำลังออนไลน์